จุดคานงัดของการปฏิรูปการศึกษา: การปฏิรูปการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (บทสรุป)



การปฏิรูปการศึกษาโดยใช้การปฏิรูปการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นจุดคานงัด เป็นการปฏิรูปเชิงนโยบาย ปฏิรูปการทำงานโดยไม่ต้องคอยการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง น่าจะใช้เวลาเตรียมการประมาณหนึ่งปี เป็นช่วงเวลาเพื่อการสื่อสารเผยแพร่แนวคิดว่า การสอบจะใช้หลักการทดสอบการใช้ความรู้ในสถานการณ์เสมือนจริงเช่นเดียวกับการสอบ PISA ในทุกวิชา และเป็นช่วงเวลาเตรียมการออกข้อสอบ ซึ่งอาจารย์ (จำนวนมาก) จากมหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการ และมีการสื่อสารเผยแพร่ผลการดำเนินงานรวมทั้งตัวอย่างข้อสอบเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเริ่มใช้งานจริง คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสองทางดังภาพ คือ ทางหนึ่งในระดับมหาวิทยาลัย (เนื่องจากอาจารย์มหาวิทยาลัยมีส่วนเกี่ยวข้องจากการลงมือทำจึงเข้าใจดี บวกกับนโยบายของมหาวิทยาลัย)  จาก (1) ไป (2a), (3a), (4a), (5a) และ (6a) ตามลำดับ อีกทางหนึ่งในระดับโรงเรียน จาก (1) ไป (2b), (3b), (4b), (5b), (6b), (7b), (8b), (9b), จนถึง (10b)

หมายเหตุ - การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นก่อนคือ โรงเรียนกวดวิชาเพราะปรับตัวได้เร็ว เมื่อครูปรับเปลี่ยนบทบาทได้ (บริบทใหม่เอื้อให้เปลี่ยน) ความสำคัญของโรงเรียนกวดวิชาจะลดลงเป็นลำดับ (นักเรียนรู้ดีว่า เอาเวลาไปทำอย่างอื่นสนุกกว่า)

อำนาจ ศรีรัตนบัลล์

10 พ.ย. 2560

หมายเลขบันทึก: 641016เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2017 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2021 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท