งานวิจารณ์หนังสือ(1)


เอฟทีเอ

งานวิจารณ์หนังสือ 

ชื่อหนังสือ            ข้อตกลงเขตการค้าเสรีผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย

จัดพิมพ์โดย         กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรี  ภาคประชาชน  (FTA  WATCH)   

          สหพันธ์ผู้บริโภคสากล  (Consumer  International)                               

          ฟอร์มเอเชีย  (Forum  Asia)                               

          องค์การหมอไร้พรมแดน-เบลเยี่ยม (MSF – Belgium)      

          ที่เลือกหนังสือเล่มนี้เพราะเห็นว่าการทำเอฟทีเอนั้นไม่ใช้เรื่องที่คิดอยากทำก็ทำแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเทศของเราและประชาชนซึ่งการทำเอฟทีเอจะต้องคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนเพราะผลดีที่เห็นอยู่ตอนนี้ต่อไปอาจจะส่งผลเสียมากกว่าก็ได้

          ดังนั้นการที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้จึงเป็นประโยชน์แก่ตัวเองที่ทำให้รู้ว่าเอฟทีเอที่จริงแล้วไม่ใช้เรื่องของการขึ้น ลงของภาษี หรือการค้าๆ ขายๆ เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการเจรจาที่จะทำเอฟทีเอกับสหรัฐฯนั้นต้องพิจารณาให้รอบคอบ

          การนำเสนอนี้จะขอกล่าวแยกเป็นหลายบันทึก  เนื่องจากว่าถ้ารวมอยู่ในบันทึกเดียวกันเนื้อที่จะไม่พอครับ                           

          ก่อนอื่นมารู้จักกับ เอฟทีเอก่อนว่าคืออะไร เอฟทีเอ หรือข้อตกลงเขตการค้าเสรีนั้น เป็นความตกลงระหว่างประเทศจะเป็น 2 ประเทศหรือมากกว่านั้นก็ได้ (เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน)โดยเอฟทีเอมีวัตถุประสงค์เพื่อจะลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างประเทศคู่สัญญา  นอกจากนี้ยังถือเป็นเครื่องมือทางการค้าที่สำคัญที่ประเทศต่างๆใช้เพื่อขยายโอกาสในการค้า  สร้างสัมพันธมิตรทางเศรษฐกิจ พร้อมๆกับเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันด้านราคาให้แก่สินค้าของตน  เอฟทีเอถือเป็นความตกลงระหว่างประเทศลักษณะหนึ่งที่เน้นในเรื่องการค้า แต่ในปัจจุบันได้ครอบคลุมเรื่องการลงทุนและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างกันด้วย                                              

          แต่การทำเอฟทีเอนั้น  อาจจะไม่ได้ส่งผลดีให้กับประเทศดังที่หลายๆคนคิดไว้ก็ได้เพราะการดำเนินการเพื่อจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีเป็นเรื่องที่ซับซ้อนที่ส่งผลกระทบถึงประเทศและประชาชนด้วย  ซึ่งต่อไปนี้ก็จะขอพูดถึงประเด็นที่สำคัญโดยภาพรวมที่ได้ศึกษาจากหนังสือเล่มนี้                       

          การทำเอฟทีเอหรือข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่ประเทศไทยจะไปลงนามกับประเทศคู่เจรจาใด ๆ  นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอธิปไตยของประเทศย่อมมีความผูกพันต่อรัฐไทยและคนไทยทุกคนในอันที่จะต้องให้ความเคารพ  และปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น ๆ ความผูกพันที่ว่านี้ครอบคลุมองค์กรทางการเมืองภายในรัฐทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารที่จะเข้ามาบริหารในเวลาต่อมา ฝ่ายนิติบัญญัติที่ผูกพันตนเองด้วยการตรากฎหมาย  ความผูกพันตามกฎหมายนี้  แสดงออกจากการที่รัฐไทยในฐานะคู่สัญญาที่ได้ลงนามในข้อตกลงเอฟทีเอ โดยจะต้องนำหลักการที่เขียนไว้ในข้อตกลง  มาปรับใช้ภายในรัฐด้วยการปรับปรุงยกเลิกบรรดากฎหมายที่มีอยู่แต่เดิมซึ่งขัดหรือแย้งไม่สอดคล้องกับข้อตกลงเอฟทีเอก็ดีล้วนแล้วแต่เป็นข้อผูกพันระหว่างประเทศ ที่รัฐไทยจะต้องรับรองเอาข้อตกลงดังกล่าวให้มามีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในและจะต้องดำเนินการในทางนโยบายและกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อตกลงเอฟทีเอ  แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการทำข้อตกลงเอฟทีเอนั้นเป็นการกระทำการในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ส่งผลต่อ อำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ

          ดังนั้นข้อตกลงเอฟทีเอ ไม่ใช่เพียงการลดภาษีสินค้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่เป็นข้อผูกพันแก่รัฐไทย  ซึ่งจะต้องมีหน้าที่กระทำการและหรือยกเว้นกระทำการ  ก่อตั้งสิทธิ  และจำกัดสิทธิของบุคคลภายในรัฐในทางนโยบายและกฎหมายหลายประการ  ซึ่งรัฐไทยจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการในข้อตกลงที่ว่านั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมายก็แต่โดยอาศัยอำนาจในวิธีทางในกฎหมายที่สำคัญ มีต่อ.....(2)

คำสำคัญ (Tags): #วิจารณ์หนังสือ
หมายเลขบันทึก: 64149เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เอฟทีเอ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
  • เชื่อมโยงกับแนวคิดการเปิดตลาดเสรี
  • เดี๋ยวจะทยอยอ่านทำความเข้าใจค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท