งานวิจารณ์หนังสือต่อ(2)


ต่อจาก(1)

          ฉะนั้นการดำเนินการเจรจาจนไปถึงการลงนามนำประเทศไทยเข้าผูกพันในข้อตกลงเอฟทีเอจึงเป็นกระบวนการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน  ซึ่งไม่ใช่อำนาจเด็ดขาด ของฝ่ายบริหารที่จะดำเนินการได้เองโดยลำพัง  ดังนั้นรัฐบาลจะต้องดำเนินการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  และก่อนที่ฝ่ายบริหารจะไปลงนามนำประเทศเข้าผูกพันในข้อตกลงดังกล่าวก็จะต้องเสนอเรื่องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา         

          ดังนั้นจากประเด็นในส่วนนี้มีความเห็นว่า  การทำเขตการค้าเสรีสุดท้ายของเรื่องทั้งหมด  คือการกระทำของรัฐในทางเศรษฐกิจที่ได้กระทำต่อเอกราช  และอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่จะลดลง  ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในเรื่องการลดภาษีให้เหลือศูนย์เปอร์เซ็นต์เท่านั้น  ดังนั้นกระบวนการทำเขตการค้าเสรี  คงถึงเวลาที่ทุกฝ่ายควรจะมาทบทวน  และใช้สติปัญญาไตร่ตรองกัน  ว่ามีทางเลือกที่ดีกว่านี้หรือไม่เช่นการเดินตามแนวทางพหุภาคีนิยม  ซึ่งการทำตามแนวทางทวิภาคีนิยมนี้ถูกต้องเหมาะสมดีแล้วหรือไม่ เพราะอาจจะเกิดผลกระทบในอนาคตได้  ดังนั้นยังไม่สายเกินไปที่สังคมไทยจะต้องพิจารณาใคร่ครวญเรื่องนี้กันใหม่         

          ในส่วนเรื่องการค้าและการลงทุน โดยในลักษณะของกฎระเบียบการลงทุนจะมีอยู่ 3 ลักษณะใหญ่ คือ

1.  กฎระเบียบสำหรับการเข้ามาลงทุนในประเทศ ซึ่งไม่มีประเทศไหนเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้โดยเสรี  โดยจะมีการออกกฎหมายหรือข้อบังคับ เช่น กฎหมายของสหรัฐฯจำกัดการที่ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในกิจการสื่อสารมวลชน สิ่งพิมพ์ และภาพยนตร์ 

2.  กฎระเบียบสำหรับการลงทุนที่ได้เข้ามาในประเทศแล้ว โดยจะบังคับให้การลงทุนอยู่ในรูปของกิจการร่วมเสี่ยงภัย  รวมทั้งการบังคับให้ดำเนินการบางอย่าง เช่น บังคับใช้วัสดุการผลิตที่มีในประเทศ 

 3.  กฎระเบียบเพื่อจูงใจการลงทุน มีลักษณะเป็นการให้สิทธิด้านการลงทุนที่ช่วยลดต้นทุนและลดภาระทางการเงินของนักลงทุน              

          ซึ่งขณะนี้สหรัฐกับไทยกำลังก้าวเข้าสู่เจรจาการจัดทำเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี  ซึ่งหากไทยยอมรับข้อเสนอของสหรัฐฯ  ในเรื่องการลงทุนภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอ  ย่อมหมายถึงไทยยอมเปิดเสรีการลงทุน แก่สหรัฐโดยไม่มีเงื่อนไข  โดยยินยอมลดทอนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการกำกับการลงทุนในทุกสาขา  สิ่งสำคัญที่รัฐบาลไทยจะต้องตระหนักก็คือ  สหรัฐฯที่ไทยต้องการจะทำข้อตกลงเอฟทีเอด้วยนั้นมีความพยายามมาโดยตลอดที่จะสร้างกฎเกณฑ์ให้มีการลงทุนระหว่างประเทศอย่างเสรี  ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ ก็มีท่าทีสนับสนุนสหรัฐฯ ในเรื่องนี้               

          การทำข้อตกลงเอฟทีเอ กับสหรัฐฯ  ที่มีข้อตกลงด้านการลงทุนอาจหมายถึงการที่ไทยต้องยอมเปิดเสรีด้านการลงทุนให้กับทุกประเทศภายใต้ข้อตกลงพหุภาคีด้านการลงทุนที่จะถูกจัดทำขึ้นในอนาคต               

          ซึ่งประเทศไทยไม่มีสิทธิกำกับควบคุมต่างชาติที่เข้ามาลงทุน  ไม่อาจคัดกรองการลงทุนที่มีคุณภาพ  ไม่อาจให้สิทธิพิเศษ  หรือกำหนดมาตรการช่วยเหลือบริษัทหรือผู้ผลิตในประเทศ  ซึ่งรวมถึงเกษตรกร หรือผู้ผลิตรายเล็ก รายน้อยในประเทศอาจต้องเลิกหรือถูกควบกิจการโดยต่างชาติในที่สุด               

          โดยในเรื่องนี้ผู้เขียนได้ให้ความเห็นว่า  การเจรจาเพื่อเปิดเสรีด้านการลงทุนกับสหรัฐฯ  ประเทศไทยควรมีท่าที่ชัดเจนในเรื่องการลงทุน  โดยจะต้องไม่ลดหย่อน  หรือยอมรับกติกา หรือกฎเกณฑ์การลงทุนใด ๆ  เกินเลยไปจากสิ่งที่เป็นอยู่ในสภาพปัจจุบัน มีต่อ.....(3)

หมายเลขบันทึก: 64150เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท