ถอดบทเรียน ๖ เดือน ศตจ.สมุทรสงคราม


     แม่กลองหรือจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ในจังหวัดนำร่อง“โครงการนำร่องบูรณาการการบริหารจัดการเชิงพื้นที่” (ศตจ.) โดยความรับผิดชอบของ คุณสุรจิต ชิรเวทย์ และมีคุณชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ เป็นผู้ประสานงานโครงการ
     จากการทำงานมาในรอบ ๖ เดือนของ ศตจ. สมุทรสงคราม ก็มาถึงระยะของการให้คณะทำงานได้มีโอกาส ถอดบทเรียน ถอดประสบการณ์ของการทำงานร่วมกัน ซึ่ง คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ก็ได้รับเกียรติเป็นวิทยากร จัดกระบวนการเรียนรู้ในโอกาสนี้
     เวทีนี้ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยคณะทำงานและแกนนำ ชุมชน ศตจ.สมุทรสงคราม กว่า ๓๐ คน และทีมงานโครงการของคุณทรงพล พร้อมกับนจท.ภาคกลาง ที่ให้เข้ามามีโอกาสเรียนรู้อีก ๓ คน รวมแล้วเวทีครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมไม่ต่ำกว่า ๔๐ คน
     กระบวนการเริ่มต้นจากการให้เขียนหัวใจ ๔ ห้อง” ห้องแรก (๑) ให้บอกกิจกรรมที่ประทับใจมากที่สุด ห้อง (๒) บอกสิ่งที่เป็นปัญหา/อุปสรรคมากที่สุด ห้อง (๓) บอกความรู้ ใหม่ที่ชอบมากที่สุด ห้อง (๔) หากย้อนเวลาได้อยากปรับปรุง อะไรมากที่สุด และให้แลกเปลี่ยนกัน แล้วบอกคำตอบของ เพื่อนที่ถูกใจที่สุด เป็นกิจกรรมที่ให้หันมาทบทวนตัวเอง  พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างกัน
     จากนั้น คุณทรงพล ได้เริ่มทบทวนทำความเข้าใจ ถึงเป้าหมายร่วมกัน โจทย์ในการถอดความรู้เรื่องแรก คือการให้ “ทบทวนธง ๖ เดือน” ของกลุ่ม (๕ กลุ่มประเด็น ได้แก่ กลุ่มเกษตรปลอดสาร กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กลุ่มการ จัดการน้ำ กลุ่มองค์กรการเงิน/สวัสดิการชุมชน และกลุ่มการ จัดทำแผนชุมชน) ให้ทบทวนดูว่า เราชัดเจนต่อธงเป้าหมาย ของเราหรือยัง และแต่ละธงจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความ ยากจนได้อย่างไร  ให้ทบทวนว่า ในธงแต่ละธงนั้น (กิจกรรม แต่ละกิจกรรม) เราทำไปแล้วกี่ % และได้ผลกี่ % โจทย์นี้ เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวเลข แต่เป็นการให้แกนนำ ศตจ. สมุทรสงคราม ได้ทบทวนตัวเองว่า ขณะนี้มีสิ่งใดที่ต้อง เร่งมือทำเพื่อไปสู่เป้าหมาย และร่วมกันถอด “สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการ เก็บข้อมูล” และนำมาสู่โจทย์สุดท้ายคือ “สิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ไม่ควรทำ”
     ในเวทีครั้งนี้ ถือเป็นอีกเวทีหนึ่งที่นำเครื่องมือของ “พลังเรื่องเล่า” มาใช้ในการจัดการความรู้  และเป็นเวทีที่เปิด โอกาสให้ นจท.ภาคกลาง ได้ฝึกฝนทักษะของการเป็น ‘คุณ อำนวยกระบวนการเรียนรู้’
     การได้มีโอกาสเข้ามาร่วมถอดความรู้หลังจากการ ลงมือปฏิบัติครั้งนี้ คงจะเป็นประโยชน์สำหรับทีม ศตจ. สมุทรสงคราม ที่สามารถนำไปปรับใช้ พัฒนาการทำงานของ ทีม เพื่อนำไปสู่การผนึกกำลังความคิดในการแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวแม่กลอง.
หมายเลขบันทึก: 6430เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2005 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท