พระคาถาชินบัญชร : ฉบับภาษาอ่าน


ในช่วงกว่า 3 เดือนที่ผ่านมานี้ "เรา" สองแม่ลูกได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกันอย่างมาก ๆ ได้มีโอกาสได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมการ "สวดมนต์"

แม่ของผมเองท่านเป็นคนที่ทำบุญตักรบาตรเป็นประจำอยู่ทุก ๆ วัน ซึ่งตอนช่วงที่ผมกลับมาอยู่บ้านนี้เองแม่ของผมก็ได้เริ่มปฏิบัติกิจโดยการสวดมนต์เพิ่มขึ้นโดยผมเองได้พิมพ์บทสวดพระคาถา "ชินบัญชร" ให้กับท่านเพื่อให้ท่านได้สวดในเวลาที่ต้องการ

แต่ปัญหาเบื้องต้นอยู่ที่พระคาถาที่ผมพิมพ์ให้กับแม่นั้นถึงแม้ว่าจะทำตัวอักษรตัวใหญ่แล้ว แต่ภาษาที่ใช้เขียนพระคาถานั้นค่อนข้างจะอ่านยากสำหรับแม่ของผมครับ เนื่องจากมีตัวแปลก ๆ ค่อนข้างมาก อาทิเช่น ฐ ฎ ฑ เป็นต้น ซึ่งหลาย ๆ ครั้งแม่ของผมต้องถามผมอยู่บ่อย ๆ ว่าตัวนี้แม่อ่านถูกไหม ตัวนี้อ่านอย่างไร ซึ่งแม่ผมเองก็พยายามที่จะอ่านให้ถูกต้องทุกคำและท่องจำให้ได้ครับ

ด้วยเหตุนี้เอง หลายวันที่ผ่านมาผมก็พยายามที่จะหาทางแก้ไขภาษาที่อ่านยากเหล่านี้ ซึ่งวันนี้ก็มีโอกาสที่จะปรับปรุงคู่มือการสวดมนต์ที่เคยทำให้แม่ไว้ ทำขึ้นมาเป็นคู่มือฉบับใหม่ "ฉบับภาษาอ่าน" ครับ

ซึ่งวันนี้ผมพยายามตรวจสอบภาษาอ่านพระคาถาชินบัญชรจากหลาย ๆ แหล่ง ได้แก่ หนังสือสวดมนต์ CD บทสวดพระคาถาชินบัญชร ทั้งที่เป็นเสียงการสวดมนต์ของพระ และ CD ที่เป็นเสียงของพระในการท่องพระคาถานี้แบบภาษาพูด รวมถึงเพลงชินบัญชร เพื่อตรวจสอบสำเนียงการออกเสียง โดยได้รับมาจากผู้มีพระคุณจากเวปไซต์ www.cddhamma.com ซึ่งจะนำไปจัดทำบทสวดพระคาถาชินบัญชร ฉบับภาษาอ่านให้สมบูรณ์ที่สุดครับ

และในโอกาสนี้เอง เมื่อลงมือทำพระคาถาฯ ฉบับภาษาอ่านให้แม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมก็ขออนุญาตนำพระคาถาฯ ฉบับภาษาอ่านนี้มาฝากให้กับทุก ๆ ท่านใน Gotoknow แห่งนี้ด้วยครับ


พระคาถาชินบัญชร

(ฉบับภาษาอ่าน)

 

ก่อนที่เจริญภาวนาให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี ด้วยคำว่า

ปุต – ตะ – กา – โม – ละ – เภ – ปุต – ตัง    ทะ – นะ – กา – โม – ละ – เภ – ทะ – นัง  

อัต – ถิ – กา – เย – กา – ยะ – ยา – ยะ     เท – วา – นัง – ปิ – ยะ – ตัง – สุต – ตะ – วา

อิ – ติ – ปิ – โส – ภะ – คะ – วา    ยะ – มะ – รา – ชา – โน     ท้าว – เวส – สุ – วัณ – โน

มอ – ระ – ณัง – สุ – ขัง    อะ – ระ – หัง – สุ – คะ – โต        นะ – โม – พุท – ธา – ยะ

 

ชะ – ยา – สะ – นา – กะ – ตา – พุท – ธา      เชต – ตะ – วา – มา – รัง – สะ – วา – หะ – นัง

จะ – ตุ – สัจ – จา – สะ – ภัง – ระ – สัง       เย – ปิ – วิง – สุ – นะ – รา – สะ – ภา

ตัณ – หัง – กะ – รา – ทะ – โย – พุท – ธา     อัต – ถะ – วี – สะ – ติ – นา – ยะ – กา

สัพ – เพ – ปะ – ติต – ถิ – ตา – มัย – หัง      มัต – ถะ – เก – เต – มุ – นิส – สะ – รา 

สี – เส – ปะ – ติต – ถิ – โต – มัย – หัง   พุท – โธ – ธัม – โม – ทะ – วิ – โล – จะ – เน

สัง – โฆ – ปะ – ติต – ฐิ – โต – มัย – หัง    อุ – เร – สัพ – พะ – คุ – ณา – กะ – โร   

หะ – ทะ – เย – เม – อะ – นุ – รุด – โท   สา – รี – ปุต – โต – จะ – ทัก – ขิ – เณ  

โกณ – ทัน – โย – ปิต – ถิ – ภา – คัส – สะ – หมิง  โมค – คัล – ลา – โน – จะ – วา – มะ – เก

ทัก – ขิ – เณ – สะ – วะ – เน – มัย – หัง   อา – สุง – อา – นัน – ทะ – รา – หุ – ลา

กัส – สะ – โป – จะ – มะ – หา – นา – โม    อุ – ภา – สุง – วา – มะ – โส – ตะ - เก

เก – สะ – โต – ปิต – ถิ – ภา – คัส – สะ - หมิง   สุ – ริ – โย – วะ – ปะ – ภัง – กะ – โร 

นิ – สิน – โน – สิ – ริ – สัม – ปัน – โน    โส – ภิ – โต – มุ – นิ – ปุง – คะ – โว 

กุ – มา – ระ – กัส – สะ – โป – เถ – โร   มะ – เห – สี – จิต – ตะ – วา – ทะ – โก

โส – มัย – หัง – วะ – ทะ – เน – นิจ - จัง   ปะ – ติต – ถา – สิ – คุ – ณา – กะ – โร

ปุณ – โณ – อัง – คุ – ลิ – มา – โล – จะ   อุ – ปา – ลี – นัน – ทะ – สี – วะ – ลี

เถร – รา – ปัญ – จะ – อิ – เม – ชา – ตา      นะ – ลา – เต -  ติ – ละ – กา – มะ – มะ  

เส – สา – สี – ติ – มะ – หา – เถ – รา     วิ – ชิ – ตา – ชิ – นะ – สา – วะ – กา

เอ – เต – สี – ติ – มะ –หา – เถ – รา      ชิ – นะ – วัน – โต – ชิ – โน – ระ – สา

ชะ – ลัน – ตา – สี – ละ – เต – เช - นะ     อัง – คะ – มัง – เค – สุ – สัน – ฐิ – ตา 

ระ – ตะ – นัง – ปุ – ระ – โต – อา – สิ      ทัก – ขิ – เน – เมต – ตะ – สุต – ตะ – กัง

ธะ – ชัค – คัง – ปัจ –ฉะ – โต – อา – สิ       วา – เม – อัง – คุ – ลิ – มา – ละ – กัง

ขัน – ธะ – โม – ระ – ปะ – ริต – ตัญ - จะ     อา – ตา – นา – ติ – ยะ – สุต – ตะ – กัง

อา – กา – เส – ฉะ – ทะ – นัง – อา – สิ      เส – สา – ปา – กา – ระ – สัน – ถิ – ตา

ชิ – นา – นา – นา – พระ – ระ – สัง – ยุต - ตา    สัต – ตัป – ปา – กา – ระ – ลัง – กะ - ตา

วา – ตะ – ปิต – ตา – ทิ – สัน – ชา – ตา   พา – หิ – รัช –ฉัต – ตุ – ปัท – ทะ – วา

อะ – เส – สา – วิ – นะ – ยัง – ยัน - ตุ     อะ – นัน – ตะ – ชิ – นะ – เต – ชะ - สา

วะ – สะ – โต – เม – สะ – กิจ – เจ - นะ     สะ – ทา – สัม – พุท – ธะ – ปัญ – ชะ – เร 

ชิ – นะ – ปัญ – ชะ – ระ – มัด – ชำ – หิ     วิ –หะ – รัน – ตัง – มะ – ฮี – ตะ – เล

สะ – ทา – ปา – เลน – ตุ  – มัง – สัพ – เพ     เต – มะ – หา – ปุ – ริ – สา – สะ – ภา 

อิจ – เจ – วะ – มัน – โต – สุ – คุต – โต – สุ – รัก - โข 

ชิ – นา – นุ – ภา – เว – นะ – ชิ – ตู – ปัท – ทะ – โว 

ธัม – มา – นุ – ภา – เว – นะ – ชิ – ตา – ริ – สัง – โค  

สัง – ฆา – นุ – ภา – เว – นะ – ชิ – ตัน – ตะ – รา – โย   

สัท – ธัม – มา – นุ – ภา – วะ – ปา – ลิ – โต    

จะ – รา – มิ – ชิ – นะ – ปัญ – ชะ – เร – ติ ฯ   

(ชิ - นะ - ปัญ - ชะ - ระ - คา - ถา   นิต - ถิ - ตา)



ขออนุญาตฝากพระคาถาฉบับจริงให้กับทุก ๆ ท่านไว้ด้วยนะครับ

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต       นะโมพุทธายะ

ชะยาสะนากะตา พุทธา     เชตตะวา มารัง สะวาหะนัง

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง        เย ปิวิงสุ นะราสะภา

ตัณหังกะราทะโย พุทธา    อัฏฐะวีสะติ นายะกา

สัพเพ ปิติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเก เต มุนิสสะรา

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร 

 

หะทะเย เม อะนุรุทโธ            สารีปุตโต จะทักขิเณ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง    โมคคัลลาโน จะ วามะเก

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง           อาสุง อานันทะราหุลา

กัสสะโป จะ มะหานาโม         อุภาสุง วามะโสตะเก

เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง            สุริโยวะ ปะภังกะโร

นิสินโน สิริสัมปันโน               โสภิโต มุนิปุงคะโว


กุมาระกัสสะโป เถโร               มะเหสี จิตตะวาทะโก

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง         ปะติฏฐาสิ คุณากะโร

ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ            อุปาลีนันทะสีวะลี

เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา            นะลาเฏ ติละกา มะมะ

 

เสสาสีติ มะหาเถรา                  วิชิตา ชินะสาวะกา

เอเตสีติ มะหาเถรา                   ชินะวันโต ชิโนระสา

ชะลันตา สีละเตเชนะ                อังคะมังเคสุสันฐิตา

ระตะนัง ปุระโต อาสิ                 ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ             วาเม อังคุลิมาละกัง


ขันธะโมระปะริตตัญจะ               อาฏานาฏิยะสุตตะกัง

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ               เสสา ปาการะสัณฐิตา

ชินานาณาพระระสังยุตตา          สัตตัปปาการะลังกะตา

วาตะปิตตาทิสัญชาตา                พาหิรัชฉัตตุปัททะวา

อะเสสา วินะยัง ยันตุ                  อะนันตะชินะเตชะสา

วะสะโต เม สะกิจเจนะ                สะทา สัมพุทธะปัญชะเร

ชินะปัญชะรามัชฉัมหิ                  วิหะรันตัง มะฮีตะเล

สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ           เต มะหาปุริสาสะภา

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข    ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว

ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค         สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต               จะรามิ ชินะปัญชะเรติฯ

(ชินะปัญชะระคาถา นิฏฐิตา)


พระคาถาชินบัญชรฉบับภาษาอ่านนี้ เป็นสิ่งที่ผมจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์กับคุณแม่ของผมเองครับ ซึ่งถ้าผิดพลาดประการใด ไม่ถูกตามหลักการ หรือประเพณีนิยมอย่างไรก็ต้องขออภัยอย่างสูงมา ณ ที่นี่ด้วยครับ

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

 

หมายเลขบันทึก: 63992เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
ขอบคุณมากค่ะจะขอนำไปให้แม่บ้างค่ะ
ยอดเยี่ยมมากครับ ขอบคุณครับ
อานุภาพแห่งพระคาถา

                ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถาชินบัญชร เป็นประจำอยู่เสมอ จะเกิดความเป็นสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ากล้ำกราย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวีขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า ฝอยท่วมหลังช้าง จะเดินทางไปที่ใดๆ สวด ๑๐ จบแล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ

 
  • สวัสดีครับคุณลำดวน
  • ยินดีมาก ๆ เลยครับที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ครับ
  • ผมลองให้แม่อ่านและสวดแล้วครับ ท่านบอกว่าอ่านได้ง่ายและถูกขึ้นมากขึ้นกว่าเดิมเยอะเลยครับ
  • ขอขอบพระคุณอย่างสูงที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนครับ
  • สวัสดีครับคุณบอน
  • ขอบพระคุณสำหรับคำชมและการเข้ามาเยี่ยมเยียนครับ
  • สวัสดีครับน้องวิทยา
  • เป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เลยครับที่นำอานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชรมาเติมเต็มครับ
  • ตอนนี้พี่เองก็กำลังจะถอดเทปคำแปลของพระคาถาชินบัญชรนี้ครับ ถ้าได้อย่างไรแล้วจะนำมาต่อยอดอีกครั้งหนึ่งครับ

มาชื่นชมความน่ารักและเอาใจใส่คุณแม่ของอาจารย์ค่ะ

ประเด็นที่ขอร่วมแสดงความเห็นคือ การที่จัดทำฉบับอ่านง่ายเพื่อคุณแม่ และอาจารย์ได้ตรวจสอบ ทบทวนเสียงให้ถูกต้องนั้นค่ะ

มีส่วนที่ขอเรียนให้อาจารย์ลองหาหนังสือ ของพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) เรื่อง พระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้ The Pali Canon: What a Buddhist Must Know

มีรายละเอียดที่ควรอ่านเพื่อทำความเข้าใจ ดิฉันคิดว่าเรื่องการจัดทำบทสวดต่างๆนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนค่ะ  

เสนอให้อาจารย์ลองอ่านดูก่อนค่ะ

ต้องบอกใหม่ค่ะ  นอกจากนำไปฝากแม่แล้วตัวเองก็นำไปใช้ด้วย ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์จันทรรัตน์
  • ต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงเลยครับ
  • เพราะตอนที่ผมทำบันทึกนี้ก็หวั่นวิตกในเรื่องที่ละเอียดอ่อนนี้มากเลยครับ
  • ขอบพระคุณอาจารย์ที่เข้ามาชี้แนะหนทางสว่างเพื่อที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องครับ
  • กราบขอบพระคุณอย่างสูงอีกครั้งครับ
  • สวัสดีครับคุณลำดวน
  • ผมเองก็เช่นกันครับ ในระหว่างที่ทำและหลังจากที่ทำก็ได้ทบทวนถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทำให้แม่และทำให้ตนเองท่องและสวดได้อย่างถูกต้องครับ

สวัสดีค่ะ คุณสุญฺญตา,

ขอขอบคุณมากนะคะ สำหรับบทสวดพระคาถาฉบับภาษาอ่าน

ช่วยให้ดิฉันและครอบครัวสามารถอ่านและสวดพระคาถาได้อย่างถูกต้องและมั่นใจมากขึ้น ทำให้มีสมาธิในการอ่านและสวดมากขึ้นค่ะ เนื่องจากไม่ต้องคอยกังวลว่าจะสะกดผิดอีกต่อไปแล้ว

ทั้งนี้ ดิฉันใคร่ขออนุญาตคุณสุญญตาไว้ ณ.ที่นี่ ในการนำบทสวดพระคาถาฉบับภาษาอ่านนี้เผยแพร่ต่อบุคคลอันที่รักและเคารพของดิฉันและครอบครัวด้วยนะคะ

ขอบพระคุณมากๆ นะคะ

หนูตุ่น

ขอบคุณมากครับ ดีมากๆเลย

ขอบคุณคะ  อนุโมทนาบุญคะ

ขอบคุนมากๆๆเลยไปค

ขอบพระคุณมากมายจริงๆค่ะ _/\_

ขอบคุณมากๆค่ะเพิ่งทราบคำอ่านที่ถูกต้องวันนี้เองท้องผิดอ่านผิดมาตั้งนาน

ขอบคุณมากๆนะคะ จะเอาไปให้แม่อ่านเหมือนกันค่ะ

สวดมนต์ทุกวันค่ะ

http://monkatha.com

https://www.youtube.com/watch?v=hjcZ36ukJ8gขอบคุณคุณชายชาญมากๆที่ช่วยแปลพระคทาชินบัญชรให้กับผู้อ่าน ลิงค์ข้างบนที่ป้าส่งมาให้เป็นพระคาถา ชินบัญชรที่ป้าเคยฟังอยู่เป็นประจำ คำบางคำของคำสวดในลิ้งนี้ผิดกลับคำที่คุณแปลให้โปรดช่วยตรวจดูให้อีกทีนะคะว่าถูกหรือผิดบทที่12ของพระชินบัญชรในอินเทอร์เน็ตบอกว่า(วะ)ไม่ใช่พระนะคะ และในบท 12 นี้ขอให้คุณกรุณาช่วยตรวจดูการสะกดและออกเสียให้ทีถ้วนอีกทีด้วยนะคะเพื่อเราจะได้ออกเสียงให้ถูกต้องเวลาสวดมนต์ด้วยค่ะในบทที่ 13 พุท-ธะ-ปัญ-ชะ-เร (ปัญ)หรือพุท-ธะ-(ปัน-ชะ-เร ค่ะ)บท 14 ชินะปัญ (หรือชินะปันคะ) มัดชำหิ (หรือมัชชำหิคะ)บทที่15ปัญชะเร(หรือปัน-ชะ-เร ค่ะ)ป้าขอรบกวนเท่านี้นะค่ะขอให้คุณชายชานและครอบครัวจงมีความสุขความเจริญมีสุขภาพดีมีความสำเร็จในการงานและการเรียนทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสิ่งที่ดีที่ถูกที่ครวญขอให้ทุกท่านทำได้สมใจปรารถนาด้วยเทอญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท