จรรยาบรรณของคุณครู "ข้อที่ 10"


"ครูพึงศึกษาจรรยาบรรณครูทั้ง 9 ข้อให้เข้าใจอย่างท่องแท้และพึงปฏิบัติตามจรรยาบรรณครูทั้ง 9 ข้อนั้นเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ ลมหายใจตลอดชีวิตของการเป็นครู"

หลังจากที่เมื่อวานนี้ผมได้รับคำถามที่ดียิ่งจากน้อง นาย วิทยา อินธิมาศ  ที่ถามผมว่า "ครูที่ดีเป็นอย่างไร?"

คำถามนี้เป็นคำถามที่ดีมากและตอบได้ยากเช่นเดียวกันครับ เพราะผมเองก็ไม่ได้เคยเรียนสายครูมาและคิดว่าตนเองนั้นที่เคยได้มีโอกาสไปเป็นอาจารย์ ณ ขณะนั้นก็ยังมิสามารถปฏิบัติหน้าที่อาจารย์หรือครูได้อย่างดีที่สุด

แต่คำตอบนี้น่าจะย้อนกลับไปที่สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูนั่นก็คือ "จรรยาบรรณครู" ซึ่งมีอยู่ 9 ข้อด้วยกัน ได้แก่

  1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
  2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  3. ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
  4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
  5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และ ไม่ใช้ศิษย์ให้กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์แก่ตนเองโดยมิชอบ
  6. ครูย่อมพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ และการเมืองอยู่เสมอ
  7. ครูย่อมรัก และศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
  8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
  9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

และสิ่งที่สำคัญที่สุดซึ่งผมขออนุญาตเพิ่มเติมเพื่อตอบคำถามกับน้องวิทยาและทุกท่านเป็นจรรยาบรรณของคุณครูอีก 1 ข้อ เป็นข้อที่ 10 นั้นก็คือ

    10. "ครูพึงศึกษาจรรยาบรรณครูทั้ง 9 ข้อให้เข้าใจอย่างท่องแท้และพึงปฏิบัติตามจรรยาบรรณครูทั้ง 9 ข้อนั้นเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ ลมหายใจตลอดชีวิตของการเป็นครู"

สำหรับคำนิยามในการเป็นครูที่ดีตามความคิดและจิตสำนึกของผมเป็นอย่างนี้ครับ ถ้าคุณครูท่านใดหรือน้อง ๆ นักศึกษาว่าที่คุณครูในอนาคตมีสิ่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มหรือต่อยอด เชิญได้เลยนะครับ เพราะร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับวิชาชีพและสังคมไทยนี้ให้สวยงามตลอดไปครับ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

หมายเลขบันทึก: 63907เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่าสูงครับที่ให้ความกระจ่างกับผม แต่คงจะยากน่าดูเหมือนกัน ซึ่งผมเองก็กำลังพยายามซึมซับเอาความเป็นครูมาไว้กับตัวให้มากเท่าที่จะทำได้ ขอบคุณครับ

  • สวัสดีครับน้องวิทยา
  • ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ที่ได้คิดออกมานี้ก็เกิดจากการตั้งคำถามที่ดีจากน้องวิทยาครับ
  • การเรียน การรู้ การศึกษา ไม่ยากครับ แต่สิ่งที่ยากที่สุดก็คือการทำให้ได้ทุกอย่างตามที่ตนเองรู้ครับ
  • ถ้าอย่างไรลองฝึกปฏิบัติดูนะครับ ฝึกปฏิบัติให้เป็นนิสัยในทุก ๆ ลมหายใจ แล้ววันหนึ่งน้องจะได้สัมผัสความสุขแห่งการเป็นครูครับ

ให้ง่ายนะครับ

ภาษาอีสานชัดเจนกว่า

คูที่ดีต้องแข็งแรง ไม่รั่ว ไม่ซึม ตรง สะอาด ไม่มีขยะ ไม่มีวัชพึช  มีความลาดเอียงเล็กน้อย ต่อเชื่อมกับคูอื่นๆ ให้น้ำไหลสะดวกมาก และต่อเนื่อง

ผมไม่ทราบว่าครูมาจากรากศัพท์ว่าอะไร  มีคนเคยบอกว่า มาจากคำว่า คุรุ แปลว่าหนัก ผมไม่เข้าใจว่าเป็นครูมันหนักตรงไหน อยู่อย่างคน หรือ พระ (ที่ไม่หนัก) ก็เห็นเป็นครูได้ ไม่เห็นต้องไปแบกก้อนหิน เพื่อฝึกการเป็นครูสักคน และนักแบกก้อนหินในสังคมไทย บางทีก็ไม่เห็นเป็นครูที่ดีเลย สู้นักวางก้อนหินไม่ได้ เป็นครูที่ดีกว่าด้วย

ขอใช้ภาษาอีสานไปพลางก่อนนะครับ

ดีแน่นอนครับ

หรือจะให้แปลปริศนาก็ได้ว่า เข้มแข็ง ชัดเจน ประหยัด มัธยัสถ์ ไม่โกง ฉลาด ไม่มัวเมาอบายมุข ไม่มีกรรมเก่ามากเกินไป เป็นผู้ให้แต่พอดี จัดการความรู้อยู่เสมอ

  • สวัสดีครับท่าน อาจารย์ ดร.แสวง ที่เคารพอย่างยิ่งครับ
  • อาจารย์ให้ความหมายของครู ซึ่งเป็นภาษาอีสานที่ชัดเจนยิ่งครับ เป็นคำจำกัดความที่ลึกซึ้และทรงคุณค่ายิ่งเลยครับ
  • คุรุ แปลว่าหนัก ประเด็นนี้ขออนุญาตนำไปขบคิดสักครู่นะครับ ถ้าคิดได้อย่างไรจะขออนุญาตนำมาแลกเปลี่ยนกับท่านอาจารย์อีกครั้งครับ
  • สุดท้ายนี้ผมขออนุญาตเรียกอาจารย์ว่าเป็น "ครูแสวง" ครูที่ดีสำหรับผมตลอดไปครับ
อ่านแล้วนึกถึงที่ดร.อาจอง ชุมสายฯเคยพูดว่า "ครูที่ดีจะช่วยให้เด็กเป็นคนดีได้" และครูจะไม่สอนในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้ (เช่นสอนไม่ให้เด็กสูบบุหรี่ แต่ตัวเองยังสูบ เป็นต้น) ทำให้รู้สึกว่า ครูที่แท้นี่ยิ่งใหญ่จริงๆ
  • สวัสดีครับคุณพัชรา
  • "ครูที่ดีจะช่วยให้เด็กเป็นคนดีได้" เป็นประโยคทองที่ดียิ่งเลยครับ
  • ครูที่ดีจะช่วยให้เด็กเป็นคนดีได้ฉันใด คุณอำนวยในสังคมก็จะช่วยการจัดการความรู้เกิดสิ่งดี ๆ ในสังคมเช่นเดียวกันครับ
  • ขอบพระคุณอย่างสูงที่เข้ามาเติมเต็มครับ

 Smiley Grad 3 เรียนท่านปภังกร ตามมาแซว (อ่าน จรรยาบรรณกูรู) ครับ

 ข้อ ๑๑ หากไม่แน่ใจให้อ่าน ข้อที่ ๑-๑๐ ใหม่ ครับ

ครูเปรียบเหมือนเรือจ้างครับ จรรยาบรรณของครูนั้นก็เผปรียบเหมือน การประกันคุณภาพของเรือจ้างนั้น ว่าเรือจ้างนั้นดีเพียงใด หากครูคนใดทำลาย จรรยาบรรณของตัวก็เปรียบเหมือนทำลายตัวเอง ทำลายเพื่อนในวิชาชีพเดียวกัน ทำลายศิษย์ เพราะการเป็นครูนั้นไม่ได้เป็นแค่เพียงในเวลาราชการ หากแต่เป็นตลอดชีวิตครับ
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์หมอ JJ ครับ
  • ข้อที่ 11 เป็นข้อที่สำคัญยิ่งเลยครับท่านอาจารย์ เพราะคนบ้านเราชอบขี้สงสัยครับ คนต่างชาติเขาชอบชมเราว่า คนไทยเก่ง เก่งที่จะหาทางออกใหม่ ๆ ครับ (แกมโกงนิด ๆ )
  • ถ้ามีข้อ 11 ป้องกันไว้จะทำให้ครอบคลุมและครบถ้วนมากขึ้นครับ
  • ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอเป็นอย่างสูงที่เข้ามาแลกเปลียนและเติมเต็มอย่างดียิ่งครับ
  • สวัสดีครับคุณบีเวอร์
  • จรรยาบรรณเปรียบเสมือนกับการประกันคุณภาพ เป็นความคิดที่ดียิ่งเลยครับ
  • การประกันเป็นการป้องกันย่อมดีกว่าควบคุมคุณภาพ ซึ่งการควบคุมคุณภาพปัจจุบันทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย รวมทั้งไม่เกิดคุณภาพอย่างแท้จริงกับเด็กนักเรียนด้วยครับ
  • ถ้าอย่างนั้นถ้าครูมีการประกันคุณภาพตลอดชีวิตในทุก ๆ ลมหายใจ ย่อมจะเป็นหลักประกันได้ว่า เด็กนักเรียนจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดแน่นอนเลยครับ
  • ขอบพระคุณคุณบีเวอร์เป็นอย่างสูงที่เข้ามาแลกเปลี่ยนและเติมเต็มครับ

ครูต้องครองตน ครองคน ครองงาน ให้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท