บัณฑิตฯ & KM.


...ตั้งแต่พี่บอย(คุณอนุวัทย์ เรืองจันทร์)อบรมฯให้เมื่อวันอังคารที่ 28 กุมพาพันธ์ 2549 นับระยะเวลาจากการอบรมฯแล้วก็นานพอที่จะลืมๆเลือนๆสิ่งที่พี่บอยได้สอนไว้(รวมไปถึง Username+pasword ด้วยค่ะ) แต่ด้วยเหตุที่....

        "สวัสดีค่ะทุกๆท่าน" ขอขึ้นต้นด้วยประโยคนี้ก็แล้วกันนะคะ  อย่างน้อยมันก็เป็นการลดความประหม่าและอาการเขินอายค่ะ เนื่องด้วยไม่ได้เขียนblog. อีกเลยตั้งแต่พี่บอย(คุณอนุวัทย์ เรืองจันทร์)อบรมฯให้เมื่อวันอังคารที่ 28 กุมพาพันธ์ 2549  นับระยะเวลาจากการอบรมฯแล้วก็นานพอที่จะลืมๆ เลือนๆสิ่งที่พี่บอยได้สอนไว้ (รวมไปถึง Username+pasword ด้วยค่ะ) แต่ด้วยเหตุที่คนรอบๆตัวพากันพูดถึงเรื่อง blog. ก็เลยเริ่มสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ จากที่เข้ามาอ่านblog. สัปดาห์ละครั้ง  หลังๆ อ่านบ่อยมากขึ้นค่ะ  จนเดี๋ยวนี้ถ้าว่างจากงานบนโต๊ะเมื่อไหร่ ก็จะเปิดเข้ามาอ่านทุกๆครั้ง โดยเฉพาะบันทึกเรื่อง Mongolia ของท่านอาจารย์วิบูลย์ และบันทึกฯ อีกของหลายๆท่านล้วนแล้วน่าสนใจทั้งสิ้นค่ะ 

          ขอกลับ(แบบดื้อๆ)มายังบัณฑิตวิทยาลัยค่ะ ที่ขณะนี้กำลังตื่นตัวในเรื่องของ KM. และมีกระแสเรียกร้องให้จัดกิจกรรม KM. ในบัณฑิตวิทยาลัย  ดังนั้นด้วยความปรารถนาดีจาก พี่ตา(คุณพัชรี ท้วมใจดี เลขานุการบัณฑิตวิทยาลัย) พี่ตุ๊กตา(คุณสินีนาฎ พุ่มสอาด หัวหน้างานวิชาการ) และพี่ตุ้ย (คุณอรอุษา บำรุงไทย  หัวหน้างานนโยบายฯ) จึงได้จัดโครงการ การจัดการความรู้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาในหัวข้อ "ความสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน"  วันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 ณ ห้องประชุมบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2  ซึ่งมีกำหนดการ ดังนี้ค่ะ 

          08.45-09.00 น.   ลงทะเบียน

          08.45-09.00 น.   บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ LO to KM

          09.30-09.50 น.   เกริ่นนำกระบวนการเสวนาและชี้แจงวัตถุ

                                       ประสงค์การจัดการความรู้(KM) โดย

                                       รศ.เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย  รองคณบดี

                                       ฝ่ายวางแผนและพัฒฯ คณะศึกษาศาสตร์

          09.50-10.50 น.   แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการออกเป็น 4 กลุ่ม

                                       ย่อย เพื่อทำกิจกรรมกระบวนการ KM ในหัว

                                       ข้อ"ความสำเร็จในการประกันคุณภาพการ

                                       ศึกษาของหน่วยงาน"

          10.50-11.30 น.   แต่ละคนในกลุ่มเล่าเรื่อง (Storytelling) ในหัว

                                       ข้อ "ความสำเร็จในการประกันคุณภาพการ

                                       ศึกษาของหน่วยงาน" (ท่านละ 5 นาที) 

                                       แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนเพื่อ Presentation

                                      1. เรื่องเล่าเร้าพลังที่คิดว่าเป็น Best practice

                                          โดยเจ้าของเรื่อง (กลุ่มละ 5 นาที)

                                      2. "ขุมความรู้" (Knowledge Assets) ที่ได้

                                            จาก Storytelling(กลุ่มละ 5 นาที)

          11.30-12.10 น.   ระดมสมองเพื่อจัดการกับ"ขุมความ

                                       รู้" (Knowledge Assets)ที่ได้จากกลุ่มใน

                                       ภาพรวมเป็น "แก่นความรู้(Core

                                       competence) โดยใช้ Card Technique และ

                                       นำเสนอ

          12.10-12.30 น.   รวมกลุ่ม AAR

           ซึ่งผลที่ได้จากการจัดโครงการฯ ในครั้งนี้ ดิฉันจะได้นำเสนอในบันทึกตอนต่อไปนะคะ

         

         

หมายเลขบันทึก: 64425เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณบอยสหเวช มน. นี้เป็นคุณอำนวยตัวจริงนะครับ

  • ดีใจที่ได้เห็นบันทึกนี้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท