ทำไมต้องมีกฎหมายเรื่องการคุ้มครองสุขภาพ การรักษาพยาบาล สวัสดิการและการคุ้มครองด้านประกันสังคม


คนประจำเรือจะได้รับการคุ้มครองได้เท่ากับคนบนฝั่งจริงหรือ

HEALTH PROTECTION , MEDICAL CARE ,WELFAREAND SOCIAL SECURITY PROTECTION การคุ้มครองสุขภาพ การรักษาพยาบาล สวัสดิการแลการคุ้มครองด้านประกันสังคม

 ทำไมต้องมีกฎหมายเรื่องการคุ้มครองสุขภาพ การรักษาพยาบาล สวัสดิการ แลการคุ้มครองด้านประกันสังคม             

                    สืบเนื่องจากการเดินเรือทะเลนอกจากจะต้องมีกฎหมายมาให้ความคุ้มครองกับตัวเรือ, การขนส่งทางทะเล รวมถึงกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่สินค้าที่ต้องส่งให้กับผู้รับตราส่งแล้ว ยังต้องมีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองกับคนที่ทำงานบนเรือในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ การรักษาพยาบาล สวัสดิการของคนประจำเรือซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ  เนื่องจากในเรื่องของการทำงานในเรือเดินทะเลนั้นจะเห็นได้ว่าสภาพการจ้างงานก็ดี, สภาพการทำงานก็ดี รวมถึงความเป็นอยู่ของคนประจำเรือย่อมมีความแตกต่างกับคนทำงานบนฝั่ง จึงเกิดปัญหาและอุปสรรคต่างๆในการดำรงชีวิตของคนประจำเรือ เพื่อให้ความมั่นใจกับคนประจำเรือในการทำงานว่าจะได้รับความคุ้มครองในชีวิตและมีความปลอดภัยตลอดการทำงานบนเรือนั้น ๆ  

กฎหมายจะคุ้มครองใครบ้าง 

                1. กฎหมายคุ้มครองแรงงานในงานเรือเดินทะเล  หมายถึง  แรงงานที่ประกอบอาชีพเป็นคนประจำเรือในเรือเดินทะเล

            2. กฎหมายคุ้มครองคนประจำเรือ (Seaman/Seafarer) หมายถึง บุคคลที่ได้รับการว่าจ้างให้ปฏิบัติงานบนเรือ โดยมีประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถ ตามกฎข้อบังคับ เนื่องจากในเรือแต่ละลำจะมีแรงงานหลายระดับ ดังนั้น คนประจำเรือจึงครอบคลุมแรงงานในระดับต่างๆ ดังต่อไปนี้

                                2.1  นายเรือ (Master)        

                                2.2   นายประจำเรือ (Officer) เช่น ต้นเรือ (Chief Officer) ต้นหน (SecoundOfficer)                          

                               2.3  ระดับลูกเรือ (Rating) เช่น สจ๊วต (Steward), คนครัว (Cook), กะลาสี (Ordinary Seaman) เป็นต้น

 สาเหตุที่ต้องมีการคุ้มครอง

                               เนื่องจากตามโครงสร้างกิจกรรมทางพาณิชยนาวี  นั้นประกอบด้วยธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเล ท่าเรือ การบริการนอกท่าเรือ การขนส่งชายฝั่ง สำหรับคนงานประจำเรือนั้นเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลอันทำให้กิจกรรมทางพาณิชยนาวีดำเนินไปได้ด้วยดี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องให้ความคุ้มครองคนประจำเรือเพื่อให้กิจกรรมทางพาณิชยนาวีดำเนินไปโดยสำเร็จตามความมุ่งหมายของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย    

                          การจัดประเภทขององค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจพาณิชยนาวี                          เนื่องจากคนประจำเรือไม่มีอำนาจต่อรองมากนัก ดังนั้นจึงต้องมีการจัดองค์กรขึ้นมาให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อให้การช่วยเหลือแก่คนประจำเรือและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพาณิชยนาวี จึงต้องศึกษาถึงการแบ่งประเภทขององค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจพาณิชยนาวี องค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพาณิชยนาวีมีดังนี้             

                      1.   องค์กรของรัฐ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กรมเจ้าท่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมพาณิชยนาวี การท่าเรือแห่งประเทศไทย และองค์กรอื่น ๆ เป็นต้น      

                       2.  องค์กรของเอกชน ได้แก่ สมาคมเจ้าของเรือไทย สมาคมเจ้าของและตัวแทนเดินเรือกรุงเทพ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ           

                        3.  องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีเพียง 2 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) 

 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสุขภาพ การรักษาพยาบาล สวัสดิการแลการคุ้มครองด้านประกันสังคมมี

1.  กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท              

                  1.1  อนุสัญญาระหว่างประเทศ (Convention)                         

                  1.2  ข้อแนะนำ ( Recommendation)            

    2.  กฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องได้แก่                       

                    2.1  พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541                              

                     2.2  กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                                                2.2.1  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

                                                2.2.2  พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533                                                                            (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2542

                                                2.2.3  พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537

                                                2.2.4  พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

                    

เปรียบเทียบกฎหมายไทยกับอนุสัญญาระหว่างประเทศและกฎหมายของต่างประเทศ             

                             จากการศึกษาและวิเคราะห์อนุสัญญาระหว่างประเทศขององค์การทั้งสอง คือ ILO และ IMO   แล้ว ปรากฏว่า                ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาของ ILO  ที่เกี่ยวข้องกับคนประจำเรือ  แต่สำหรับของอนุสัญญาของ IMO  ซึ่งประกอบด้วยอนุสัญญา 3 ฉบับ  ที่เป็นอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับแรงงานในงานเรือเดินทะเล  โดยในจำนวนนี้ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้ว 2 อนุสัญญา คือ             

           1.  อนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล  ค.ศ. 1974 และ         

            2.  อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม  การออกประกาศนียบัตรและการเข้ายามสำหรับคนประจำเรือ ค.ศ. 1978  แก้ไขเพิ่มเติม 1995           

                              ทั้งนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า  สำหรับประเทศไทยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองรักษาพยาบาลและสวัสดิการ  สำหรับคนประจำเรือนั้น ยังไม่มีกฎหมายออกมาเป็นบทเฉพาะ  ทำให้เกิดการขัดกันแห่งกฎหมาย เนื่องจากในแต่ละประเทศนั้นการให้ความคุ้มครองแรงงานในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาพยาบาลไม่เท่าเทียมกัน เช่นในประเทศไทยนั้นการรักษาพยาบาลมีทั้งการประกันสังคม โครงการ 30 บาท แต่ในบางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกามีแค่ประกันสังคมแต่การประกันสังคมของสหรัฐอเมริกามีมาตราฐานในการให้ความคุ้มครองมากกว่าของไทย แรงงานในประเทศของเขาจึงได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีกว่า และด้วยเหตุที่คนประจำเรือต้องเดินทางไปทั่วโลก จึงควรได้รับการคุ้มครองที่เท่าเทียมกัน เพื่อให้คนประจำเรือที่เดินทางไปกับเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เมื่อเดินทางไปถึงประเทศใด ๆ ในโลกก็จะได้รับการรักษาในมาตราฐานเดียวกัน ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองคนประจำเรือในเรื่องของการรักษาพยาบาล ทั้งนี้  อาจออกกฎหมายเป็นกฎกระทรวงโดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา 22  ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  หรือ ออกเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานในงานหรือ กิจการการเดินเรือทะเลเป็นบทเฉพาะขึ้นมา  และในการออกกฎหมายดังกล่าวนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่า จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้             

                           1.  สาระสำคัญของอนุสัญญาและข้อแนะนำของอนุสัญญาของ ILO และ IMO             

                            2.  สภาพปัญหาในปัจจุบัน และวิธีการแก้ไขปัญหาที่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง          

                             3.  การให้ความร่วมมือทั้งขององค์ของรัฐ และองค์กรเอกชนให้มีส่วมร่วมในการออกกฎหมายและการแก้ไขปัญหา เช่น  การจัดสวัสดิการ และการรักษาพยาบาล          

                             4.  มีผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถและผ่านประสบการณ์มาร่วมกันแก้ไขปัญหาด้านการรักษาพยาบาล สวัสดิการในงานเดินเรือทะเล           

                              5.  การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันอันตรายจากการทำงานรวมทั้งเพิ่มเติมในด้านการใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือลักษณะงานเนื่องจากความเป็นจริงคนประจำเรือบางท่านไม่เคยได้รับการฝึกอบรมมาก่อนและต้องมีการมาเรียนรู้ด้วยตนเองในขณะปฏิบัติงานนั้น               

                              ทั้งนี้ จากการได้สำรวจและสอบถามกับคนประจำเรือ ณ กรมท่าเรือปรากฏว่า  ปัญหาด้ายสวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่คนประจำเรือประสบอยู่จากการทำงานในปัจจุบัน และต้องการการแก้ไขมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ     

                             1.  ค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม   

                             2.  ชั่วโมงพักผ่อนและวันหยุดที่ไม่เหมาะสม       

                             3.  ไม่มีกิจกรรมนันทนาการที่เพียงพอ ซึ่งก็ไม่พบว่าเป็นเรื่องของการรักษาพยาบาล และสวัสดิการเท่าไรนัก             
             

 
หมายเลขบันทึก: 64438เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท