รายงานชิ้นที่ ๙ วิจารณ์ "ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. . . . ."


ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ  พ.ศ.  . . . .  ได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ในวงการนิติศาสตร์ไทย  โดยถือเป็นการร่างกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารไว้ค่อนข้างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด  รวมถึงการเปิดช่องในประเด็นการดำเนินการของเขตเศรษฐกิจพิเศษ  เหล่านี้เป็นที่มาของการถามหาวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของรัฐบาลว่าจำเป็นแล้วหรือที่ประเทศไทยจะต้องมีกฎหมายลักษณะดังกล่าวบังคับใช้

ฝ่ายรัฐบาลบอกว่านี่แหล่ะคือกุญแจดอกสำคัญที่จะเป็นตัวไขปัญหาการบริหารกิจการบ้านเมืองต่างๆให้ลุล่วงไปได้

แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็มองว่ามันเป็นกุญแจที่จะปิดตายอำนาจอธิปไตยของชาติอย่างชอบธรรม

ดังนั้นจึงควรมองหาว่าอะไรคือจุดสมดุลของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ?


การวิจารณ์ร่างกฎหมายฉบับนี้จะอิงจากฐานข้อมูลหลักที่เสมือนกรอบที่ล้อมรอบตัวร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เองไว้ . . .

ส่วนใดที่เห็นว่าเกิดเลยกว่าที่กรอบจะผ่อนปรนได้  ก็จำเป็นจะต้องมีการเจรจากันว่าจะแก้ไขอย่างไร

ฐานข้อมูลหลักที่จะนำมาประกอบการวิจารณ์หนังสือในวันนี้คือ

  • ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. ๒๕๔๐
  • เอกสารประกอบจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งสังคมแห่งชาติ
  • เอกสารประกอบจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

(ส่งเที่ยงคืนพอเดีเลย)

หมายเลขบันทึก: 64275เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
รออ่านอยู่ครับ เป็นปัญหาเยอะมาก มีวิทยานิพนธ์ที่วิจารณ์ประเด็นเรื่องทรัพย์และที่ดินด้วย

เขตเศรษฐกิจแห่งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์

น่าจะเป็นจังหวัดนครนายก  เพราะที่นาที่จังหวัดนี้ได้รับการยกเว้นอากร  ไม่ต้องจ่ายค่าภาษีหรืออากรอย่างใดๆ  ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากประเทศไทยในรัชสมัยของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ เร่งให้มีการการเพาะปลูกข้าว  จึงมีการจูงใจประชาชนให้เข้ามาเพาะปลูกในพื้นที่ดังกล่าว  และนี่ก็คือที่มาของชื่อที่ว่า "นครนายก" เพราะหลวงท่านยกค่าอากรให้

นอต

ปล.พอนึกถึงเมืองใหม่นครนายกตามนโยบายของอดีตท่านผู้นำตามองดาวเท้าติดดิน  ก็เลยคิดว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษกำลังจะกลับมา ณ ที่เคยเป็นจุดกำเนิดของมัน . . . แต่บังเอิญตอนนี้เท้าของอดีตท่านผู้นำยังเหยียบไม่ติดแผ่นดินไทยเลย . . .

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท