Regional Workshop on Use of ICT for Community Empowerment through NFE ตอนที่ 3


ICT for Community Empowerment

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 

วันที่ 2 ของการประชุมปฏิบัติการ โปรแกรมที่จัดไว้ เริ่มไม่ทันตามกำหนดการ เพราะกิจกรรมเมื่อวานยังตกค้างอยู่ ดังนั้นตอนเช้า จึงเป็นการแบ่งกลุ่มในประเด็น (How to)  Use of ICT for capacity building of personal (CLC) and facilitator and community โดยเรายังอยู่กลุ่ม A หรือ PIZZA เช่นเดิม ดีหน่อยที่เป็นเรื่องที่พอจะเข้าใจ และช่วย Discuss ในกลุ่มได้ แต่ดูเหมือนว่า ประเด็นที่เราเสนอ เป็นประเด็นที่ประเทศอื่นยังพัฒนามาไม่ถึงประเทศไทย ดังนั้นเวลาผู้แทนกลุ่มออกไปรายงาน พอถึงข้อเสนอแนะของเราเข้าจะย้ำว่า ประเทศไทยเสนอว่า ส่วนข้อเสนออื่นๆ พูดรวมๆ ไป
การนำเสนอผลการอภิปรายทั้ง 4 กลุ่ม สรุปได้ดังนี้
ตอนเช้าของวันที่ ๒๑ พฤศิจกายน ๒๕๔๙ มีการอภิปรายกลุ่มต่อจากเมื่อวาน แล้วมีการนำเสนอดังต่อไปนี้
 การใช้ ICT เพื่อการพัฒนาบุคลากร
- สร้างคู่มือการใช้ ICT ทั้งที่เป็นภาษาประจำชาติและภาษาท้องถิ่น เพื่อจะใช้นำไปพัฒนาสื่อต่อ อาจเป็นสื่อวีดิทัศนื หรือใช้สอนในห้อง สร้างต้นแบบสไลด์ การวางแผนงาน ปุ่มกราฟิก เป็นต้น
- ฝึกอบรการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทางด้าน ICT ในศูนย์การเรียนชุมชน ให้เพื่อนต่างศูนย์ฯ ช่วยกัน
- ส่งเสริมการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต จดหมายข่าว รายการวิทยุ สร้างเครือข่ายที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิด และงานวิจัยของกันและกัน
- เสริมสร้างพลังอำนาจของบุคลากร ควรเลือกบุคลากรที่ไม่ลำเอียงทางเพศ ให้การฝึกอบรมทั้งสองเพศ จัดสื่อให้กลุ่มสตรีเข้าถึง แม้จะนำไปใช้ที่บ้านก็ควรส่งเสริม จัดสื่ออบรมที่เหมาะกับภาษาของกลุ่มคนด้อยโอกาส ให้พื้นที่ใน web site สำหรับทุกคนเพื่อเสนอเรื่องส่วนตัวที่อยากนำเสนอ
- การติดตามและประเมินผล มีการกำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับการใช้ ICT ใช้เครือข่ายการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ผลที่คาดหวัง แลกเปลี่ยนผลการติดตามและประเมินผลในพื้นที่ต่าง ๆ ใช้เครื่องมือ ICT ในการเก็บบันทึกข้อมูลการติดตามและประเมินผล
- ส่งเสริมการเรียน ICT ในโรงเรียน และให้มีความเชื่อมโยงกับในชุมชน โดยพัฒนาเนื้อหาสื่ออบรมที่เหมาะกับความต้องการของผู้เรียน ใช้วิธีการมีส่วนร่วม เชิญสมาชิกครอบครัวเข้าร่วมในการพัฒนาสื่อ
- ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิต ให้เข้าถึงสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น
- ใช้ ICT เพื่อความบันเทิง ใช้ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเป็นการจุดประกายการอภิปรายเรื่องสำคัญในชุมชน ฝึกให้มีการสร้าง web site เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าจาดท้องถิ่น
 การใช้ ICT เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรายได้
- การใช้สื่อวีดิทัศน์ เพื่อช่วยให้สตรีเสนองานที่สามารถนำไปจำหน่ายได้ ส่งเสริมเทคโนโลยีใหม่ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต
- จัดทำรายการวิทยุและโทรทัศน์ ใช้เพื่อขับเคลื่อนงานต่าง ๆ ของชุมชน รายงานข่าวต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกชุมชน
- ใช้ e-mail & web sites แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อปรับปรุงเทคนิคการจัดการธุรกิจ ส่งเสริมการซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
- ใช้ภาพถ่ายและบทความจากวารสารต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการจัดการครัวเรือนและธุรกิจ
- ใช้โทรศัพท์ เพื่อขยายขอบเขตการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ เพื่อหาข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหา
- ใช้ LCD Projector เพื่อเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ กระตุ้นความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ของชุมชน
- รายการโทรทัศน์ แผนผัง บัตรคำ ช่วยพัฒนาทักษะทางการรู้หนังสือ สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน
- ใช้ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น การป้องกันเอดส์ ไข้หวัดนก โรควัวบ้า และสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคได้
- ใช้วีดิทัศน์เพื่อแสดงความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของชุมชนและบุคคล
- Video cam & web sites เพื่อการบันทึกและรักษาวัฒนธรรมสำหรับใช้อ้างอิงในอนาคต และเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
 การใช้ ICT เพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ
- ใช้กล้องดิจิตอลเพื่อการพัฒนาหลักสูตร โดยฝึกให้ผู้เรียนใช้กล้องถ่ายภาพ แล้วใช้ถ่ายภาพสิ่งที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน
- ใช้ flash, animation & presentation software เช่น Powerpoint เพื่อนำเสนอภาพ แล้วพิมพ์ข้อความหรือประโยคใส่เข้าไปในภาพ เพื่อให้ผู้เรียนใช้เรียนในชั้นเรียน มีทั้งภาพ เสียง และแสดงวิธีการเขียนตัวอักษรแต่ละตัว พร้อมกับเสียงประกอบไว้ให้
- ใช้ CD บันทึกผลงานของนักเรียนแต่ละคนไว้ใช้สำหรับตนเอง และแลกเปลี่ยนกับคนอื่น ๆ
- จัดทำ e-book แสดงเรื่องราวต่าง ๆ ที่พบได้ในชีวิตของชาวบ้าน มีภาพ ข้อความ และเสียงพูดประกอบด้วย
- ใช้ touchscreen monitors เพื่อจัดการกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สะดวกสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือจะได้ใช้ด้วยตนเองได้ตามลำพัง
- ใช้ video conference เพื่อเข้าถึงหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล นำสื่อที่สามารถใช้ร่วมกันได้ไปใช้ในหมู่บ้านต่าง ๆ
 การใช้ ICT เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย CLCs
- ผ่านทางอินเตอร์เน็ตผสมกับ human interface โดยการจัดตั้ง local servers และพัฒนา web sites, web log (Blog), video conference, study visits, CLC forum, SHYPE, sharing IP-VPN, web-based newsletter, SMS, use of laptops for mobile services
- ผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์ และโทรศัพท์
- แลกปลี่ยนสื่อ (ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อ electronics)
- ยกระดับความสามารถของ CLC managers/partners
- ควรมีข้อตกลงเรื่องการใช้ free Internet สำหรับคนด้อยโอกาส
(ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ สรุป)
เมื่อรายงานผลการประชุมกลุ่มแล้ว ก็ต่อด้วย Country Report ใน Theme ที่ 3 โดยเริ่มจาก ประเทศเวียดนาม ประเทศไทย และประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศเวียดนาม
    ผู้แทนจากประเทศเวียตนามเสนอรายงานเรื่องการใช้ ICT เพื่อพัฒนา MIS การศึกษาต่อเนื่องนั้นมีจุดเน้นที่การส่งเสริมการรู้หนังสือ การศึกษาเสริมในระบบ การศึกษาสำหรับคนกลุ่มน้อย การศึกษาทางไกล และการอบรมระหว่างประจำการ
 ระบบการจัดการมีทั้งระบบส่วนกลาง ไปถึง ๖๓ จังหวัด ศูนย์การเรียนต่อเนื่องในระดับอำเภอ ๕๗๗ แห่ง และมีศูนย์การเรียนชุมชน ๗,๓๘๔ แห่ง คิดเป็นราว ๖๗% ของหมู่บ้านทั้งหมด มี ๖๘๙ ศูนย์ภาษาต่างประเทศและคอมพิวเตอร์  ๒๙ ศูนย์การเรียนทางไกล มีมหาวิทยาลัยให้บริการทางด้านนี้ถึง ๑๑ แห่งด้วยกัน
 การทดลองดำเนินการโดยการคัดเลือก ๑๐ ศูนย์การเรียนชุมชนเข้าร่วม โดยมีเงื่อนไขคือมีพื้นฐานทางด้าน ICT ระดับดี มีผลผลิตท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง สามารถระดมทรัพยากรต่าง ๆ ได้ ชาวบ้านประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทางด้านการปลูกไม้ผล ปลูกฝ้าย แปรรูปพลาสติก ปลูกข้าว ผลิตเครื่องเงิน แปรรูปอาหารทะเล ผลิตชาคุณภาพสูง ผลิตงานหัตถกรรมชาวเขา ทอพรม เป็นต้น
 กิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชนเหล่านี้ได้แก่การสอนให้รู้หนังสือและการศึกษาต่อเนื่อง เผยแพร่ความรู้ด้านต่าง ๆ
 หลังจากนั้นจึงขยายงานพัฒนา MIS ไปถึงศูนย์การเรียนชุมชนถึง ๑๐๐ แห่ง มีการพัฒนาแบบฟอร์มต่าง ๆ ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และนำเสนอผ่านทางอินเตอร์เน็ต
 ปัญหาสำคัญคือเจ้าหน้าที่ระดับชุมชนขาดทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ ขาดงบประมาณในการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ให้เพียงพอ เจ้าหน้าที่หน่วยงานในระดับท้องถิ่นยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ ICT ในการบริหารจัดการ การแก้ปัญหาจึงต้องมุ่งไปที่การพัฒนาความสามารถของบุคลากร ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ พัฒนาฐานข้อมูลดิจิตอลของศูนย์การเรียนชุมชน ปรับระเบียบและกฎต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนงานนี้ให้มากขึ้น

ประเทศไทย
     ดร สุชินได้นำเสนอประสบการณ์ในการใช้แผนที่ดิจิตอล GPS และการพัฒนา GIS ของบ้านสามขาเพื่อประโยชน์ในการจัดการสิ่งแวดล้อม เรื่องการสร้างฝาย การจัดการไฟป่า และอื่น ๆ

ประเทศอินโดนีเซีย 
     ต่อจากนั้นผู้แทนจากประเทศอินโดนีเซียเสนอระบบ MIS ของงานการศึกษานอกโรงเรียน โดยผ่านระบบ on-line นั่นคือสามารถกรอกข้อมูลจากหน่วยงานระดับล่างได้โดยตรง ในระดับบริหารที่สูงขึ้นสามารถติดต่อส่วนกลางได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ในขณะเดียวกันก็สำรองข้อมูลด้วยเอกสารประกอบ และส่งให้หน่วยงานส่วนกลางรับรู้ด้วย เนื่องจากอาจเกิดความผิดพลาดจากระบบอินเตอร์เน็ต

     ซึ่งเมื่อจบรายงานแล้ว ไม่มีการแบ่งกลุ่ม Discussion ตามกำหนดการเพราะไม่มีเวลา และถึงเวลาพักกินข้าว หลังจากกินข้าวแล้ว เป็นการรายงานใน Theme ที่ 4 ต่อไปเลย คือเรื่อง Use of ICT for NFE Policy Formulation and Improvement ซึ่งประกอบด้วยประเทศ อินโดนีเซีย อุสเบกิสถาน และประเทศไทย
หลังจากพักกลางวันแล้วมีการเสนอรายงาน ๓ เรื่อง คือนโยบายการใช้ ICT ในการศึกษานอกโรงเรียนของประเทศอุซเบกิสถาน ไทย และอินโดนีเซีย ปัญหาที่พบก็คือยังไม่ได้มีการผลักดันให้เกิดนโยบายอย่างจริงจังในระดับประเทศในด้าน ICT เพื่อการศึกษานอกโรงเรียน ดังนั้นจึงมีแต่รายงานผลโครงการทดลองนำร่องขนาดเล็ก ๆ ไม่มีการมองไปถึงขอบเขตและระดับที่กว้างขึ้นถึงประเทศ จำเป็นต้องมีวิธีการจัดการที่แตกต่างไปจากการจัดการโครงการทดลองนำร่องเท่านั้น
เมื่อรายงานจบแล้ว ก็เดินทางไปศึกษาดูงาน ซึ่งไม่มีอยู่ในกำหนดการมาก่อน
PUSKOM มหาวิทยาลับ SEBELAS MARET 
        การศึกษาดูงาน ICT ในโครงการ Puskom ของมหาวิทยาลัย SEBELAS MARET ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย ของจังหวัด Surakarta ชวากลาง ที่อยู่ที่เมือง Solo เหมือนกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาค เป้าหมายของการไปดูงานก็คือ ไปดูระบบ ICT ที่เรียกว่าระบบ PUSKOM
     เดินทางโดยนั่งรถไปจากโรงแรม ผ่านตัวเมือง SOLO ออกไปไม่ไกลเท่าไร  ก่อนขึ้นรถก็แจกน้ำ และอาหารว่าง คนละกล่อง  โดยรถที่นั่งไป มีคนไทยและลาว 3 คน นั่งตอนหลัง ฟิลิปินส์ 3 คน นั่งตอนกลาง  ก็เลยคุยกันคนละภาษา ด้านหลังพูดไทย กับลาว ตรงกลางพูดตากาลอก ผ่านตัวเมือง วันนี้จึงได้เห็นตัวเมืองอีกด้านหนึ่งในเวลากลางวัน ดังนั้นที่คิดว่าเมืองนี้เป็นเมืองเล็ก ไม่ใช่แล้ว เป็นเมืองใหญ่เหมือนกัน นั่งรถประมาณสัก 15 นาที ก็ถึงมหาวิทยาลัย รถพาแล่นเข้าไปภายในหมาวิทยาลัย น่าจะอยู่บริเวณเนินเขา เพราะบางแห่งทางก็ลาดชัน จึงไปถึงที่หมาย เป็นอาคารของ Puskom  (ภาษาอินโด เขาเขียนคอมพิวเตอร์ว่า komputer เพราะเขาไม่มีตัวอักษร จึงเอาตัวอารบิคมาเป็นภาษาเขียน)
    เขาต้อนรับ โดยแจกเอกสารและ CD อ่านออกแต่ไม่รู้เรื่อง เพราะเป็นภาษาอังกฤษแบบอินโด PUSKOM เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของเมืองโซโล องค์กรนี้แบ่งส่วนงานออกเป็น ๔ แผนกคือ แผนกพัฒนาเครือข่าย รับติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ หน่วยพัฒนาโปรแกรมสำหรับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก หน่วยวิจัยและพัฒนา ทำหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และหน่วยการศึกษา รับจัดอบรมให้กับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่ร้องขอ
     เจ้าหน้าที่ได้สาธิตโปรแกรมจัดการเรียนในระบบ on-line ซึ่งพัฒนาขึ้นสำหรับให้โรงเรียนมัธยมใช้งาน แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องภาษาและการเตรียมการ จึงทำให้การนำเสนอ การตอบคำถาม ไม่ราบรื่นนัก แต่เจ้าหน้าที่ก็พยายามชี้แจง แนะนำ เท่าที่ความสามารถของเขาจะมีอยู่ ทำให้เหนื่อยไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย
หลังจากนั้นก็เข้าห้องประชุมฟังบรรยายสรุป และ ชม Video พร้อมทั้งสาธิตเกี่ยวกับ puskom หลังจากนั้นก็เดินดูตามห้อง พร้อมทั้งไปทดลองใช้โปรแกรมเหมือนกับ e-Learning โดยเข้าไปดูห้องคอมพิวเตอร์ เขาเขียนว่า plaktikum คือห้องเรียน หรือห้องฝึกปฏิบัติ มีอยู่ 4 ห้อง เล็กๆ และห้องที่เราสาธิต ทุกห้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ค่อนข้างเก่าดูแล้วโรงเรียนมัธยม หลายแห่งใหม่ และทันสมัยกว่ามาก ลองทดลองใช้ Internet ช้าน่าดู จุดเด่นที่เขาแสดงคือ สามารถส่งคำถาม และจะได้รับคำตอบผ่านทาง SMS เข้าโทรศัพท์มือถือ
  
     หลังจากจบโปรแกรมการดูงานก็เป็นการประชุมต่อ โดยเตรียมการศึกษาดูงานพรุ่งนี้ โดยผู้แทนจากอินโดมาแจ้งกำหนดการว่า จะออกเดินทางตอน 7.30 น. แล้วใช้เวลาดูงานทั้งวัน ต่อจากนั้น ก็เป็นการแบ่งกลุ่มใหม่ ออกเป็น 4 กลุ่ม แล้วให้แต่ละกลุ่มไปเตรียมการศึกษาดูงาน พร้อมทั้งเตรียมประเด็นและคำถามที่จะไปถาม ตอนแบ่งกลุ่มเราได้อยู่กลุ่มที่ 3 แต่พอดัชีเป็นกลุ่มเดียวกับพี่สุชิน เขาจึงให้เราเปลี่ยนไปอยู่กลุ่มที่ 4 ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจาก อินเดีย ลาว เนปาล ญี่ปุ่น ศรีลังกา และไทย คือเรา  พูดคุยกันถึงคำถามที่จะเตรียมไปถาม ในการศึกษาดูงานพรุ่งนี้ พูดคุยกันอยู่จนถึงเวลาประมาณ  5 โมงครี่ง จึงเดินทางกลับโรงแรม ก่อนกลับมีการถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก

     ในการเดินทางกลับ คณะส่วนหนึ่ง ไป Shopping ส่วนเรากลับโรงแรม โดยวันนี้กินข้าวเย็นที่โรงแรม เวลา 1 ทุ่ม ตอนกินข้าวเย็นได้มีโอกาสคุยกับพี่สุชินค่อข้างนาน และตอนท้ายมีอาจารย์ดรุณีมาร่วมคุยด้วย โดยสรุปก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวทางการทำงาน และตอนท้าย        พี่สุชิน ขอคุยกับอาจารย์ดรุณี บอกว่า ทางภาคตะวันออก และภาคอีสาน สนใจที่จะร่วมโครงการ โดยเราบอกว่า จะเริ่มต้นทำด้วยตนเอง โดยไม่ใช้งบจาก UNSCO เพราะถ้าเป็นโครงการจาก UNSCO เริ่มต้นก็จะมีปัญหาแล้ว โดยเฉพาะปัญหาในเชิงบริหารภายในศูนย์ภาค จากการคุยทำให้ทราบว่า ที่อุบล อาจารย์ร่วมมิตร ก็ทำเรื่อง CLC อยู่แล้วของ UNSCO โดยได้มาที่อินโดนีเซียกับอาจารย์สมชาย ก็เรื่องนี้นั่นเอง
     แนวทางที่จะไปทำ คือ อาจจะหาจากหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้ว และเข้าไปดู แล้วหาจุดว่า จะเอา ICT เข้าไปเสริมอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้น โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โดยมี ICT เป็นเครื่องมือ

คำสำคัญ (Tags): #ict#for#community#empowerment
หมายเลขบันทึก: 64396เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท