สินค้าที่พบส่วนประกอบของ Triclosan


 

สวัสดีวันเอดส์โลกค่ะ

ขอส่งกำลังใจให้กับผู้ติดเชื้อรวมทั้งผู้ดูแลทุกท่านค่ะ

 บันทึกครั้งก่อนได้สัญญาว่าจะนำรายการของใช้ที่มีส่วนประกอบของ Triclosan มาบอกเล่าสำหรับท่านที่ยังไม่แน่ใจว่า Triclosan นั้นมีความรุนแรงอย่างไร ขอทบทวนเล็กน้อยว่า มีความสัมพันธ์กับ
  • ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะต่อมทัยรอยด์
  • ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • การควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ผิดปกติ
  • ความพิการแต่กำเนิด

จากการรวบรวมของ  BeyondPesticides.org พบว่ามีหลายผลิตภัณฑ์ ที่มี Triclosan เป็นส่วนประกอบค่ะ

สบู่·         Dial® Liquid Soap ·         Softsoap® Antibacterial Liquid Hand Soap ·         Tea Tree Therapy™ Liquid Soap ·         Provon® Soap ·         Clearasil® Daily Face Wash ·         Dermatologica® Skin Purifying Wipes ·         Clean & Clear Foaming Facial Cleanser ·         DermaKleen™ Antibacterial Lotion Soap ·         Naturade Aloe Vera 80® Antibacterial Soap ·         CVS Antibacterial Soap ·         pHisoderm Antibacterial Skin Cleanser

ยาสีฟัน·         Colgate Total®; Breeze™ Triclosan Mouthwash ·         Reach® Antibacterial Toothbrush ·         Janina Diamond Whitening Toothpaste

 เครื่องสำอางค์·         Supre® Cafronzer™ ·         TotalSkinCare Makeup Kit ·         Garden Botanika® Powder Foundation ·         Mavala Lip Base ·         Jason Natural Cosmetics ·         Blemish Cover Stick ·         Movate® Skin Litening Cream HQ ·         Paul Mitchell Detangler Comb ·         Revlon ColorStay LipSHINE Lipcolor Plus Gloss ·         Dazzle

ยาระงับกลิ่นเหงื่อใต้วงแขน·         Old Spice High Endurance Stick Deodorant ·         Right Guard Sport Deodorant ·         Queen Helene® Tea Trea Oil Deodorant and Aloe Deodorant ·         Nature De France Le Stick Natural Stick Deodorant ·         DeCleor Deodorant Stick ·         Epoch® Deodorant with Citrisomes ·         X Air Maximum Strength Deodorant

ของใช้ส่วนตัว·         Gillette® Complete Skin Care MultiGel Aerosol Shave Gel ·         Murad Acne Complex® Kit® ·         Diabet-x™ Cream ·         T.Taio™ sponges and wipes ·         Aveeno Therapeutic Shave Gel

นอกจากนี้ยังพบในของเล่นเด็ก เครื่องครัว อุปกรณ์แต่งบ้าน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์บางอย่างด้วย

จะเห็นนะคะว่า สำหรับประเทศไทยแล้วรายการสินค้าเหล่านี้ คงเป็นรายการของสินค้านำเข้า และราบละเอียดมาก จนบางท่านอาจคิดว่า จะจำไหวไหม ทั้งนี้ทั้งนั้นวิธีที่น่าจะดีที่สุดคือ ในการซื้อของใช้ของแต่ละท่าน ลองให้เวลากับการหยิบสินค้าขึ้นมา พลิกดูส่วนประกอบของสินค้านั้นนะคะ

ถ้าพบเห็นว่ามี Triclosan ก็อย่าซื้อมาใช้เลยค่ะ และสินค้าที่ไม่ระบุส่วนประกอบอะไรเลย เช่นน้ำยาปรับผ้านุ่มบางยี่ห้อ ก็อย่าซื้อใช้ดีกว่าค่ะ  คุณๆ ก็จะทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น ได้ดูแลสุขภาพของตัวเอง ของคนที่รัก และได้ช่วยเป็นหูเป็นตา ให้กับมาตรฐานสินค้าของประเทศในทางอ้อมด้วยค่ะ

สำหรับท่านที่สนใจบันทึกก่อน เชิญอ่านได้ที่นี่ค่ะ 

 

http://gotoknow.org/blog/JCH/63223

 

หรือท่านใดที่ได้พบเห็นสินค้าที่มีส่วนประกอบของ triclosan กรุณาแบ่งปันกันด้วยค่ะ

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #health#สุขภาพ#triclosan
หมายเลขบันทึก: 64577เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาเยี่ยม...

เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันดีนะครับ...

เครื่องใช้ในครัวเรือนมีมากที่ซื้อตามคำโฆษณาจากสื่อ...

ต่อไปคงต้องคิดพิจารณาก่อนจะซื้อครับ...

ขอบคุณครับ...

ขอบคุณค่ะ ท่านอาจารย์ umi

ขอบคุณที่ช่วยให้ความเห็นเรื่องของใช้ซื้อตามโฆษณา...ถ้าผู้หญิงบางทีก็เพราะเกรงใจ ถ้าคนนำมาขายเป็นเพื่อนร่วมงานค่ะ

ความปลอดภัยของการใช้สาร Triclosan ในเครื่องสำอาง

จากการที่มีข่าวลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ว่าสารไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สามารถทำ

ปฏิกิริยากับคลอรีนในน้ำประปา เกิดเป็นคลอโรฟอร์ม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ นั้น

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. มีการเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยของ Peter Vikesland จาก Virginia Polytechnic Institute

and State University ใน Environmental Science & Technology Online News ระบุว่าสารไตรโคลซาน

(Triclosan) ซึ่งเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ล้างจาน (dishwashing soaps) สามารถทำปฏิกิริยากับคลอรีนใน

น้ำประปา (chlorinated water) เกิดเป็นคลอโรฟอร์ม (Chloroform) ซึ่งอาจถูกดูดซึมผ่านผิวหนัง หรือเมื่อสูดดม

เข้าสู่ร่างกาย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้

2. เนื่องจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดเป็น

คลอโรฟอร์มนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความเข้มข้นของไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์ ความเข้มข้นของ

คลอรีนในน้ำ ความเป็นกรด-ด่าง รวมทั้งอุณหภูมิของน้ำด้วย ขณะนี้จึงไม่อาจสรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

เช่น ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของไตรโคลซาน จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่อย่างไร ดังนั้น ผู้บริโภคยังไม่

ควรตื่นตระหนกเกี่ยวกับอันตรายของไตรโคลซานในเครื่องสำอางตามที่เป็นข่าว

3 . ไตรโคลซาน(Triclosan) เป็นสารที่มีคุณสมบัติยับยั้งแบคทีเรีย (Antibacteria) จึงนิยมใช้เป็น

ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อความสะอาดหลายชนิด เช่น สบู่ ครีมอาบน้ำ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ยาสีฟัน

น้ำยาบ้วนปาก ตลอดจนน้ำยาล้างจานด้วย โดยพบว่ามีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เป็นสารกันเสีย และเป็น

สารยับยั้งแบคทีเรีย เป็นต้น

4 ประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น รวมทั้งสหภาพยุโรป ยังคงอนุญาต

ให้ใช้สาร Triclosan เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ ส่วนในประเทศไทยอยู่ระหว่างปรับกฎระเบียบให้สอดคล้อง

กับบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน โดยจะใช้ข้อกำหนดในทำนองเดียวกับสหภาพยุโรป ซึ่งอนุญาตให้ใช้สารนี้

เป็นสารกันเสียได้ในอัตราส่วนสูงสุดไม่เกิน 0.3 %

5. สหภาพยุโรปได้มีการติดตามความปลอดภัยของการใช้สาร Triclosan อย่างใกล้ชิด โดย

The Scientific Committee of Consumer Products [SCCP] ในการประชุมเมื่อ 10 ตุลาคม 2549 ได้

พิจารณาข้อมูลความปลอดภัยของการใช้สาร Triclosan ในเครื่องสำอาง โดยเฉพาะประเด็นของการดื้อยา

(development of bacterial resistance) และขณะนี้ที่ประชุมมีความเห็นสรุปได้ว่า สารนี้ยังคงมีความปลอดภัย

เมื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง

6. เมื่อติดตามข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สารไตรโคลซาน พบว่าปัจจุบันสารนี้ยังคง

มีความปลอดภัย ในหลายประเทศอนุญาตให้ใช้สารนี้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการ

อาหารและยาจะได้ติดตามความปลอดภัยของการใช้สารนี้ อย่างใกล้ชิดต่อไป

*****************************************

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท