ทศพิธราชธรรม


ทศพิธราชธรรม คือ จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี 10 ประการ

ทศพิธราชธรรม

     โดยปกติแล้วการบริหารบ้านเมืองต้องยึดหลัก Good Governance 6 ข้อ นี้คือ   1.Equity แปลว่า หลักนิติธรรม

2.Integrity แปลว่า หลักคุณธรรม

3.Transparency แปลว่า หลักความโปร่งใส

4.Participation แปลว่า หลักความมีส่วนร่วม

5.Accountability แปลว่า หลักความรับผิดชอบ

6.Efficiency แปลว่า หลักความคุ้มค่า

     แต่หลักทศพิธราชธรรมครอบคลุมมากกว่า Good Governance    ดังนั้นผู้ปกครองบ้านเมืองควรจะปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรมด้วยเพื่อให้เกิดผลที่ดีต่อประเทศ

     ทศพิธราชธรรม คือ จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี 10 ประการ (ทศ แปลว่า สิบ) ได้แก่  1.ทาน - การให้ 2.ศีล - การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย 3.บริจาค - ความเสียสละ 4.อาชชวะ - ความซื่อตรง 5.มัททวะ - ความอ่อนโยน 6.ตบะ - การข่มกิเลส 7.อักโกธะ - ความไม่โกรธ 8.อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน 9.ขันติ - ความอดทน 10.อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม

     1.ทาน คือการให้ไม่มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว แต่การให้นั้นแบ่งตามลำดับสูงต่ำได้ 3 ระดับ คือ

     1.1 การให้สิ่งของเงินทอง จัดว่าเป็นการให้ระดับต่ำสุด เพราะเมื่อกินเมื่อใช้แล้วก็หมดไป

     1.2 การให้วิทยาทาน คือการให้วิชาความรู้ จัดเป็นระดับกลาง กล่าวคือสามารถเอาวิชาความรู้เป็นเครื่องมือไปหากินเองได้

     1.3 อภัยทาน การให้อภัยต่อศัตรู

     2.ศีล ควรจะรักษาศีล 5 ถึงแม้ว่าบางข้อก็ทำเป็นปกติอยู่แล้ว

     3.ความเสียสละ ไม่ควรเห็นแก่ตัวควรนึกถึงคนอื่นบ้าง

     4.ความซื่อตรง  ควรซื่อตรงต่อตัวเองก่อน

     5 .ความอ่อนโยน  มีความอ่อยโยนให้กับคนรอบข้าง

     6.ตบะ  คือกิเลส ตัณหา มีความเป็นอยู่อย่างสามัญ ดังนั้นไม่ควรหลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญ

     7.ความไม่โกรธ คือ ไม่ลุแก่อำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้วินิจฉัยความและกระทำการต่างๆ อย่างไม่เป็นธรรม

     8.ความไม่เบียดเบียน  ไม่เบียดเบียนต่อผู้อื่น

    9.ความอดทน  ต่อหน้าที่การงานที่ตรากตรำ

     10.ข้อนี้สำคัญ ก็คือความโปร่งใสนี่เอง 

คำสำคัญ (Tags): #ทศพิธราชธรรม
หมายเลขบันทึก: 64270เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เขียนเรื่อง Good Governance มาเล่าสู่กันฟังบ้างสิอยากทราบหลักการ

ขอบคุณครับ

ได้ความรู้เยอะเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท