เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

เขตการค้าเสรีในระบบทวิภาคี


สนธิสัญญาทวิภาคีความล้มเหลวของการเจรจาในกรอบขององค์การการค้าโลก

 หลังจากได้พูดถึงเรื่องของFTA ไปโดยคร่าวๆแล้วนั้น วันนี้ผู้เขียนจะมาขอพูดย้ำในเรื่องดังกล่าวอีกรอบแต่เปลี่ยนประเด็นใหม่ในการมอง

            ข้อตกลงเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี หรือที่เรียกกันว่า "เอฟทีเอ" ซึ่งไทยก็ได้มีการลงนามรับเข้าผูกพันในหลักการดังกล่าวกับหลายประเทศแล้วไม่ว่าจะเป็น  บาร์เรน จีน และอินเดีย และมีแนวโน้มที่จะทำสัญญากับอีกหลายประเทศไม่จะเป็น ญีปุ่น อเมริกา ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศอื่นๆอีก จึงเป็นที่น่าสังเกตุว่ารัฐบาลไทยได้หันเดินหน้าขยายในเรื่องของการค้าออกมาในรูปของทวิภาคี สาเหตุสำคัญมาจากการเปิดเสรีการค้าในระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลก

                             พิจารณาประเด็นความล้มเหลวภายใต้การเจรจาในระบอบองค์การการค้าโลก

                  ความล้มเหลวในการเจรจาขององค์การการค้าโลกเป็นเวทีการค้าในกรอบของพหุภาคีสาระสำคัญอยู่ที่ประเด็นปัญหาการเปิดเสรีทางการเกษตร ที่เน้นเจรจาในเรื่องของการลดการอุดหนุน การส่งออก ลดภาษีศุลกากร แต่เนื่องจากข้อเสนอของประเทศมหาอำนาจมีความแตกต่างกันมาก ส่งผลก่อให้เกิดอุปสรรคอย่างมากในเรื่องของการทำความตกลงร่วมกันในเรี่องต่างๆ

                      จะสังเกตกุได้ว่าการเจรจาในการเปิดเสรีการเกษตรมักจะเป็นปัญหาอุปสรรคและอุปสรรคของการเจรจาในกรอบของพหุภาคี ทั้งนี้เนื่องจากการเกษตรถือเป็นสาขาทางเศรษฐกิจที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ และทุกประเทศต้องการที่จะหวงแหนเอาไว้ให้กับประชาชนในประเทศของตน ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูงทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ส่งผลให้ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญในการเปิดเสรีด้านการเกตษร

                      ประเด็นสำคัญชองผู้ประท้วงได้กล่าวหาว่า การเปิดเสรีทางการค้า ถือเป็นการทำลายโอกาสการสร้างงาน และอาชีพของคนยากจนทั่วโลก เพราะระบบดังกล่าวเป็นระบบที่เน้นระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และต้นทุนต่ำ เพื่อให้ได้มาซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการพัฒนาไปสู่ระบบธุรกิจขนาดใหญ่ หรือ ธุรกิจข้ามชาติ ที่มีการใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย และลดการใช้แรงงาน และธุรกิจประเภทนี้ก็สามารถกลืนกินธุรกิจขนาดกลาง หรือ ขนาดย่อม ให้หายไปจากระบบเศรษฐกิจ ดังเช่นธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กของไทย ได้เลิกกิจการไปกว่า2แสนราย เนื่องจากถูกกลืนกินโดยห้างสรรพสินค้าต่างชาติที่เข้ามาทำธรกิจในประเทศไทยตามข้อตกลงการค้าเสรี ภายใต้สิทธิการประกอบธุรกิจตาม พรบการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และได้รับการขนานนามว่าเป็นกฏหมายขายชาติ

                       นอกจากนั้น ประชากรในประเทศพัฒนายังมีการต่อต้านระบบการค้าเสรีเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกรรมกรในสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวหาว่า ระบบการค้าเสรีนั้นทำให้นายทุน หรือ นักธุรกิจอเมริกันไม่รักประเทศ เพราะการค้าเสรีทำให้ธุรกิจเกิดการไร้พรมแดน ที่ใดๆในโลกก็สามารถประกอบธุรกิจได้ ที่ใดได้เปรียบและมีกำไร ก็จะไปลงทุนที่นั่น จึงเท่ากับเป็นการสร้างงานให้คนชาติอื่นนั่นเอง

                       การเจรจาการเปิดเสรีการค้าในปัจจุบันค่อนข้างจะมีความซับซ้อนมากขึ้น แม้ว่าการเจรจาจะมีเป้าหมายเป็นการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรที่ประเทศคาดหวัง แต่การส่งออกในปัจจุบันยังต้องเผชิญกับมาตรการตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวดจากประเทศผู้นำเข้า

                       ดังนั้นแนวทางการดำเนินงานในเรื่องนี้ รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในการตีความสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศและประชาชนให้มากที่สุด เพื่อมิให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ แม้ว่าการเจรจาขององค์การการค้าโลกจะส่อเค้าให้เห็นความยุ่งยาก แต่การเปิดเสรีการค้าก็ยังมีความเข้มข้นที่จะผสมผสานออกมาในรูปของเขการค้าเสรีในระบบทวิภาคี และเขตการค้าเสรีในระดับภูมิภาคที่ยังคงเดินหน้าของระบบการค้าเสรีต่อไป

 

2.ความคืบหน้าเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคีของไทย

                       จากการที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเปิดการค้าเสรีในระบบทวิภาคีกับคู่ค้าในหลายประเทศ ทั้งที่ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาเขตการค้าเสรีไปแล้ว อาทิเช่น เขตการค้าเสรี

                                 - ไทย-จีน ได้ลงนามวันที่ 18 มิถุนายน 2546 แต่เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546                                                              

                                  - ไทย-ออสเตรเลีย ได้ลงนามวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2548   ... เป็นต้น

                          นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังจะได้มีการทำสัญญาเขตการค้าเสรีกับอีกหลายประเทศ และที่คาดว่าน่าจะมีความเป็นไปได้เร็วๆนี้ ได้แก่

                                  - เขตการค้าเสรี ไทย-ญี่ปุ่น ที่เห็นว่าเรามีความเป็นไปได้สูงมาก ทั้งนี้ญี่ปุ่นได้แถลงนโยบายที่จะเดินหน้าการทำสัญญาข้อตกลงการค้าเสรีในรูปแบบทวิภาคีกับประเทษต่างๆ ในต้นปี2547 และในช่วง 12-16 ธันวาคม 2546 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เดินทางไปทางประเทศญี่ปุ่นเพื่อร่มเจรจาในข้อตกลงการค้าเสรีนี้ด้วย

                                  - เขตการค้าเสรี ไทย-สหรัฐฯ ก็มีความเป็นไปได้สูงเช่นกัน ทั้งนี้สหรัฐอเมริกาได้เสนอขอความเห็นชอบจากสภาคองเกรสในการขออนุมัติให้ฝ่ายบริหารสามารถไปทำสนธิสัญญาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าต่างๆ ซึ่งคาดว่า สภาคองเกรสของสหรัฐฯคงจะผ่านให้ความเห็นชอบและอนุมัติตามข้อเสนอของรัฐบาลสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

หมายเลขบันทึก: 64182เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอขอบคุณอาจารย์เสาวณีย์...

  • เรียนเสนอให้อาจารย์วิเคราะห์ว่า FTA นี่... เมืองไทยจะได้กำไร หรือขาดทุน และเราจะรับมือกับเจ้า FTA อย่างไรดี...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท