5 นี่แค่ลอง ของจริงต้อง 100 ครับ


      ผมมาถึงโตเกียวเมื่อเกือบ สามเดือนก่อน โดยมีภาระหน้าที่ที่จะต้องมาทำการ sequence ไมโตคอนเดรีย ทั้งสาย ตอนที่มาถึงตอนแรก sensei ก็ให้ลอง sequence ส่วนที่เป็นส่วนที่มีความแปรผันของเบสค่อนข้างมาก (hypervariable region) บริเวณที่เรียกว่า DLoop ซึ่งเป็นสายดีเอ็นเอช่วงสั้นๆ ประมาณเกือบ  200 เบส  จากนั้นก็ลองเอามาทำ phylogenetic tree เพื่อหาดูว่า ในกลุ่มประชากรคนหาดใหญ่ สามารถจัดกลุ่มตามการเรียงตัวของเบส ออกมาได้เป็นอย่างไร พบว่ามีการเรียงตัวแยกออกมาได้เป็น 6 กลุ่ม จากนั้นผมจึงเลือกตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มมา กลุ่มละหนึ่งตัวอย่าง รวมเป็น 6 ตัวอย่าง เพื่อที่จะศึกษา สายไมโตคอนเดรียทั้งเส้น รวม 16569 เบส ที่ผมเคยเล่าให้กับหลายคนฟังว่าเสมือนผมนั่งทำลูกปัดที่มีสี 4 สี แล้วหาดูว่าสายสร้อยที่มีลูกปัดนี้ มีการเรียกตัวของลูกปัดสีต่างๆ อย่างไร แล้วแตกต่างกันตรงไหนอย่างไร ซึ่งเป็นการใช้เวลาในการศึกษา condition ที่เหมาะสมสำหรับการทำปฏิกิริยารวมเกือบสองเดือนเต็ม ในที่สุดหลังจากผ่านการล้มลุกคลุกคลานพอสมควร ผมก็ได้ condition ที่เหมาะสมสำหรับการทำปฏิกิริยาทั้งหมด แล้วได้ลอง sequence สายไมโตคอนเดรีย โดยแบ่งเป็นช่วงๆ รวม เกือบ 90 ช่วงเอามาเรียงต่อกันเป็นเส้นยาว ทั้งเส้น โชคดีที่ผมทำได้รวม 5 ราย แต่โชคไม่ดี ที่ทำไม่ออกเสีย 1 ราย ผมลองเอาสายไมโตคอนเดรียทั้งเส้นของทั้ง 5 รายมาเปรียบเทียบกัน พบว่ามีตำแหน่งที่แตกต่างกันรวมร้อยกว่าตำแหน่ง เอาไปให้ sensei ดู sensei บอกว่า 5 นี่แค่ลอง ของจริงต้อง 100 ครับ ผมอึ้งครับ ในแต่ละรายใช้เวลาทำแล็บ วันครึ่ง และนั่งแก้ไขลูกปัดที่เครื่องนับผิด จากนั้นเอามาเรียงต่อกันดูว่ามีการขาดช่วงหรือไม่ ถ้าไม่ขาดช่วงถึงค่อยๆเอาสายมาต่อกันเป็นสายยาว รวมเวลาตรงนี้อีกประมาณ วันละราย รวมงานทั้งสองนี่เข้าด้วยกันเฉลี่ยแล้วต้องใช้เวลาประมาณ สองวันครึ่งต่อราย นี่มีตัวอย่าง 100 ราย ผมต้องใช้เวลา 250 วันครับ โดยทำแต่ไมโตคอนเดรียอย่างเดียว แล้วมีงานให้ทำทั้งวันครับ ดูไม่จืดเลย งานไมโตคอนเดรีย นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งนะครับ ยังมี microsatellite อีก ประมาณกว่า 20 ตำแหน่งที่ต้องทำด้วย เฮ้อ....สนุกครับ....กับเวลาทำแล็บที่เหลืออยู่ในเวลา 3 ปี คือ 90 วันครับ งานนี้ต้องบริหารเวลาให้ดี ไม่งั้นมีปัญหาครับ
     ขอเล่าสู่กันฟังหน่อยครับ.....อยากบอก
     นั่นเป็นการมองในมุมมองของผมครับ สำหรับ sensei การมอบหมายงานให้ผมทำเรื่องนี้  ต้องเป็นภาระให้ sensei หาทุนมากพอสมควร ถ้าคิดกันง่ายๆ ตามราคาในบ้านเรา คือคิดการทำ sequencing  reaction ละ 200 บาท ในหนึ่งรายต้องทำประมาณ 100 หลุม เป็นเงิน 20,000 บาทต่อราย ถ้าต้องทำรวม 100 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 2,000,000 (สองล้านบาท) นี่เฉพาะแล็บไมโตคอนเดรียนะครับ เฉพาะ sequencer หรือการเรียงลูกปัดทั้งเส้นอย่างเดียว ไม่รวมแล็บอย่างอื่น ไม่รู้ว่าทั้งโปรเจ็คนี้ จะต้องใช้เงินเท่าไหร่ เฮ้อ....คิดแล้วปวดหัวแทนครับ สิ่งที่ผมพอจะตอบแทนได้ คือการใช้ของอย่างประหยัดครับ แล้วสั่งของเฉพาะที่จำเป็นเพื่อหิ้วกลับมาทำต่อบางส่วนที่บ้านเรา แต่เฉพาะที่จำเป็นนี่ก็กระเป๋าใบโตแล้วครับ  สงสาร sensei จัง แต่ผมไม่มีตังค์ซื้อของที่บ้านเราครับ มีแต่แรงขนจากญี่ปุ่นกลับบ้าน เท่านั้นเองครับ......
หมายเลขบันทึก: 64656เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • แวะมาเยี่ยม มาเยียนค่ะ
ขอบคุณมากครับ คุณอร รู้สึกเหมือนไม่เห็นตัวอักษรจากปลายนิ้วคุณอรเสียนานเลยครับ
  • ว้า วันนี้มี f 2 to f คนเขียนบล็อก ที่งาน KM แห่งชาติครั้งที่ 3 คุณไมโตอยู่ไกลเหลือเกิน เลยอดขอลายเซ็นต์เลยค่ะ
  • ว่าแต่ sensei นี่แปลว่า คุณครูใช่ไหมค่ะ

 

ฮืม...อ่านๆ เหมือนจะเข้าใจ แต่ไม่ค่อยเข้าใจ แต่คงจะเหมือน ทำ phototype สำหรับทดสอบระบบของ programme จริงล่ะมั้ง (พยายามจะให้เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องคอมฯ) ฮ่าฮ่า เพราะเราก็มี Loop เหมือนกัน บางที Loop infinity อีกตะหาก

เห็นเพื่อนที่เรียนเอกเคมี เกี่ยวกับนาโนทางโซลาเซลล์ เค้าก็ดูจะได้ประโยชน์จากเครื่องไม้เครื่องมือที่ Lab ที่ออสเตรเลียมาก เพราะบ้านเรายังไม่มีเครื่องแพงๆ ให้ลอง สารแต่ละตัวก็แพง ดีนะที่เป็นโครงการวิจัยร่วมกันของม.เชียงใหม่ของเค้า การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์เนี่ย ใช้เงินทุนเยอะกับเครื่องมือ และวัตถุดิบต่างๆ อย่างงี้นี่เอง ฮืม...แต่คอมพิวเตอร์เนี่ย คิดเป็น cost ยากจัง เวลาทำงบประมาณ ไม่รู้จะเบิกค่าความเครียด ค่ากำลังใจ ค่าอดหลับอดนอน กี่บาทดี

^____^

เขียนผิดซะได้ prototype นะคะ ไม่ใช่ phototype 555 ติดการถ่ายรูปมากไปหน่อย
คุณรัตติยาครับ
  • ใช่ครับ sensei แปลว่า เหล่าซือ ที่หมายถึงอาจารย์ครับ
  • อีก 8 วัน ผมก็ถึงบ้านแล้วครับ แล้วค่อยเจอกันที่บ้านที่กว่าครับ
คุณแนนครับ
  • ลักษณะก็คงคล้ายๆ กับ prototype ที่คุณแนนพูดถึงในเรื่องทางคอมพิวเตอร์แหละครับ ความที่ผมอาจจะมีประสบการณ์ทางด้าน molecular น้อย sensei ก็เลยต้องให้หัดทำเพื่อฝึกฝน หาประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ซึ่งก็ได้ผลครับ เพราะผมลองทุกอย่างที่ขวางหน้า เจอปัญหาสารพัด กว่าจะเริ่มอ่านออกเขียนได้บ้างอย่างทุกวันนี้ แม้ลายมือจะไม่ค่อยสวยก็ตาม คงยังต้องฝึกกันอีกมากครับ
  • ขอบคุณครับ ที่แวะมาเยี่ยมเยียน
สวัสดีครับ คุณเมตตา ตามล่าหาลายเซ็นแบบคุณรัตติยาด้วยหรือเปล่าครับ

เปล่าค่ะ...ไม่ได้ตามล่าหาลายเซ็น....รออ่านงานดีกว่าค่ะ พบกับ blogger หลายคน...โผกอดกัน...กับบางคนแบบว่าจิตใต้สำนึกสั่ง...กำลังกอดๆ กันอยู่นึกได้...คนมองเลยผละออกจากันค่ะ...มีงานทำในห้องตลอด 2 วันจึงไม่ค่อยได้เจอใครค่ะ 

ขนาดกอดกัน แล้วยังคิดถึงงานอีกนะ โอ้ คุณเมตตา เธอเกิดมาเพื่องานจริงๆ
  • แวะมาทักทายและขอบคุณ
  • ถูกกอดด้วยละ ตื่นเต้นมากเลย
  • ลืมไปว่าเป็นผู้ชาย ว้าแย่จัง
  • ขอบคุณครับ คุณลุงขจิต
  • ได้ข่าวว่าเนื้อหอมมั่ก มั่ก หอมมากอย่างนี้ ขายกิโลเท่าไหร่ครับ
  • อยากกอดคุณขจิตบ้าง   อ้าว ผมก็ลืมไปว่าคุณลุงเป็นผู้ชายเหมือนกัน ลืมไปบ้างนะว่าผมพูดอะไรไป

อ้าว ๆ  อาจารย์ขจิต  ไหง  นอกจากน้องนิวแบบนี้หละคะ ฮือ ๆ  ...///อิอิ....ล้อเล่น ๆ คะ //

เข้ามาเป็นกำลังใจให้คะ

 

เข้ามาเป็นกำลังใจให้คุณไมโต นะคะ 
ขอบคุณมากครับ น้องนิว ที่คอยเป็นกำลังใจให้เสมอครับ
loop ในทางการแพทย์เขาก็เรียกค่ะ..กรณีต่อหมันในคนไข้ที่ถูกตัดท่อนำไข่แล้วเขาจะเอามาต่อเข้ากันใหม่...ใช้ loop ตรวจสอบการเชื่อมต่อ
  • แวะมาอีกรอบ
  • ครั้งแรก งง งง งานพี่เหมือนกันคือบางคน งง ว่าทำไมไปร้อยลูกปัดในญี่ปุ่น
  • แต่ผมไม่ งง นะ ครับ
  • ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมว่าจะไปป่วนบันทึกน้องนิวกับครูบาสุทธินันท์ครับ
  • แวะมาให้กำลังใจ
  • ทำดีให้ดีที่สุดเพื่อประเทศชาติและเด็กน้อยตัวเล็กสองคน
  • ย้ำตัวเล็กจริงๆ
  • mitochondria
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท