เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

วิจารณ์พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520 (ครั้งที่6)


หลักการปรับใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับปัจจุบัน

                                            ประเด็นที่ 6

                สรุปภาพรวมของการปรับใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมลงทุน ปี 2520                       เนื่องมาจากสภาวการณ์ในโลกเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพื่อให้ไทยทันกับแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงไปของโลกทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และกระแสการลงทุนของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดร็ว  อีกทั้งเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยที่บีโอไออาจต้องมีมาตรการเข้าไปช่วยเหลือผู้ผลิตคนไทยด้วย ซึ่งปัจจุบันในยอดส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอเป็นการส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติร้อยละ 70 นักลงทุนไทยร้อยละ 30 ซึ่งบีโอไอจะเพิ่มสัดส่วนการส่งเสริมการลงทุนให้นักลงทุนไทยมากขึ้นเป็นต่างชาติร้อยละ 60 คนไทยร้อละ 40 และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 50 ในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยอยู่บนพื้นฐานว่าเศรษฐกิจต้องเติบโตอย่างต่อเนื่อง[1]    

                      ทั้งนี้เมื่อพิจาณาในส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนในปัจจุบันแล้วพบว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้มีส่วนที่บกพร่องอยู่หลายส่วนด้วยกันไม่ว่าจะเป็นกรณีส่วนของคำนิยามที่มีลักษณะไม่ชัดเจนทำให้ไม่ครอบคลุมการลงทุนไทยในต่างประเทศ คำว่าการลงทุนก็ไม่มีนิยามไว้ชัดเจนทำให้เกิดเป็นปัญหาในทางปฎิบัติของผู้ที่เข้ามาลงทุน และนี้คือหนึ่งในปัญหาต่างๆที่ได้ระบุไว้ในข้างต้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้มีการแก้ไขและปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับนี้ถึง 2 ครั้งคือ พ.ศ 2534 และพ.ศ. 2544 แต่ก็เป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อยนั้น จึงควรที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก      

                        ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าบทบัญญัติที่ควรได้รับการทบทวนมีดังต่อไปนี้คือ   

                     -สิทธิประโยชน์ที่มีความไม่ชัดเจนในทางปฎิบัติ ได้แก่ มาตรา 33 และมาตรา 35 (3)    

                         - บทบัญญัติที่นักลงทุนไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ได้แก่ มาตรา 37    

                          - มาตรา 17 ควรปรับปรุงควรปรับปรุงให้มีการส่งเสริมการลงทุนแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดและSMEsด้วย  

                         -มาตรา 17 กฎหมายออกมาก่อนการเปิดการค้าเสรี 

                          และจากปัญหาดังกล่าวที่เกิดจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับปัจจุบันทำให้หลายๆฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาตรงจุดนี้ ส่งผลให้หลายหน่วยงานร่วมมือกันกันแก้ปัญหา โดยจะเห็นได้จากการการจัดทำโครงการการศึกษาเพื่อจัดทำมาตรการกฎหมายใหม่สำหรับการส่งเสริมการลงทุน โดยเสนอให้สำงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจาณา และการปรากฎความพยายามผ่านสื่อต่างๆที่ออกมา เช่นข่าว กรณีที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อนุมัติ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการแก้ไข พ.ร.บ.ที่มีนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน ทั้งนี้โดยทั้งนี้เพื่อต้องการยกระดับการลงทุนให้เท่ากับประเทศเพื่อนบ้านโดยการที่ยกเว้นภาษีสรรพสามิตนำเข้าเครื่องจักร การยกเลิกการจำกัดวงเงินการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมไปถึงการจูงใจให้นักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศด้วย[2]เป็นต้น

            
 และนี้ก็ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความพยายามที่จะให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนในปัจจุบันให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันให้มากที่สุด แม้ว่าขณะนี้นั้นยังไม่ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับปัจจุบัน แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยหลายอย่างประกอบกันก็จะเห็นว่าอีกไม่นานจะมีการผลักดันให้มีการแก้ไขอย่างเป็นรูปเป็นร่างได้แน่นอน 




[1] หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ธบับวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 49
[2] หนังสือพิมพ์ผู้จัดการฉบับวันที่  20 กันยายน 2549
หมายเลขบันทึก: 63993เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วครับ ละเอียดดีนะ มุมมองน่าสนใจ

อยากให้มีการส่งเสริมการลงทุนมากกว่านี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท