ข่าวแจก งานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓


การสร้างและการใช้ความรู้ของสังคมไทยในปัจจุบัน มองในมุมหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความรู้อยู่มาก เพียงแต่ไม่รู้วิธีการนำความรู้ไปใช้ และอาจเคยชินกับการนำความรู้ทฤษฏี ซึ่ง ถือเป็นความรู้มือสองมาใช้ โดยไม่ได้ประยุกต์หรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งการนำมาใช้ให้เหมาะกับตัวเองต้องผ่านการปฏิบัติการลงมือทำแล้วเกิดการเรียนรู้ นั่นจึงเป็นความรู้มือหนึ่ง หรือความรู้ที่สร้างขึ้นใช้เองและใช้ได้จริง

ข่าวแจก งานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓ 

ขับเคลื่อนเครือข่ายการจัดการความรู้ประเทศไทย วันนี้ (1 ธ.ค.) ที่ไบเทค บางนา สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส) จัดงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ  ครั้งที่ 3 ขับเคลื่อนเครือข่าย KM ประเทศไทย โดยมีภาคี เครือข่ายการจัดการความรู้จากภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ภาคราชการ ภาคเอกชน เข้าร่วมนำเสนอตัวอย่างการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนองค์กรในรูปแบบใหม่ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ปฎิบัติ และการต่อยอด  รวมกว่า 41  กลุ่ม/ชุมชน/หน่วยงาน/องค์กร และผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กว่า 1,700 คนศ.นพ.วิจารณ์  พานิช  ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) กล่าวว่า การสร้างและการใช้ความรู้ของสังคมไทยในปัจจุบัน  มองในมุมหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความรู้อยู่มาก    เพียงแต่ไม่รู้วิธีการนำความรู้ไปใช้ และอาจเคยชินกับการนำความรู้ทฤษฏี ซึ่ง ถือเป็นความรู้มือสองมาใช้  โดยไม่ได้ประยุกต์หรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งการนำมาใช้ให้เหมาะกับตัวเองต้องผ่านการปฏิบัติการลงมือทำแล้วเกิดการเรียนรู้ นั่นจึงเป็นความรู้มือหนึ่ง หรือความรู้ที่สร้างขึ้นใช้เองและใช้ได้จริง   ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ สคส. ต้องการขับเคลื่อนให้สังคมไทยสร้างความรู้ขึ้นใช้เอง  โดยพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขึ้นมาแล้วนำไปส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดขึ้นในกลุ่มบุคคล ชุมชน หน่วยงาน องค์กร ในทุกภาคส่วน มองมุมหนึ่งการสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอาจดูเหมือนยาก  แต่เมื่อมีการรวมตัวกันและแลกเปลี่ยนความรู้  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน เรื่องที่ยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย  จากการได้ระดมความรู้ความคิดและหยิบส่วนดีของกันและกันมาใช้  ถือเป็น เคล็ดลับ ที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ทำจริงของตัวเองและคนอื่น ๆ เกิดความชื่นชมยินดี แม้เป็นความสำเร็จเล็ก ๆ  ของคนเล็กคนน้อยในสังคม ซึ่งความสำเร็จจากความรู้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่เป็นเคล็ดลับของคนเหล่านี้เมื่อรวมกันก็จะเป็นความรู้ที่ยิ่งใหญ่ และงอกงามขึ้นเรื่อย ๆ ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงตรงนี้ถือเป็นการปฏิวัติสังคมไทย ให้เห็นคุณค่าของความรู้ที่ตัวเองและสร้างขึ้นใช้เองได้ สร้างความมั่นใจและเคารพตัวเอง  เราจึงพยายามหาทางช่วยกันแก้ปัญหาภาพใหญ่ในสังคม โดยการทำให้คนเล็กคนน้อยเกิดความมั่นใจในตนเอง  ซึ่งจะเกิดขึ้นได้โดยการให้เขาลองทำ  เขาจะรู้ว่าเขามีความรู้ดั้งเดิมเยอะ เช่น ความรู้จากภูมิปัญญา ความรู้จากประสบการณ์ทำงาน  เมื่อไปเล่าแลกเปลี่ยนกับเพื่อนยิ่งเห็นว่าความรู้เกิดขึ้นมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ   แลกเปลี่ยนกันไปพร้อมกับการบันทึก ทำให้เห็นคุณค่าของความรู้ที่มี ขณะที่ สคส. มี คุณอำนวย หรือ Facilitater   ซึ่งหมายถึงผู้ทำหน้าที่ไปส่งเสริมให้เกิดการลองทำ ยิ่งทำให้คนเล็กคนน้อยเกิดความมั่นใจเพิ่มขึ้น ตรงตามหลักจิตวิทยาที่มนุษย์ทุกคนใช้ความสามารถของความเป็นมนุษย์เพียง  10% ของที่ทุกคนมี  เมื่อถูกกระตุ้นด้วยกระบวนการเช่นนี้ทำให้ศักยภาพของความเป็นมนุษย์ถูกปลดปล่อยออกมา  ซึ่งหากคนทั้งสังคมรู้จักนำวิธีการนี้ไปใช้จะได้ประโยชน์มาก และนี่คือสภาพของสังคมอุดมปัญญา สังคมที่มีความรู้เป็นฐาน หรือ Knowledge Based Socity  แต่ต้องเกิดขึ้นในทุกส่วนของสังคมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งนี้ เป็นการนำความรู้ความสำเร็จของคนเล็กคนน้อยที่สังคมมองข้าม รวมทั้งกลุ่ม ชุมชน หน่วยงาน องค์กรที่มีการสร้างความรู้มือหนึ่งขึ้นใช้ได้เป็นผลสำเร็จและเกิดผลงอกงามนั้นมา เผยแพร่และยกระดับร่วมกันผ่านกิจกรรมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนิทรรศการในงานครั้งนี้    โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ  การปาฐกถาพิเศษเรื่อง “KM ในบริบท...แห่งความเป็นไท โดย ศาสตราภิชาน  ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ   และ การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสังคม  สู่สังคมอุดมปัญญา  โดยนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์     นอกจากนั้นยังมีรายการ บุฟเฟ่ต์ KM การสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) เครือข่ายจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ชุมชนคุณอำนวย (KFCoP), การจัดการความรู้สู่การพัฒนาการส่งเสริมการเกษตร, การเคลื่อนทัพจัดการความรู้กรมอนามัย, เครือข่ายจัดการความรู้สุขภาพใจ, เครือข่ายสร้างสุขเยาวชนสร้างสรรค์, เครือข่ายการจัดการความรู้ กศน., เครือข่าย KM ในโรงเรียน,  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้าม CoPs   การสัมมนาหลากหลายหัวข้อสื่อสร้างสรรค์แรงบันดาลใจ อาทิ ไหลลื่นไปกับคลื่นความรู้ โดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด, เมื่อคุณธรรม...นำการศึกษา โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา     กิจกรรม Workshop  ได้ทดลองปฏิบัติจริง อาทิ  ฝึกคุณอำนวยและวางแผนจัดการความรู้ในองค์กร ,การเป็นคุณอำนวยในภาคการศึกษา,การเป็นคุณอำนวยและคุณบันทึกในชุมชน, คุณกิจกับการออกแบบกระบวนการเรียนรู้, เชี่ยวชาญการใช้ Weblog : Gotoknow.org    กิจกรรม ประเด็นปิ๊ง...สู่ลานเสวนา ได้แก่หัวข้อ กว่าจะมีวันนี้ของ คุณเอื้อ และ  KM กับการสร้างสุขภาวะ   และกิจกรรม หลุมดำ กับดักการทำ KM ที่ไม่สำเร็จ   และการสาธิตการจัดวิทยุชุมชนเครื่องมือเรียนรู้ชุมชน เป็นต้น   สำหรับนิทรรศการมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งนี้  แบ่งออกเป็น 3 โซน หลักคือ  โซนที่ 1 :  KM Network :  รวมเรื่องราวเครือข่าย KM ประเทศไทย  ประกอบด้วย ตัวอย่างการสร้างเครือข่ายจัดการความรู้ในหน่วยงานราชการ ตัวอย่างการสร้างเครือข่ายจัดการความรู้ในภาคประชาสังคมเพื่อชุมชนเป็นสุข  ตัวอย่างการสร้างเครือข่ายจัดการความรู้การดูแลสุขภาพชุมชน และการสร้างเครือข่ายจัดการความรู้ภาคการศึกษา                 โซนที่ 2 : KM Inside : KM ที่เนียนอยู่ในเนื้องาน  ประกอบด้วย ตัวอย่าง KM Inside ในหน่วยงานราชการ ,KM Insideในภาคเอกชน ,KM Inside ที่เชื่อมร้อยการศึกษากับชุมชน และตัวอย่าง KM Inside เพื่อการบริการสุขภาพ         โซนที่ 3 : KM Community : เรื่องราว KM ในพื้นที่ ประกอบด้วย ตัวอย่าง KM Community ชุมชนจัดการตนเอง และ ตัวอย่าง KM Community องค์กรจัดการความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชน  การจัดงานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ เป็นกลไกหนึ่งเพื่อเผยแพร่และผลักดันให้สังคมไทยเคลื่อนสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีขีดความสามารถในการจัดการความรู้ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในปัจจุบันและอนาคต  
หมายเลขบันทึก: 64455เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท