การดำเนินงาน NUQAKM ประจำปี 2549


รายงานประจำปี  2549  มหาวิทยาลัยนเรศวร
การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

     จุดประสงค์หลักของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร (NUQA) คือ การทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมั่นใจว่า เมื่อเวลาผ่านไปการบริหารจัดการและผลผลิตของมหาวิทยาลัยจะมีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ทำให้มหาวิทยาลัยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นที่พึ่งทางปัญญาของสังคมต่อไปได้เป็นอย่างดี

     มหาวิทยาลัยนเรศวรดำเนินการประกันคุณภาพ โดยอาศัยการประเมินและการติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ  แล้วนำผลการประเมินมาพิจารณาหาแนวทางใหม่ ๆ ในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความมั่นใจว่ามหาวิทยาลัยในอนาคตจะต้องดีกว่าในปัจจุบัน 

     หลักการที่สำคัญของ NUQA คือ การมุ่งเน้นหาสภาพจริงของตัวเองและแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน โดยอาศัยวงจร PDCA (Plan, Do, Check, Act) ดังนั้น  NUQA เปรียบเสมือนกระจกที่จะช่วยสะท้อนภาพอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคตของมหาวิทยาลัยซึ่งประกอบด้วยการประเมินคุณภาพภายใน (IQA) และการประเมินคุณภาพภายนอก (EQA)

     ผลการประเมินคุณภาพภายใน  (IQA)

     การประเมินคุณภาพภายในเป็นสิ่งที่เราทำกันทั้งปีในเนื้องานและมีการจัดทำรายงานอย่างเป็นทางการปีละ 1 ครั้ง โดยได้มีการประเมินคุณภาพดังกล่าวตั้งแต่ต้นปี 2544 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันปี 2549 รวม 6 รอบ และได้มีการรวบรวมผลการประเมินเพื่อจัดทำบทสรุปสำหรับผู้บริหารเพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย  พร้อมทั้งแจ้งให้กับผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาคุณภาพงานของตนเองในทุกรอบการประเมิน โดยการประเมินคุณภาพภายในจะประเมิน  2 ส่วน คือ PART A และ PART B

     PART A เป็นการประเมิน 9 องค์ประกอบ  เน้นปัจจัยนำเข้า Input (I) และกระบวนการทำงาน Process (P)  ที่เป็น PDCA Cycle เป็นการสะท้อนภาพอนาคตของมหาวิทยาลัย  และเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

     PART B เป็นการประเมิน 7 มาตรฐาน เน้นผลลัพธ์ Output (O) เป็นการสะท้อนสิ่งที่ทำมาแล้วและสิ่งที่กำลังทำอยู่ (อดีต และปัจจุบัน) ว่าเป็นอย่างไร

<ผลการประเมินคุณภาพภายในปี 49>

 

     ผลการประเมินคุณภาพภายนอก (EQA)

     การประเมินคุณภาพภายนอก โดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ)  รอบที่ 1 ผลคือ มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐมหาวิทยาลัยแรกที่พร้อมรับการประเมินภายนอกและอยู่ในโครงการนำร่องของ สมศ. และได้รับคำชมในด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจากคณะกรรมการดังแสดงใน  “รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร”   ซึ่งทาง สมศ. ได้จัดส่งรายงานอย่างเป็นทางการมาให้มหาวิทยาลัยนเรศวรเมื่อวันที่  8 พฤศจิกายน 2548   ดังนี้


     การประเมินคุณภาพภายนอก โดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ)  รอบที่ 1 ผลคือ มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐมหาวิทยาลัยแรกที่พร้อมรับการประเมินภายนอกและอยู่ในโครงการนำร่องของ สมศ. และได้รับคำชมในด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจากคณะกรรมการดังแสดงใน  “รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร”   ซึ่งทาง สมศ. ได้จัดส่งรายงานอย่างเป็นทางการมาให้มหาวิทยาลัยนเรศวรเมื่อวันที่  8 พฤศจิกายน 2548 ดังนี้

     จากการประเมินคุณภาพด้วยกรอบมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่ สมศ. กำหนด กล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยนเรศวรมีคุณภาพโดยรวม อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนที่ดีมากเป็นพิเศษ  คือ มาตรฐานที่ 8 ระบบการประกันคุณภาพภายใน ที่ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ และครอบคลุม มาเป็นเวลาหลายปี เป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติทั่วไป จนถือได้ว่ามีวัฒนธรรมในการประเมินในองค์กรแล้ว

“รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร”
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)


     ขณะนี้มหาวิทยาลัยนเรศวรกำลังเตรียมความพร้อมรับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีการประเมินประมาณเดือนสิงหาคม 2551  โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรจะรับการประเมินในกลุ่มที่ 1 กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการวิจัย (Research University) ซึ่งในระหว่างเตรียมการมหาวิทยาลัยได้นำการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบการวิจัยและประกันคุณภาพเพื่อให้มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด



     การดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป

     แผนงานการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยในขั้นต่อไป  คือ  การร่วมกันนำผลประเมินมาพัฒนาคุณภาพงานทุกด้านให้ดียิ่งขึ้น เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  เพื่อให้มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัว  (Complex Adaptive University) บุคคลในมหาวิทยาลัยเป็นบุคคลเรียนรู้  หน่วยงานต่างๆ ใน มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทำให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อมและความสามารถมากพอที่จะบรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ (Shared Vision) ที่ได้ร่วมกันตั้งไว้ต่อไป  เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาให้ไปถึงจุดหมายที่ตั้งไว้  คือ  การจัดการความรู้ (Knowledge  Management, KM)  

     จากผลการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนเรศวรในรอบปีที่ผ่านมาทำให้มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับรางวัลต่างๆ  จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้สู่สังคม (สคส.) ทั้งในระดับบุคคล  และระดับมหาวิทยาลัย  ดังนี้

     ระดับบุคคล

     1.  รางวัลสุดคะนึง  ประจำเดือนสิงหาคม และกันยายน  2548 ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร

     2.  รางวัลจตุรพลังแห่งเดือนธันวาคม 2548 และมกราคม 2549  ได้แก่

     รางวัลยอดคุณลิขิตแห่งเดือน (Note Taker, NT) อาจารย์สมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์
     รางวัลยอดคุณอำนวยแห่งเดือน (Knowledge Facilitator, KF)   คุณอนุวัทย์  เรืองจันทร์
     3.  รางวัลสุดคะนึง  ประจำเดือนกุมภาพันธ์  2549 อาจารย์สมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์ 

     ระดับมหาวิทยาลัย   

     มหาวิทยาลัยนเรศวร  ได้รับ รางวัล  KM BIO Award 2005 (KM Blog Intelligent User Organization Award 2005)  ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับชุมชนองค์กรที่มีการใช้บล็อก Gotoknow ในการขับเคลื่อน  KM  ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด  ในปี  พ.ศ.  2548 จากรางวัลข้างต้นจึงทำให้การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ  ทั่วประเทศ

     ส่วนหนึ่งจากรายงานประจำปี 2549 มหาวิทยาลัยนเรศวร  ขอขอบคุณ คุณกัมปนาท มมส. มิตรจาก UKM สำหรับ <บันทึกส่งคอลัมจุลสารการประกันคุณภาพ  ให้บรรณาธิการ> ที่เป็นแรงบันดาลใจสำหรับบันทึกนี้มา ณ ที่นี้นะคะ

หมายเลขบันทึก: 64311เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ได้อ่านจนได้ครับคุณตูน ขอบคุณมาก ผมก็เพิ่งทำเสร็จวันนี้เองครับ บังเอิญมาก ก็จะนำลงบันทึกเช่นกัน ไม่ให้น้อยน่า (และอย่าลืมจัดส่งต้นสังกัดของเรา คือ สกอ. ด้วยนะครับ เขาทวงมาแล้วครับ)

พี่ตูนคะ

เราจะมีการนัดประชุมเสนาคนเขียนบล็อกอีกเมื่อไหร่อะคะ

  • ช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากสมาชิกบางท่าน  รวมทั้ง QAU เองก็มีภารกิจค่อนข้างมาก  เลยเงียบๆ ไปหน่อย 
  • แหมมีคนถามถึงแบบนี้  แบบนี้ QAU จะรีบเตรียม  และรีบจัดตามคำเรียกร้องเลยนะจ้ะ  แต่ขอเป็นหลังงานพระราชทานปริญญาบัตรดีมั้ยจ้ะ  จะได้มา ลปรร. กันแบบ B2B อีกซักทีนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท