การผลิตมังคุด


การผลิตมังคุดให้มีคุณภาพ

การจัดการองค์ความรู้

เรื่อง  การผลิตมังคุดให้มีคุณภาพ

       เกษตรกรผู้ผลิตมังคุดปัจจุบันส่วนใหญ่ยังไม่คำนึงถึงคุณภาพของการผลิตมากนัก  จะมุ่งให้ได้ปริมาณผลผลิตที่จะได้ต่อไป ซึ่งหากมังคุดขาดคุณภาพ จะส่งผลต่อราคาที่ขายได้  จะต่ำลงด้วยเฉลี่ยประมาณ 5-8  บาท/กิโลกรัม  ดังนั้นการผลิตให้มีคุณภาพต้องคำนึงถึงคุณภาพภายใน  เช่น ไม่มีอาการชอกช้ำ  เนื้อแก้ว  และยางใหลในเนื้อผล ซึ่งหากเกษตรจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละอัตราของการ เจริญเติบโตและพัฒนาในรอบปี ก็สามารถทำให้ผลผลิตมีคุณภาพและขายได้ในราคาสูง  ดังนั้นขั้นตอนการผลิตมังคุดให้มีคุณภาพ  มีดังนี้

     1.  การจัดการเพื่อเตรียมต้นให้มีความพร้อมสำหรับการออกดอก

        มังคุดปลูกด้วยเมล็ดเมื่อมีอายุประมาณ 7-8  ปี จะเริ่มให้ผลผลิต  ดังนั้นการเตรียมต้นให้สมบูรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการออกดอก  ให้เริ่มเตรียมตั้งแต่หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ โดยดำเนินการ

     -  ตัดแต่งกิ่ง   มังคุดเป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มทึบแน่น  หากไม่มีการตัดแต่งกิ่งออกบ้างมีผลทำให้ความชื้นในทรงพุ่มสูง ส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคใบจุด สาหร่ายสีเขียวแกมแดงได้ง่าย  นอกจากนั้นยังพบว่าหากปล่อย ให้ทรงพุ่มแน่นทึบ ทำให้ใบและกิ่งที่อยู่ส่วนล่างไม่ได้รับแสง ทำให้ใบร่วงและทิ้งกิ่งในที่สุด

     2.  การจัดการเพื่อส่งเสริมพัฒนาของผลเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตที่มีคุณภาพ

        ช่วงมังคุดออกดอกติดผลอ่อนเป็นช่วงฤดูแล้ง  ความชื้นในอากาศต่ำ ซึงเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเข้าทำลายของศัตรูมังคุด คือ เพลี้ยไฟ  และไรแดง  ศัตรูชนิดนี้จะเข้าไปดูดน้ำเลี้ยง ของดอกและผลอ่อน ทำให้ดอกและผลอ่อนร่วง  หรือหากผลอ่อนไม่ร่วงก็ทำให้ผลแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโตและผิวผลจะมียางไหล ผิวผลไม่ได้คุณภาพ  ในช่วงนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้ ปิโตเลี่ยมออยล์ ในการป้องกันกำจัด

         การให้น้ำ  ระยะออกดอกและผลอ่อนและผลกำลังเจริญเติบโต ควรมีการให้น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลมีการพัฒนาอย่างเต็มที่  หากขาดน้ำกับได้รับน้ำมาก  เนื่องจากฝนตกจะทำให้ผลของมังคุดมีการ สดุ้งน้ำ  ส่งผลให้เกิดการผลแตก  เนื้อแก้ว และยางไหลในเนื้อผล  เกษตรกรแก้ปัญหาด้วยการจัดทำระบบน้ำในสวนมังคุด  และการป้องกัน 

        ปริมาณน้ำมากในฤดูฝนทำให้สวนมีน้ำแช่ขังตามโคนต้น  เกษตรกรแก้ปัญหาด้วยการขุดคูตรงแถวมังคุด ขนาดกว้าง x ลึก ประมาณ 20x50 ซม. เพื่อระบายน้ำออกจากแปลงและโคนต้น  ทำให้แก้ปัญหา เนื้อแก้ว และยางไหลในเนื้อผลไม้พอสมควร

        สรุป  การผลิตมังคุดคุณภาพ การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในช่วงออกดอกและติดผล ศัตรูที่สำคัญคือ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในช่วงออกดอกและติดผลเกษตรกรจะใช้ปิโตรเลี่ยมออยล์  ในการป้องกันกำจัด  และการแก้ไขปัญหาอาการผลแตก เนื้อแก้ว ยางใหลในเนื้อผล  โดยเกษตรกรจัดทำระบบน้ำในสวนมังคุด  และขุดคูส่งน้ำภายในสวนแบบสามเหลี่ยมคางหมู  เพื่อระบายน้ำออกจากสวนแก้ปัญหาน้ำแช่ขังภายในสวนและบริเวณโคนต้น  ขนาดความกว้างและลึกของคู ขนาด 20x 50  ซม.

คำสำคัญ (Tags): #km.ถ้ำพรรณรา
หมายเลขบันทึก: 64626เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท