เด็กขอทานกับครู


แน่นอนว่าขณะเวลานี้อาจจะไม่เห็นปัญหาชัดเจนนัก แต่หากเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้นมาพร้อมที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่ทางสว่างของสังคมในระดับที่สูงขึ้น ถามว่า เด็กเหล่านั้นพร้อมหรือยัง ซึ่งคงจะยังไม่พร้อมมิหนำซ้ำอาจกลายเป็นสิ่งที่คอยฉุดกระชากความสว่างของสังคมให้ลดน้อยลง หากสังคมปล่อยปะละเลย มิได้สนใจใยดีเด็กเหล่านี้เหล่า จะเกิดอะไรขึ้น

เด็กขอทาน เสียงอันเกิดจากปัญหาสังคม

วันนี้ผมได้มีโอกาสอ่านงานเขียนของทางสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เรื่อง เสียงสะท้อนจากคนด้อยโอกาส : เด็กขอทาน เป็นเหยื่อทุกรายจริงหรือ ใจความสำคัญใจความหนึ่งซึ่งผมชอบมากอันมีความว่า

แล้วทำไมต้องใช้เด็กมาขอทาน ??? ลองถามตัวคุณเองดีมั้ยว่า ระหว่าง เด็กหน้าตาใสซื่อ กับ ผู้ใหญ่วัยกลางคน เดินมาขอเงินคุณ คุณ จะให้เงินใครก่อน ?? แน่นอนเด็ก ก็จะเป็นคำตอบที่ มีความเป็นไปได้สูงกว่าอยู่แล้ว เมื่อสังคมส่วนใหญ่ยังมีความสงสารเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ครอบครัวไร้บ้าน ครอบครัวเร่ร่อนเองก็ เข้าใจสังคมในประเด็นนี้เช่นกัน ตัวเด็กเองก็ รับรู้สภาพครอบครัวของตนเอง เด็กหลายคน ยอมรับแบบภาคภูมิใจว่าเป็นคนขอทานเลี้ยงพ่อและแม่ ?? “

หลังจากผมอ่านบทความนี้ผมกลับมีคำถามในใจว่า เกิดอะไรขึ้นกับสังคม สังคมถูกทำลายและทำร้ายจากคนในสังคมเองหรือไม่ การที่เราพบเด็กมาออกเร่ร่อนขอทานแทนที่พวกเขาเหล่านั้นจะเรียนหนังสือ

แน่นอนว่าขณะเวลานี้อาจจะไม่เห็นปัญหาชัดเจนนัก แต่หากเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้นมาพร้อมที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่ทางสว่างของสังคมในระดับที่สูงขึ้น ถามว่า เด็กเหล่านั้นพร้อมหรือยัง ซึ่งคงจะยังไม่พร้อมมิหนำซ้ำอาจกลายเป็นสิ่งที่คอยฉุดกระชากความสว่างของสังคมให้ลดน้อยลง หากสังคมปล่อยปะละเลย มิได้สนใจใยดีเด็กเหล่านี้เหล่า จะเกิดอะไรขึ้น

ผมในฐานะที่จะเป็นครูในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ได้ยิน ได้ฟัง และได้เห็นบทความในลักษณะนี้มีความรู้สึกหดหู่ใจ เศร้าใจ แต่ความรู้สึกเหล่านี้ก็มิได้ทำให้ผมท้อแท้ใจ ตรงกันข้ามเหล่านี้กลับยิ่งทำให้ผมรู้สึกฮึกเหิมตระหนักและเห็นความสำคัญของอาชีพครู พร้อมที่จะทำให้ปัญหาเด็กเหล่านี้ลดน้อยลงด้วยการนำการศึกษาเข้าไปแทรกซึมในกระแสแห่งความคิดของเด็กเท่าที่ความสามารถของผมจะทำได้

อนึ่งปัญหาเหล่านี้ ผมคนเดียวคงจะมิสามารถที่จะเเก้ปัญหานี้ได้ หากแต่ คนในสังคมนั้นเล่าควรร่วมมือและตระหนักในปัญหานี้และเชื่อว่าหากร่วมมือกัน ความสงบและควาสุขคงจะมาเยือนสังคมไทยในไม่ช้า

วุฒิปิยะ ชนะศรี

หมายเลขบันทึก: 64668เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท