วินัย 5 ประการในการสร้างองค์ความรู้


วินัย 5 ประการในการสร้างองค์ความรู้
องค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization : LO)  โดย ปาริฉัตต์   ศังขะนันทน์ 
           
องค์กรแห่งการเรียนรู้ หรืออาจเรียกให้ชัดเจนขึ้นว่าองค์กรที่มีการเรียนรู้เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก โดยมีเป้าประสงค์สําคัญ คือ เพื่อให้มีโอกาสได้ใช้ความรู้เป็นฐานในการพัฒนาต่อไปผู้บุกเบิกแนวคิดเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นคนแรกคือ Chris Argyris เริ่มขึ้นประมาณปี คศ.1978 จากงานเขียน ชื่อ Organization Learning แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก เพราะมีเนื้อหาเชิงวิชาการที่เข้าใจยาก ต่อมาปี คศ.1990 Peter M. Senge Ph.D. ศาสตราจารย์แห่ง MIT Sloan School of Managementได้เขียน “The Fifth Discipline : The Art and The Learning Organization “ หรือวินัย 5 ประการแนวคิดเพื่อนําองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization:LO) และได้รับความนิยมปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา จนกระทั่ง American Society for Training Development-ASTD สมาคมเพื่อการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเกียรติคุณให้เขาเป็นนักวิชาการเกียรติคุณดีเด่น ประจําปี ค..2000 1 Peter M. Senge กล่าวว่า “Learning in organization means the continuous testing  of experience, and the transformation of that experience into knowledgeaccessible to the whole  organization, and relevant to its core purpose.ซึ่งมีนักวิชาการไทยให้คําจํากัดความไว้ว่า องค์กรที่บุคลากรภายในองค์กรได้ขยายความสามารถของตนอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่มบุคคลและระดับองค์กร เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่บุคคลในระดับต่างๆ ต้องการอย่างแท้จริง เป็นองค์กรที่บุคลากรมีความคิดใหม่ๆ และการแตกแขนงของความคิดได้รับการยอมรับเอาใจใส่ เป็นองค์กรที่บุคลากรในองค์กรมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการที่จะเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งองค์กรองค์ประกอบที่สําคัญซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้คือวินัย 5 ประการซึ่งPeter M.Senge กล่าวไว้ ได้แก่                   
         1. บุคคลที่รอบรู้ (Personal Mastery)
หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสําคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต(Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ            
      2. รูปแบบความคิด (Mental Model)
หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทําให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทําความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานของวุฒิภาวะ(EmotionalQuotient,EQ)             
      3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการมองในระดับความมุ่งหวัง เปรียบเสมือนหางเสือของเรือที่ขับเคลื่อนให้เรือนั้นมุ่งสู่เป้าหมายในทิศทางที่รวดเร็ว ประหยัดและปลอดภัย            
      4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)
หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่ม หรือทีมงาน เป็นเป้าหมายสําคัญที่จะต้องทําให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสมํ่าเสมอ ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การเรียนรู้ชนิดนี้ เน้นการทํางานเพื่อก่อให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจ มีความสามัคคีในการร่วมมือกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
      5. การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หมายถึงการที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็นระบบได้อย่างเข้าใจและมีเหตุมีผล เป็นลักษณะการมองภาพรวมหรือระบบใหญ่(Total System) ก่อนว่าจะมีเป้าหมายในการทํางานอย่างไร แล้วจึงสามารถมองเห็นระบบย่อย(Subsystem) ทําให้สามารถนําไปวางแผนและดํ าเนินการทําส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/sti_12_2547_Learning_Org_1.pdf

หมายเลขบันทึก: 64519เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ที่แรก เห็น คุ้นๆๆ ที่แท้ก็คนรู้จัก หุหุหุหุ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท