เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

วิจารณ์พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520 (ครั้งที่5)


แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบีบปัจจุบัน

                                                         ประเด็นที่ 5

               สรุปหลักการวิเคราะห์การแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับปัจจุบันได้ดังนี้   

                                                     ปัญหาในส่วนที่ 1          

                  -   กรณีคำนิยาม[1] ควรเพิ่มนิยามของคำว่าก ารลงทุน[2] ผู้ลงทุน[3] การลงทุนในต่างประเทศ[4] และผู้ลงทุนไทย[5] เนื่องจากไม่มีคำนิยามเหล่านี้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับปัจจุบันเพื่อให้ครอบคลุมการลงทุนของไทยในต่างประเทศด้วย ซึ่งประเด็นในเรื่องผู้ลงทุนก็ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณา คือเรื่องของการกำหนดสัญชาติของผู้ลงทุน การจดทะเบียน ที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของกิจการนั้นๆและสัดส่วนในการถือหุ้นหรืออำนาจในการบริหารของผู้ลงทุน และนอกนี้เมื่อพิจารณาในเรื่องของการลงทุน นั้นก็ยังมีจุดอ่อน คือการลงทุนนั้นควรให้คำนิยามที่ครอบคลุมเฉพาะกิจกรรมการผลิต ไม่รวมการบริการ และไม่รวมถึงการลงทุนระยะสั้น เป็นต้น         

                 -    กรณีเรื่องของคณะกรรมการที่ปรึกษา[6]  ควรระบุถึงคุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้ชัดเจน ดังนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ทางนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ การบริหารธุรกิจ อุตสาหกรรม การลงทุน หรือการบริหารราชแผ่นดินในระดับสูง ทั้งนี้เพื่อให้มีองค์ประกอบของคณะกรรมการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ทางเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ การอุตสาหกรรม การลงทุน การพาณิชยกรรม ภาษีและการเงิน ตลอดจนสามารถแต่งตั้งข้าราชการประจำและรัฐมนตรีเป็นกรรมการได้     

               -  กรณีของสำนักงานคณะกรรมการส่งสริมการลงทุน[7] จะต้องมีการเพิ่มอำ นาจหน้าที่ของสำนักงานฯ เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน การให้ความช่วยเหลือ การแก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริม การดำเนินการจัดทำและเจรจาความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการลงทุนทั้งในระดับทวิภาคีและระดับพหุภาคี ตลอดจนการดำเนินการต่างๆภายใต้พันธกรณีตสมความตกลงดังกล่าว ส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนของนักลงทุนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้มอำนาจหน้าที่ที่กว้างขวางมากขึ้นสอดคล้องกับบทบาทใหม่          

                    -กิจกรรมที่จะให้การส่งเสริมตามมาตรา 16  ควรแก้ไขข้อความตามมาตรา 16 วรรค แรกซึ่งตามมาตรา 16 วรรคแรกได้บัญญัติว่า กิจการที่คณะกรรมการจะให้การส่งเสริมการลงทุนได้ ต้องเป็นกิจการที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความในคงของประเทศ  กิจการที่ใช้ทุนแรงงานหรือบริการในอัตราสูงหรือกิจการที่ใช้ผลิตผลการเกษตร หรือทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ ซึ่งควรแก้ไขข้อความในมาตรา 16 ในลักษณะดังนี้ กิจการที่คณะกรรมการจะพึงให้การส่งเสริมการลงทุนได้ ต้องเป็นกิจการที่สำคัญด้านการผลิต บริการ การจำหน่ายและเป็นประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และความมั่นคงของประเทศโดยเฉพาะ กิจการที่ส่งเสริมการพัฒนาด้านทักษะ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กิจการสำนักงานปฎิบัติการภูมิภาคและกิจการอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการข้างต้น                                                                                                                                                                                                                   ทั้งนี้เพื่อขยายขอบเขตของกิจการที่คณะกรรมการจะให้การส่งเสริมให้กว้างขวางมากขึ้น  ทั้งกิจการการผลิต จำหน่ายและบริการ เพื่อสอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ  และความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) [8]               

                           -   กรณีตามมาตรา 17 วรรค 2 ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต้องเป็นบริษัท มูลนิธิ หรือสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น กรณีผู้ส่งเสริมการลงทุนควรที่จะระบุถึงรัฐวิสาหกิจอื่นที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบโดยประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้ครอบคลุมวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กและขนาดย่อม องค์กรมหาชน สถาบันอิสระ องค์กรเอกชน ซึ่งรัฐวิสาหกิจเหล่านี้สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้                         

                             -โครงการลงทุนที่คณะกรรมการจะให้การส่งเสริมควรเพิ่มโครงการการลงทุนที่มีความเหมาะสมทางสังคมด้วย เนื่องจากการพัฒนาประเทศในปัจจุบัน คือการพัฒนาแบบหยั่งยืน  ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ นอกจากนี้แล้วกิจกรรมบางประเภทไม่ได้พิจาณาทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีเท่านั้น แต่จะพิจารณาความเหมาะสมด้านสังคม                          -การกำหนดเงื่อนไขไว้ในบัตรส่งเสริมตามมาตรา 20 ควรเพิ่มเงื่อนไขในเรื่องการบริหารการจัดการ, การทำรายการเงินรวม, การรายงานเรื่องการเปลี่ยนแปลงเงินทุน เป็นต้น                                         

                                              สิทธิประโยชน์

                                   -ควรเพิ่มมาตรา 27/1[9]โดยมีข้อความว่า  ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว เพียงเท่าที่พระราชบัญญัตินี้มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการมีอำนาจในการส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่ระบุไว้ในบัญชีที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบได้ เนื่องจากในทางปฎิบัติ ในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน มีกำหนดให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการที่ระบุในบัญชีที่ไม่อนุญาติให้คนต่างด้าวประกอบด้วยอยู่แล้ว แต่ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจการยกเว้นเรื่องนั้นไว้โดยชัดแจ้งเหมือนกับการเข้าเมือง การทำงานของคนต่างด้าวหรือการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพราะฉะนั้นจึงควรเพิ่มบทบัญญัติเหล่านี้ไว้ในกฎหมาย-

                            เพิ่มมาตรา 30/1[10] โดยมีบทบัญญัติดังนี้ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรมใหม่ การฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การประหยัดพลังงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มขีดความสามารถนากรแข่งขัน ให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้การส่งเสริมการลงทุนเป็นกรณีพิเศษ โดยไม่จำต้องเป็นกิจการหรือโครงการที่ได้รับการส่งเสริมก่อน หรือเป็นกิจการหรือโครงการที่ได้รับการส่งเสริมอยู่แล้วก็ได้ โดยให้สิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้ -หักค่าเสื่อมราคาได้มาหรือเร็วขึ้นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร-การพิจารณายกเว้นหรือลดหย่อนหรือหักค่าใช่จ่ายเพิ่มขึ้น เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมหรือสำหรับบุคคลากรทีเกี่ยวข้อง-การเครดิตภาษีสำหรับกิจการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดึงดูด บุคคลกรที่มีทักษะและความชำนาญเข้ามาในประเทศเพื่อประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาและด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำสิทธิประโยชน์ใหม่ๆที่ต่างประเทศใช้มาทดลองส่งเสริมกิจกรรมบางประเภทพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธการส่งเสริมการลงทุนใหม่ของBOI                                          กรณีหลักประกันและคุ้มครอง

                             -         ควรเพิ่มมาตราใหม่ก่อนมาตรา 43[11] ว่ารัฐจะให้ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้รับคุ้มครองสิทธิต่างๆตามรัฐธรรมนูญ เมื่อสิทธิที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นเป็นสิทธิเกี่ยวกับการลงทุน โดยการเพิ่มข้อยกเว้นว่า เว้นแต่เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่เลือกปฎิบัติและมีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เหมาะสมกับความเสียหายที่เกิดขึ้นการให้หลักประกันเพียงแต่ว่า รัฐจะไม่โอนกิจการนั้นไม่เพียงพอ ควรให้หลักประกันในกรณีที่มีการโอนกิจการด้วย โดยเฉพาะเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับนักลงทุน 

                   -   ควรเพิ่มมาตราตอนท้ายของมาตรา 44 45 46[12] ว่าเว้นแต่กิจการที่จำเป็นและเหมาะสมในกิจการสาธารณูปโภคเนื่องจากรัฐมีความจำเป็นต้องดูแลกิจการสาธารณูปโภคเป็นพิเศษ เพราะเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ซึ่งในทางปฎิบัติแล้ว ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการสาธารณูประโภคจะไม่ได้รับการคุ้มครองในเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว เช่นกรณีรถไฟฟ้า   BTS รัฐจะเป็นผู้กำหนดค่าใช้จ่ายเองตามความเหมาะสม

                          กรณีการช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา 51 ควรแก้ไขใหม่เป็น ในกรณีผู้ที่ได้รับการส่งเสริมประสบปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ให้ประธานกรรมการมีอำนาจสั่งให้แก้ไขและหรือ/ ความชวยเลือไปตามความสะดวก หรือสั่งให้ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือต่อไปโดยไม่ชักช้า  การสั่งให้การช่วยเหลือหรือแก้ไขตามวรรค 1 นั้นอาจออกเป็นประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี ตามระเบียบราชการแผ่นดิน หรือประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลุนแล้วแต่กรณี เพื่อให้บทบาทในเรื่องการให้บริการหลังการส่งเสริมการลงทุน มีความโปร่งใสและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้สำนักงานริเริ่มในการแก้ไขปัญหาของผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยไม่จำเป้นต้องมีการร้องรียนของผู้ที่ได้รับการส่งเสริม ซึ่งก็ถือว่าเป็นบทบาทใหม่ของผู้ที่ได้รับการส่งเสริม-     

                                          และในกรณีของการระงับข้อพาทนั้นให้นำกระบวนการยุติอื่นเข้ามาร่วมด้วยเพื่อให้นักลงทุนมีทางเลือกอื่นนอกจากการใช้กระบวนการยุติธรรมภายในประเทศ และเพื่อให้หลักประกันต่อผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่มิใช่คนไทยในกรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักนิยมใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการ



[1] มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน 2520
[2] การลงทุน หมายความว่า  ทรัพย์สินทุกประเภทที่ใช้ในกิจการการลงทุนทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ

[3] ผู้ลงทุน    หมายความว่า   ผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

[4] การลงทุนในต่างประเทศ  หมายความว่า การลงทุนของผู้ลงทุนไทย
[5] ผู้ลงทุนไทย  หมายความว่า  ผู้ลงทุนทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไทย ซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือเป็นนิติบุคคลที่ขอจดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งมีทุนเกินกึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลที่มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลซึ่งมีผู้สัญชาติไทยลงทุนมีมูลค่าเกินกึงหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้นและเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายหรือข้อบังคับ หรือตามข้อตกลงในการแต่งตั้งกรรมการส่วนใหญ่ของจำนวนกรรมการทั้งหมดหรือในการออกเสียงข้างมากเพื่อกำหนดนโยบายการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น

[6] มาตรา6 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน 2520

[7] มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน 2520

[8] เขตการค้าเสรีอาเซียน ASEAN Free Trade Area: AFTA ประกอบด้วยสมาชิกได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
[9] พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนปี 2520
[10]  พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนปี 2520
[11] พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนปี 2520

[12] พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนปี 2520

หมายเลขบันทึก: 63989เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท