ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา


โรงเรียนต้องจัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับปฐมวัย อย่างน้อย 18 มาตรฐาน ตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุม     ในวันที่    23    พฤศจิกายน  2549                          ห้อง  Grand  Ballroom   ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค  เมืองทองธานี  กรุงเทพมหานคร  ในโครงการ สมศ. สัญจร การประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษา  ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2550  ครั้งที่ 2  โดยเป้าหมายของการจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรับรองมาตรฐาน   

ท่านศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์
  ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)  ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า   จากการประเมินภายนอกรอบแรกที่ผ่านมามีข้อค้นพบที่เป็นสาเหตุให้หลายโรงเรียนได้รับผลการประเมินในระดับคุณภาพปรับปรุง  ซึ่งสาเหตุที่ว่านี้พอสรุปได้ว่า
 

-ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่พบส่วนใหญ่อ่อนแอมาก
โรงเรียนไม่จัดทำระบบประกันุคณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง  วิธีการดำเนินการจัดทำประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง  หมายถึง โรงเรียนต้องจัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับปฐมวัย   อย่างน้อย  18  มาตรฐาน  ตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   แต่โรงเรียนกลัวว่าจะไม่ผ่านการประเมินของ  สมศ. จึงเตรียมจัดทำเอกสารไว้เพื่อรองรับการประเมิน  ซึ่งจะประเมิน จำนวน  14  มาตรฐาน   ทำให้ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อ่อนแอ 

-คำว่า มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ต้องสร้างความเข้าใจให้ตรงกันว่าหมายถึง มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   จำนวน  18  มาตรฐาน    ถือว่าเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ  ที่เป็นแนวทางให้โรงเรียนใช้ประเมินตนเอง  ซึ่งโรงเรียนอาจจะกำหนดมาตรฐานที่ 18++(19,20...........)  เพิ่มขึ้นอีกก็ได้ 

-ผู้บริหารโรงเรียน  ให้การสนับสนุนในการบริหารจัดการไม่ถูกต้อง  และมาตรฐานด้านผู้บริหารเองก็ได้ระดับคุณภาพปรับปรุง  โดยเฉพาะด้านวิชาการ  

-มาตรฐานด้านครู   ครูส่วนใหญ่มีคุณวุฒิและมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น   แต่กลับขาดความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   สะท้อนให้เห็นว่า ในการประเมินคุณวุฒิและวิทยฐานะของครูยังประเมินจากเอกสาร หลักฐาน  ที่ครูสร้างขึ้น ไม่ได้ประเมินตามสภาพจริง 

-เรื่องการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง  หรือรายงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี  เป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่ต้องดำเนินการจัดทำทุกปี เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของโรงเรียนในรอบปีที่ผ่านมาให้ผู้เกี่ียวข้องได้ทราบ  ไม่ใช่รายงานเพื่อรอรับการประเมินภายนอก  ดังนั้น  การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง  หรือรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี  จะทำรูปแบบใดก็ได้ที่จะสื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพว่าในรอบปีที่ผ่านมา โรงเรียนทำอะไร  ทำอย่างไร  ทำที่ไหน  ทำกับใคร  เกิดผลอย่างไร  มีอุปสรรคอะไรบ้าง  ซึ่งถ้าโรงเรียนดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามมาตรฐานของ สพฐ จำนวน  18  มาตรฐาน  ก็ต้องรายงานตาม 18  มาตรฐาน  โรงเรียนที่บริหารงานตามโครงการระบบดี  โรงเรียนมีคุณภาพ  ก็รายงานการประเมินตนเองตามแบบนั้น  สมศ.เข้าใจดี  ไม่ต้องรายงานกาประเมินตนเอง ตาม  14  มาตรฐาน ของสมศ. ผู้เขียนมีเจตนาจะสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทุกโรงเรียนที่จะรับการประเมินภายนอกจาก สมศ.  ไม่ว่าจะเป็นรอบใดก็ตาม  ถ้าเราพัฒนาคุณภาพโดยจัดให้เป็นระบบและยั่งยืน จะรับการประเมินรอบใดก็คงไม่ต้องวิตกกังวล   

เป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษา  คือ  การปฏิรูปการเรียนรู้  เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่พึงประสงค์  ซึ่งจะปฏิรูป  6  ด้าน

1.การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.ปฏิรูปหลักสูตร

3.ปรับปรุงการเรียนการสอน

4.การวิจัย

5.การประกันคุณภาพภายใน,ภายนอก

6.เทคโนโลยีทางการศึกษา 

ส่วนการปฏิรูปการบริหารจัดการเป็นตัวเอื้อให้เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ  
หมายเลขบันทึก: 64173เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เคยศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานการประเมินระดับขั้นพื้นฐานมาบ้างครับ
  • ผมว่าหัวใจของQA คือเมื่อถูกประเมินแล้วนำข้อเสนอแนะเหล่านั้นไปขยายผลหรือไม่ครับ (PDCA)

เห็นด้วยค่ะคุณแจ็คข้อเสนอแนะที่ได้รับ หากผู้ถูกประเมินนำไปพัฒนา  จะเกิดประโยชน์ทางคุณภาพมากยิ่งๆขึ้น

ขอบคุณค่ะ ทั้งคุณ Jack และหัวหน้าลำดวน ข้อคิดเห็นของคุณทั้ง 2 นั้นหากโรงเรียนนำไปปกิบัติก็จะบรรลุผลเกิดการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในข้อคิดเห็นของคุณ Jack นั้น ถูกต้อง ส่วนใหญ่โรงเรียนจะใช้ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้ระบบ PDCA แต่ส่วนใหญ่จะดำเนินการในขั้นตอนของ PDC แต่ A นั้นจะไม่ค่อยดำเนินการ คิดว่าสิ่งที่ทำไม่สำเร็จเป็นเรื่องเสียหาย จริง ๆ แล้ว ทุกอย่างจะสำเร็จเหมือนกันไม่ได้เนื่องจากมีปัจจัยต่างกัน โรงเรียนมักจะทิ้งงาน/โครงการ/กิจกรรมใดที่ไม่ประสบผลสำเร็จไปเลยโดยไม้ได้นำมาพิจารณาหาข้อบกพร่องหรือปัญหา เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาให้สำเร็จ แล้วก็คิดงานใหม่ขึ้นมาอีก ซึ่งในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 2 สมศ.กำหนดชัดเจนว่า ต้องนำผลจากการประเมินรอบแรกและข้อเสนอแนะของผู้ประเมินมาพิจารณาดำเนินการพัฒนาก่อนจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมินอิงสถานศึกษา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท