การผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ


      ผักเป็นอาหารที่คนไทยนิยมกันมาก  เนื่องจากให้คุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยขน์ต่อร่างกายสูงแต่ค่านิยมในการบริโภคนั้นมักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงาม  ไม่มีร่องรอยการทำลายของหอน  แมลงศัตรูพืช  จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงในปริมาณที่มาก  ทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่  เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว   การปลูกผักปลอดสารพิษ  โดยการนำเอาวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์รวมกัน  จึงเป็นทางเลือกสำหรับความปลอดภัยของเกษตรกร  ผู้บริโค  และสิ่งแวดล้อม 

 

ปัจจัยที่จำเป็น
แปลงผัก  เมล็ดพันธุ์  อาหารเสริม  กับดักกาวเหนียว  กับดักแสงไฟ  พลาสติกหรือฟางข้าว  โรงเรือนมุ้งตาข่ายไนล่อน
**  หมายเหตุ**  ขึ้นกับวิธีเลือกใช้

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.  การเตรียมแปลงปลูก
     ก่อนการปลูกพืช  ควรปรับสภาพดินให้เหมาะสมก่อน  โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยมีการปลูกพืชผัก  หรือพืชชนิดอื่น  โดยการปล่อยให้น้ำท่วมแปลงแล้วสูบออก  เพื่อเป็นการชะล้างสารเคมี  และกำจัดแมลงต่าง ๆ  ที่อาศัยอยู่ในดิน  จากนั้นจึงไถพรวนหน้าดินตากแดด  เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในดินอีกครั้ง   แล้วจึงทำการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในสภาพที่เป็นกลาง  โดยใช้ปูนขาว  ปูนมาร์ล  หรือแร่โดโลไมท์  ในอัตรา  200 - 300 กก./ไร่  นอกจากนั้นควรเพิ่มความอุดมสมบูณ์ของดินด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์  เช่น  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  ในอัตรา  1,000  - 3,000  กก./ไร่  เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของพืชให้ทนต่อการทำลายของโรคและแมลง

2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ 
-  คัดแยกเมล็พันธุ์ที่เสียออก
-  แช่เมล็ดพันธุ์ในนำอุ่นที่อุณหภูมิ  50 - 55  องศาเซลเซียส  เป็นเวลา  15 - 30  นาที่  เพื่อช่วยลดประมาณเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์  และยังเป็นการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์อีกด้วย
-  ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคราน้ำค้าง  และโรคใบจุด  ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมี  อาทิ  เมทาแล็กซิน  35  เปอร์เซ็นต์  SD  (เอพรอน)  และ  ไอโปรไดโอน (รอฟัล)  อัตรา  10  กรัม/เมล็ดพันธุ์  1  กก.

3.  การปลูกและการดูแล
     การเลือกวิธีปลูก  ระยะเวลาปลูกจะขึ้นกับชนิดของพืชผักที่เลือกปลูก  แต่มีข้อแนะนำคือ  ควรปลูกให้มีระยะห่างพอสมควร  อย่าให้แน่นเกินไป  เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี  เป็นการปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค  นอกจากนี้ควรหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอ

4.  การให้ธาตุอาหารเสริมแก่พืช
     มีความจำเป็นสำหรับพืชบางชนิดเท่านั้นเพื่อสร้างความต้านทานโรคให้แก่พืช  อาทิ  พืชในตระกูลกระหล่ำต้องการธาติโบรอนเพื่อต้านทานโรคส้กลวงดำ  มะขือเทศต้องการธาตุแคลเซียมเพื่อต้านทานโรคผลเน่า

5.  การใช้กับดักกาวเหนียว 
     กับดักชนิดนี้ไม่มีสี  ไม่มีกลิ่น  และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม  ใช้ในการควบคุมปริมาณตัวเต็มวัยของแมลง  ศัตรูพืช  โดยทั่วไปนิยมใช้กาวเหนียวทาบนวัสดุที่มีสีเหลือง  เช่นแผ่นพลาสติก  หรือกระป๋องน้ำมันเครื่อง  ติดตั้งในแปลงผักให้สูงกว่ายอดผักประมาณ  30  ซม.  โดยจะใช้ประมาณ  60 - 80 กับดัก / ไร่

6.  การใช้กับดักแสงไฟ 
     เป็นการใช้แสงไฟจากหลอดฟูลออเรสเซนต์ (หลอดนิออน)  หรือหลอดแบล็คไลท์ล่อแมลงในเวลากลางคืนให้มาเล่นไฟ  และตกลงไปในภ่ชนะที่บรรจุน้ำมันเครื่อง  หรือน้ำที่รองรับผยู่ด้านล่าง  ควรติดตั้งประมาณ  2 จุด / ไร่  โดยติดให้สูงจากพื้นดิน  150  ซม.  และให้ภาชนะรองรับอยู่ห่างจากหลอดไฟ  30  ซม.  และควรปิดส่วนอื่น ๆ ที่จะทำให้แสงสว่างส่องกะจายเป็นวริเวณกว้างเพื่อไม่ให้ล่อแมลงจากที่อื่นเข้ามาในแปลง

7.  การใช้พลาสติกหรือฟางข้าวคลุมแปลงปลูก
     เป็นการควบคุมปริมาณวัชพืชและเก็บรักษาความชื้นในดินไว้ได้นาน  ทำให้ประหยัดน้ำที่ใช้รดแปลงผัก  ควรใช้กับพืชที่มีระยะปลูกแน่นอน  ควรใช้พลาสติกสี เทา-เงิน สำหรับแปลงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสที่มีเพลี้ยอ่อนหรือแมลงเป็นพาหะ

8.  การปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่ายไนล่อน
     พื้นที่ใช้ควรเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกผักได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า  3  ปี  เพื่อคุ้มค่าต่อการสร้างโรงเรือนและการใช้ตาข่ายไนล่อน  โครงสร้างโรงเรือนอาจทำด้วยไม้หรือเหล็กก็ได้  ส่วนตาข่ายที่ใช้จะเป็นตาข่ายไนล่อนสีขาวขนาด  16  ช่องต่อความยาว  1  นิ้ว  วิธีดังกล่าวสามารถป้องกันได้เพียงหนอนผีเสื้อ  และด้วงหมัดผักเท่านั้น  หากต้องการป้องกันแมลงชนิดอื่น ๆ อาทิ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  หนอนแมลงวันชอนใบ  แมลงหวี่ขาว  ไร  ต้องใช้มุ้งไนล่อนความถี่ขนาด  24  หรือ  32  ช่องต่อนิ้ว  แต่อาจมีปัญหาเรื่องอุณหภูมิและความชื้นภายในมุ้ง  ประเภทผักที่เหมาะกับการปลูกในโรงเรือนมุ้งไนล่อน  ได่แก่  คะน้า  ผักกาดขาว  กวางตุ้งฮ่องเต้  ตั้งโอ๋  ปวยเล้ง  ขึ้นฉ่าย  กระหล่ำดอก  บล๊อกโคลี่  ถั่วฝักยาว  มะเขือเปราะ  ถั่วลันเตา

9.  การควบคุมโดยชีววิธี
     เป็นการใช้สิ่งที่มีชีวิตควบคุมศัตรูพืช  ซึ่งได้แก่  แมลงตัวห้ำ  ตัวเบียน  ที่ทำลายแมลงศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ หรืออาจใช้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก  เช่น  เชื้อบักเตรี  เชื้อไวรัส  เชื้อรา  ไส้เดือนฝอย

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรทุ่งใหญ่
หมายเลขบันทึก: 64164เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ง่ายเนอะแต่ขี้เกียจอ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท