การไม่แสดงอาการตอบสนองอย่างเหมาะสมและถูกกาละเทศะ คือความโหดร้ายที่เรามอบให้กันใน gotoknow


ความคาดหวังที่สูงเกินไป ย่อมทำให้มองสิ่งที่เป็นปกติ ปิดไปจากความเป็นจริง
ทุกคนต้องการ การตอบสนอง หรือ Feedback ทั้งในชีวิตจริง หรือจากบันทึกใน gotoknow

เคยมีประเด็นที่มีหลายท่านตั้งคำถามไว้ ทำไมคนเขียนบันทึกหลายคนใน gotoknow จึงเขียนบันทึกน้อยลง บางคนที่เข้ามาเขียน – อ่านบันทึกแล้ว จู่ๆก็ห่างหายไป

บางท่านเมื่อเริ่มต้น เข้ามาเขียนบันทึกอย่างกระตือรือร้น แต่ feedback ที่ได้รับ กลับทำลายความตั้งใจแรกเริ่ม ทำให้ความตั้งใจที่จะเขียนบันทึกใน gotoknow อย่างต่อเนื่อง หรือการติดตามอ่านอย่างต่อเนื่อง

หายไป

มีบันทึกชิ้นหนึ่ง กล่าวว่า
คุณลองแสดงอาการเพิกเฉยต่อเด็กอายุสามขวบดู ตอนแรกเขาจะเรียกน้อยความสนใจในลักษณะเชิงบวกก่อน แต่ถ้าเขายังคงถูกเพิกเฉยต่อไป ในไม่ช้า คุณจะได้ยินเสียงกรีดร้องหรือร้องไห้งอแง ทั้งนี้เพราะการตอบสนองใดๆ แม้จะเป็นการตอบสนองในเชิงลบ ก็ยังดีกว่า ไม่มีการตอบสนองเลย

บางคนคิดว่า หลักการนี้ใช้ได้กับเด็กเท่านั้น  แต่ที่จริงแล้วหลับมาผลต่อผู้ใหญ่มากกว่าเสียอีก รูปแบบของการทำโทษในคุกที่โหดร้ายที่สุดคือ การแยกขังเดี่ยว นักโทษส่วนใหญ่จะทำทุกอย่างแม้แต่การปรับปรุงพฤติกรรมของตัวเองชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการตกอยู่ในสภาพที่แทบจะไมได้รับการตอบสนองหรือไม่มีเลย”

อาจจะกล่าวได้ว่า มิตรภาพและความผูกพันที่เพิ่มขึ้น มากขึ้น ทำให้แต่ละคนเกิดความคาดหวังที่เพิ่มสูงขึ้น เกิดความปรารถนาที่แตกต่างกันไป

หากไม่สามารถที่จะตอบสนองความคาดหวังที่แตกต่างกันนั้นได้ สองฝ่ายย่อมเกิดรอยด่างในมิตรภาพ

หากค้นพบและแก้ไขรอยด่างได้อย่างรวดเร็ว มิตรภาพนั้น จะแน่นแฟ้นยิ่งกว่าดิม

หากยังค้นไม่พบ ความเหินห่าง เย็นชา จะเข้ามากัดกร่อนสิ่งเหล่านั้น

ความเป็นจริงในปัจจุบัน แต่ละคนต่างมีภาระหน้าที่ที่จะต้องทำมากมายแตกต่างกันไป มีหลายอย่างที่ต้องทำ เราจึงต้องเลือกสิ่งที่สำคัญที่สุด มาทำก่อน สิ่งที่สำคัญรองลงมา รอไว้ก่อน,

ต่างคนต่างมีเหตุผล เข้าข้างตนเองทั้งนั้น

ยกตัวอย่าง ครูอ้อยกับนายบอน (เอาอีกแล้ว)

ช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนหน้า feedback ระหว่างครูอ้อยกับนายบอนนั้น สูงมาก... จนถึงมากผิดปกติ
แต่ในสัปดาห์นี้ แทบจะไม่มีเลย

เหตุผลใดนะที่..นายบอน...เขียนบันทึกถึงครูอ้อยบ่อยมาก

แปลกแต่จริงที่..หายไปแล้ว..คิดถึง



นายบอนเข้าไปนั่งอ่านความเห็นในบันทึกต่างๆ สัมผัสถึงความคาดหวังที่สูงขึ้น ตามความเติบโตของมิตรภาพ
ดูแล้ว ยิ้มๆ

ล่าสุด วันนี้ ก็เอาอีกแล้ว 1 วันทึกของครูอ้อย

ช่วงนี้นายบอนไม่ชก 5555 มีเวลาน้อยนะครับ

ครูอ้อยอาจจะใช้ความคาดหวังที่สูงขึ้น มาทำร้ายตัวเองโดยไม่รู้ตัว

เมื่อช่วงนี้ นายบอนมีเวลาว่างน้อยกว่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา  เมื่อนายบอนใช้เวลาที่มีอยู่ทำในสิ่งที่สามารถทำได้ในเวลาที่มีนั้น

feedback ของนายบอนถึงครูอ้อยที่ลดลง อาจจะักลับไปทำร้ายครูอ้อยโดยไม่รู้ตัว

อะไรกันวะเนี่ย.....

นั่งอ่านบันทึกครูอ้อยหลายบันทึกในช่วงนี้ ความจริงแล้ว ก็คงเป็นความคาดหวังที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเลยจุดสมดุล
เมื่อสิ่งที่เกินสมดุล ย่อมทำให้เกิดความโน้มเอียง ตาชั่งที่เคยเที่ยงตรง มันก็ต้องเอียง

น้ำในแม่น้ำที่พอดี ชาวบ้านใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข แต่พอหน้าแล้ง หรือ น้ำเอ่อท่วม เนื่องจากจาดสมดุล  ความสุขหายไป เดือดร้อนกันไปถ้วนหน้า

ในบันทึกของครูอ้อยนั้น มี feedback หลากหลาย เมื่อมีคนอ่านมากขึ้น คนรู้จัก ยกย่อง ยอมรับ ประทับใจเพิ่มขึ้น คนอ่านเพิ่ม ความเห็นเข้ามามากขึ้น

การดูแลเอาใจใส่ ตอบสนองต่อ feedback ก็ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น ซึ่งครูอ้อยสามารถทำได้อยู่แล้ว

เมื่อคิดเร็ว สมองไว จึงสามารถมี feedback ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา


ความคาดหวังที่สูงเกินไป ย่อมทำให้มองสิ่งที่เป็นปกติ ปิดไปจากความเป็นจริง

ความคาดหวังที่สูง ความคิดที่ไวของฝ่ายหนึ่ง ในขณะที่อีกฝ่าย ยังไม่ได้ทำอะไรอย่างที่ฝ่ายแรกคิดไว้ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดโดยไม่รู้ตัว

เพราะคิดไปเอง......

เมื่อมีความรัก เกิดมิตรภาพ ก็ย่อมที่จะต้องเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล

เมื่อมองให้ไกลอีกนิด การที่นายบอนไม่ยอมบอกว่า 3 ธ.ค.2549  นี้ ที่นายบอนจะไปร่วมงานแต่งงานที่จัดใกล้บ้านครูอ้อย

จัดตรงไหน

แต่บอกครูอ้อยว่า ยังไม่ต้องโผล่มาพบกันก็ได้ เพราะจะอยู่กับเพื่อนๆ ท่าไมได้เจอกันมานานหลายปี

เพราะมองไกลถึง ความคาดหวังที่สูงลิ่วของครูอ้อยที่สะท้อนผ่านบันทึก มุมมองต่างๆ
ความคาดหวังที่สูง ย่อมทำให้ต้องการการตอบสนองที่มากกว่าปกติ

หากครูอ้อยมาพบนายบอนในวันที่ 3 ครูอ้อยจะมีความคาดหวังส่วนตัวในระดับหนึ่ง แต่เมื่อได้รับการตอบสนองจากนายบอน อาจจะรู้สึกผิดหวังมากขึ้น

ในเวลาที่นายบอนเข้า กทม. ซึ่งไม่ได้เข้า กทม.บ่อยมากนัก เข้าไปแล้ว จะต้องไปทำธุระที่ต่างๆ จึงมีเวลาที่จะอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่ง ได้ไม่นานนัก

ถ้าไม่เข้าใจในความแตกต่าง ครูอ้อยย่อมไม่พอใจแน่

”การตอบสนองอย่างเหมาะสมและถูกกาละเทศะ และไม่ทำร้ายตัวเอง และบุคคลอื่น ถ้ามองด้วยหลักการสร้างแรงจูงใจ ย่อมจะต้องคอยติดตามสิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุด้วยผล ที่เหนืออารมณ์ชั่ววูบ หลายคนย่อมต้องการการตอบสนองที่แท้จริง และจริงใจและให้การตอบสนองที่เป็นข้อเท็จจริงกลับไปสู่อีกฝ่ายหนึ่ง”

นี่เป็นข้อสังเกตที่ได้จากครูอ้อยในมุมมองที่ฉีกออกมาจาก 2  feedback ที่ได้รับจากครูอ้อย ที่แตกต่างกันในรอบ 14 วันนะครับ



)))))))))))))))))))))))



หมายเลขบันทึก: 64104เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
มองต่างมุมนะคุณบอน.. แค่ครูอ้อยเอ็นดู... ถ้าทำให้คุณบอนหงุดหงิด..ก็ขออภัย
เวลาแม่ครัวทำอาหารเมนูเดียวกันมากเกินไป คนทานก็เพียงแค่บอกว่า เมนูนี้เริ่มไม่อร่อยแล้วนะ เพราะแม่ครัวคิดว่า เมนูโปรดนี้ คือ เมนูโปรดของคนทาน ทำยังไงก็ชอบ เลยเสิร์ฟอย่างเต็มที่

แต่คนเราก็ควรต้องรับประทานให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้คุณค่าสารอาหารที่ครบถ้วน

แม่ครัว ทำอาหารให้ทาน เพราะความหวังดี ส่วนคนทานก็บอกว่า ขอเมนูใหม่ๆบ้างได้ไหม หากทำแต่เมนูเดียวกันให้ทานไปเรื่อยๆแบบนี้ สักวันก็จะพะอืดพะอม แต่ก็กลัวจะเสียน้ำใจ เลยต้องพะอืดพะอมต่อไป

แม่ครัวไม่พอใจ อุตส่าห์ทำให้ทาน เสิร์ฟอย่างดีแล้ว มาว่ายังงี้ได้งัย

แต่คนทานก็ไม่อยากให้เกิดความรู้สึกพะอืดพะอมในอนาคต เลยบอกไว้ก่อน ก่อนที่จะถึงวันนั้น.... วันที่แสดงสีหน้าที่เบื่ออาหารสุดโปรดอย่างเต็มกลืน

เพราะไม่อยากให้มีวันนั้น..... 
เข้ามาอ่าน และทำประโยชนค่ะ ช่วยตรวจคำผิดให้ หน้าแล้ว= หน้าแล้ง (บรรทัดที่ 49 ค่ะ)
ขอบคุณครับพี่เมตตา แก้ไขแล้ว และขีดเส้นใต้จุดที่แก้ไขแล้วครับ

โห นับบรรทัดให้อีกต่างหาก นับถือๆๆๆๆ
  • แวะเข้ามาอ่าน
  • และช่วงเย็นจะอ่านบันทึกของแต่ละวันก่อนจะกลับบ้าน "เลือกดูเฉพาะบันทึกที่หัวข้อดูแล้วมีประโยชน์จึงจะคลิ๊กเข้าไป" และจะแสดงความคิดเป็นให้กำลังใจ ลปรร. บ้าง กับผู้เขียน
ตอนนับก็ตาลาย นะคะคุณบอน ตั้งใจอ่านค่ะ...ให้ความเห็นไม่ออก....มาเป็นคนตรวจคำผิดก็ยังดี...ค่ะ
คุณแจ็คครับ
  ยังไงก็ต้องขอบคุณครับที่มองเห็นว่า บันทึกแบบนี้ ยังมีประโยชน์พอจะเข้าตาอยู่บ้าง

พี่เมตตาครับ

   บันทึกแบบนายบอน ยากในการให้ความเห็นนะครับ แต่พี่เมตตาก็ยังหาวิธีในการเขียนความเห็นจนได้สิ :))))
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท