งานวิจารณ์หนังสือต่อ (4)


ต่อจาก3 ขอบคุณครับ

          ดังนั้นยุทธศาสตร์เจรจาเปิดเสรีการดำเนินปัญหาความยากจนประเด็นการเข้าถึงยาและสาธารณสุขนั้น  ต้องไม่ให้นำเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา  และการให้บริการสาธารณสุขขึ้นมาเป็นวาระการเจรจาการค้าทวิภาคีเด็ดขาด  เช่นเดียวกับที่สหรัฐฯ  ไม่ยอมให้มีการยกประเด็น  การสนับสนุนภาคเกษตรของสหรัฐฯ  มาเป็นวาระการเจรจาด้วยเหตุผลว่าขณะนี้ประเทศไทยได้ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับยาตามมาตรฐานสากลอยู่แล้ว  ถ้าต้องการเพิ่มการคุ้มครองเป็น  TRIPS PLUS นั้นควรเป็นการเจรจาระดับพหุภาคี  ทั้งนี้เพราะการมีสุขภาพดี  เป็นสิทธิมนุษยชนสากล  จึงจำเป็นต้องมีความรอบคอบในการกำหนดมาตรฐานที่เหมาะสมที่ไม่กระทบต่อการเข้าถึงยา และการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข                              

          ข้อตกลงว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา  หรือทริปส์  ประกอบด้วยมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ประเทศสมาชิกต้องดำเนินการออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ในประเทศและการปฏิบัติในการบังคับใช้จะต้องเท่าเทียมกัน  โดยอาศัยหลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ หมายถึงไม่มีการกีดกันระหว่างบุคคลในชาติและบุคคลต่างชาติของประเทศสมาชิก  รวมทั้งหลักปฏิบัติเยี่ยงคนชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง หมายถึงไม่มีการกีดกันระหว่างชนชาติใด ๆ  ในประเทศสมาชิก               

          การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นการส่งเสริมให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ  และตอบแทนผู้ประดิษฐ์คิดค้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งเชื่อกันว่าการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคมรวมในระยะยาว               

          ในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างมากคือยา และเวชภัณฑ์  ซึ่งแบ่งได้เป็น  2  ประเภท  คือ  สิทธิบัตร  ผลิตภัณฑ์  และสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิตยา               

          ข้อตกลงเรียกร้องของสหรัฐฯ ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยา  จะพบว่าเป็นการเอารัดเอาเปรียบประเทศกำลังพัฒนา  นั่นคือเป็นข้อตกลงที่ได้รับการยอมรับในเวทีโลกและขัดต่อปฏิญญาโคฮา  ว่าด้วยข้อตกลงทริปส์และการสาธารณสุข  โดยมาตรการสำคัญที่สหรัฐเรียกร้อง  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาได้แก่  ให้มีการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรจาก  20  ปี  เป็น  25  ปี  จำกัดการใช้มาตรการยังคับสิทธิและจำกัดการนำเข้าซ้อน               

          ข้อเรียกร้องดังกล่าวส่งผลให้เกิดการผูกขาดยาวนานขึ้น  นอกจากนี้การจำกัดการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิและมาตรการเข้าซ้อน นั้นเป็นการลดอำนาจอธิปไตยของรัฐ  ในการส่งเสริมการแข่งขันและคุ้มครองผู้บริโภค  ดังนั้นการเจรจาต้องมุ่งเน้นการปกป้องและรักษาสิทธิของคนด้อยโอกาสในสังคม  โดยเฉพาะคนเจ็บคนป่วย  คนยากจน ต้องไม่ให้ช่องว่างทางสังคมขยายห่างไปมากกว่านี้  โดยที่จะไม่นำสิทธิของคนไทยในการเข้าถึงยาไปแลกกับสิ่งอื่น       

          ต่อไปก็จะพูดถึง  บทเรียนการทำเอฟทีเอ กับสหรัฐอเมริกา  ที่ผ่านมาฝ่ายสหรัฐฯ  จะยื่นข้อเสนอที่มุ่งเน้นแต่ประโยชน์ของฝ่ายตน  แล้วระหว่างการเจรจาจะค่อยๆถอยซึ่งการถอยมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองของประเทศคู่เจรจา  โดยส่วนใหญ่สหรัฐฯ  จะใช้ตลาดสินค้าเกษตรของตนมาเป็นสิ่งล่อใจเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อบังคับด้านทรัพย์สินทางปัญญา  การลงทุน  และตลาดสนค้าบริการในประเทศเจรจาต่าง ๆ แม้กระทั่งกับออสเตรเลีย สหรัฐฯได้ใช้ตลาดน้ำตาล  มาเป็นตัวล่อโดยการผลักดันจากบริษัทยาเอกชนของสหรัฐฯเอง  ซึ่งในที่สุดสหรัฐฯก็ไม่ได้เปิดตลาดน้ำตาลให้ออสเตรเลียมากขึ้นแต่อย่างใด               

          สหรัฐฯ  ไม่ได้เลิกให้ความสำคัญกับ  WTO  แล้วหันมาทำ  FTA  อย่างเดียวแต่สหรัฐฯ  ใช้นโยบายการค้าในการเจาะตลาด  และเข้าไปผูกขาด ปัจจัยการผลิตของประเทศต่าง ๆ  ในทุกระดับ  ทั้งพหุภาคี ทวิภาคี และระดับภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน  ซึ่งในส่วนของประเทศไทยเองจะต้องมีความรอบคอบในการเจรจาอย่างยิ่ง  การพยายามจบการเจรจาอย่างรวดเร็วเพื่อหวังผลทางจิตวิทยาระยะสั้นอาจนำมาซึ่งผลเสียระยะยาวที่มีการพิสูจน์ให้เห็นแล้วในประเทศต่าง ๆ               

           ต่อไปก็จะขอให้ความเห็นในเรื่องข้อเสนอแนะในการเจรจา         การเจรจาและการจัดทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศไม่ว่าจะต้องแก้กฎหมายภายในประเทศหรือไม่  เป็นเรื่องที่มีความสำคัญในหลายประเทศรวมทั้งประเทศที่ทำเอฟทีเอกับไทยด้วย  เรื่องเหล่านี้จะต้องผ่านรัฐสภาและเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ  ตั้งแต่ก่อนเริ่มการเจรจาเสียด้วยซ้ำ               

          การไม่เปิดเผยรายละเอียดในการเจรจาทั้งที่ทำได้  และหลายประเทศก็ทำให้ดูเป็นตัวอย่างทำให้สังคมและฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถสอบการทำงานของฝ่ายบริหารในประเด็นที่สำคัญนี้ได้เลย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่สามารถประเมินได้ว่าการเจรจาทางการค้าแต่ละครั้งประสบความสำเร็จหรือไม่             

          ซึ่งโดยสรุปในกรณีที่จะมีการจัดทำเอฟทีเอขึ้นควรจะวิเคราะห์ถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการทำเขตการค้าเสรี หรือการเปิดเสรีในระดับอื่นๆ โดยพิจารณาทั้งผลทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม  และควรจัดให้มีกลไกสำหรับประชาชนให้มีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลและแสดงความคิดเห็นได้เพื่อที่จะทำให้ประเทศไทยนั้นไม่เสียผลประโยชน์จากการทำเอฟทีเอ

หมายเลขบันทึก: 64158เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท