การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมภายใต้ GATT/WTO ผลกระทบกับตลาดการค้าเสรี


ในปัจจุบันประเทศต่างๆกำลังให้ความสนใจกับประเด็นการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

              ในปัจจุบันประเทศต่างๆกำลังให้ความสนใจกับประเด็นการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ซึ่งการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมนั้นได้มีการกำหนดแนวทางการคุ้มครองและการอนุรักษ์อย่างกว้างขวางโดยมุ่งเน้นการคุ้มครองในเชิงป้องกันเช่น การป้องกันมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ การอนุรักษ์สัตว์และพันธุ์พืช ตลอดจนการรักษาความเป็นธรรมชาติและการรักษาสภาวะสมดุลแห่งสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ ซึ่งการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนั้นจะมีลักษณะเป็นการอาศัยความร่วมมือกันในทางระหว่างประเทศ

                และในขณะที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมทางด้านการค้าระหว่างประเทศก็หันมาให้ความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมนี้เช่นเดียวกันทั้งนี้เพราะกลุ่มประเทศที่ประกอบการค้าระหว่างประเทศเห็นว่า การค้าและสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันโดยในเรื่องนี้นั้นได้มีผู้ให้แนวคิดถึงเรื่องความสัมพันธ์นี้ไว้ดังนี้ แนววคิดแรกเป็นแนวคิดของนักอนุรัษ์สิ่งแวดล้อม ที่มองว่า การเปิดการค้าเสรี ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจดำเนินไปโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและไม่มีการหยุดยั้งที่จะทำลายสิ่งแวดล้อม โดยมามาตรการทางการค้าเสรีถูกมองว่าเป็นอุปสรรคกับการค้าเสรี จึงควรที่จะมีมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในทางการค้าให้เหมาะสม แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง ซึงเป็นแนวคิดของนักการค้าเสรีมองว่า การคุ้มครองและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นถือเป็นข้ออ้างที่ประเทศต่างนำมาใช้เพื่อเป็นเครืองมือในการกีดกันทางการค้า

               ทั้งนี้หากเมื่อมองถึงความสัมพันธ์ระหว่างการค้ากับสิ่งแวดล้อมแล้วจะพบทั้งสองสิ่งควรที่จะมีการให้ความสำคัญที่เท่ากันเพราะการค้าก็ยังต้องพึ่งทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมซึ่งหากสิ่งแวดล้อมหมดไปหรือถูกทำลายไปย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าแน่นอน แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ว่าในปัจจุบันบางประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นมักนิยมอ้างประเด็นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาใช้เพื่อกีดกัน ห้ามการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาเพราะประเทศที่พัฒนาแล้วมองว่าประเทศเหล่านี้มักจะมีการผลิตสินค้าโดยไม่ได้คำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงทำให้ในปัจจุบันมักพบเสมอว่ามีการพิพาทกันทางการค้าเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

             ด้วยเหตุดังกล่าวองค์การการค้าโลก(WTO)ซึ่งเป็นองค์การที่มีการพัฒนามาจาก(GATT)นั้นได้มีการตระหนักถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแม้ว่าเดิมนั้นภาระกิจหลักขององค์การจะมุ่งเน้นการเปิดการค้าเสรีและลดการเลือกปฏิบัติในทางการค้าแต่ต่อมาเมื่อประชาคมโลกเริ่มตระหนักถึงการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและประกอบกับการค้าและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่องค์การเห็นว่าควรจะมีการพัฒานาไปพร้อมๆกัน ดังนั้นหากเราศึกษาถึงตัวหลักกฏหมายของ GATT/WTO จะพบว่าในมาตรา 20ของ GATT/WTO นั้นจะพบว่าในมาตรานี้ประเทศสมาชิกสามารถอ้างมาตรานี้เพื่อใช้เป็นข้อยกเว้นเพื่อจำกัดหรือห้ามการนำเข้าสินค้าจากบางประเทศได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและการกีดกันทางการค้า ซึ่งในมาตรา 20นี้ก็มีการบํญญัติในเรื่องการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไว้ใน มาตรา 20(b) และ(g) โดยตามหลักการนำไปใช้ของ GATT/WTO ใน2 กรณีนี้จะต้องใช้เพื่อการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจริงและไม่มีเจตนาในการที่จะนำมาใช้เพื่อกีดกันทางการและในการใช้มาตราดังกล่าวรัฐที่กล่าวอ้างจะต้องไม่มีแนวทางอื่นใดแล้วที่จะทำได้เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

             แต่ตามข้อเท็จจริงที่พบนั้นหลักการในเรื่องนี้มักก่อให้เกิดข้อพิพาทอยุ่มากไม่จะเป็นกรณีที่นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้นั่นคือกรณี Tuna Dolphin case ซึ่งเป็นกรณีพิพาทระหว่าง อเมริกากับ เม็กซิโก ซึ่งตามข้อเท็จจริงของคดีพิพาทนั้น อเมริกาได้สั่งห้ามการนำเข้าปลาทูน่าครีบเหลืองจากเม็กซิโก โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการคุ้มครองชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลนั่นก็คือ โลมาทั้งนี้เพราะในอเมริกามีกฏหมายในการอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลที่มีชื่อว่า The Marine Mamal Protection Act.(MMPA)  ซึ่งการมีกฏหมายนี้เนื่องมาจากประเด็นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพราะมีการววิจัยแล้วพบว่าการจับปลาทูน่าด้วยอวนลากจับมักมีโลมาติดมาด้วยทั้งนี้เพราะโลมามักจะว่ายตามฝูงทูน่าและเมื่อมีการลากอวนมักทำให้โลมาจำนวนมากติดมาด้วยและตายก่อนถูกปล่อยคืนสู่ทะเล

            ดังนั้นเมื่ออเมริกามีกฏมายคุ้มครองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลซึ่งรวมถึงโลมาด้วยจึงได้มีการห้ามนำเข้าทูน่าที่มีการจับโดยวิธีนี้ทำให้เม็กซิโกซึ่งส่งออกทูน่านำเรื่องนี้เสนอต่อคณะกรรมการระงับข้อพิพาทของGATT โดยอ้างว่าการกระทำของอเมริกาเป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นการกีดกันทางการค้าซึ่งขัดกับหลักพันธะกรณีของGATT แต่อเมริกาก็อ้างว่กระทำไปเพื่อคุ้มครองชีวิตของโลมาที่มีแนวโน้มจะสูญพันธุ์โดยอ้างมาตรา20ที่ว่าจำเป็นที่จะต้องทำ แต่ในคดีนี้คณะกรรมการตัดสินว่าการกระทำของอเมริกาถือว่าขัดกับหลักการเพราะอเมริกายังมีวิธีอื่นที่สามารถทำได้เช่น การเจรจาทำทำข้อตกลงทวิภาคีกับประเทศคู่ค้า ดังนั้นการห้ามนำเข้าทูน่าจึงไม่เข้าข้อยกเว้นในมาตรา(20)

             จากกรณีพิพาทดังกล่าวต่อมายังมีกรณีที่เป็นกรณีพิพาทในประเด็นสิ่งแวดล้อมตามมาหลายกรณีและมักยกข้อยกเว้นตามมาตรา (20)แต่ก็มีน้อยมากที่คณะพิจารณาจะเห็นว่าสามารถอ้างมาตรานี้ได้จึงทำให้เห็นว่าแม้ในทางการค้าระหว่างประเทศจะให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแต่ก็ยังคงจะต้องมีการออกมาตรการที่เหมาะสมเพื่อจะไม่ทำให้ประเด็นในเรื่องนี้กลายมาเป็นอูปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ จึงเป็นประเด็นที่ GATT/WTO ต้องพยายามหาแนวทางแก้ไขต่อไป

หมายเลขบันทึก: 64198เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ละเอียดและได้ความรู้มากเลยน้องต่าย

เมื่อการค้าเสรีเต็มรูปแบบแล้ว ไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์มั้ยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท