ประสบการณ์ของการร่วมทีมประเมินการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ


โรงพยาบาลที่มีความมุ่งมั่น จะเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ผู้บริหาร ทีมนำและผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะในส่วนของผู้ปฏิบัติที่มองเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้รับบริการฯ ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ หลายอย่างภายใต้บริบทของแต่ละโรงพยาบาล

      จากประสบการณ์ของการร่วมทีมประเมินการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  จะพบว่าในบางโรงพยาบาลมีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก   ผู้บริหาร / ทีมนำแสดงบทบาทชัดเจนและเป็นแบบอย่างที่ดี     แต่ผู้บริหารบางโรงพยาบาลที่ยังไม่เห็นความสำคัญในการต้องดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ   และเกิดความคิดว่าต้องทำโดยที่ยังไม่พร้อมเพราะถูกจังหวัดบังคับ  ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ยอมรับทีมประเมินฯ / ไม่เปิดใจ / เหมือนถูกจับผิด จึงส่งผลให้ทีมนำที่มีความเข้มแข็ง มุ่งมั่นมากกว่า เกิดความคับข้องใจ  ลำบากใจ   ทีมนำบางโรงพยาบาลถึงกับร้องไห้หลัง Exit Conference  ข้าพเจ้าในฐานะผู้ร่วมทีมประเมินฯ เกิดความรู้สึกอึดอัดและลำบากใจเช่นเดียวกัน    โดยเฉพาะเมื่อทีมประเมินฯ เป็นพยาบาลและนักวิชาการสาธารณสุข    เพราะผู้บริหารบางโรงพยาบาลแสดงออกด้วยอากัปกิริยาหรือสีหน้าให้รับรู้ได้ว่า เป็นพยาบาล / นักวิชาการฯ  จะรู้และเข้าใจได้หรือ    บางครั้งอ้างถึงบริบทของโรงพยาบาลที่คิดว่าเป็นข้อจำกัดและไม่สามารถพัฒนาอีกได้ถึงแม้ว่ายังมีทางออกที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมซึ่งทีมนำก็มองเห็น   จึงเกิดความรู้สึกเหมือนพูดกันไม่เข้าใจ  ฟังกันไม่รู้เรื่อง

            ในส่วนของโรงพยาบาลที่มีความมุ่งมั่น   จะเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ผู้บริหาร  ทีมนำและผู้ปฏิบัติ    โดยเฉพาะในส่วนของผู้ปฏิบัติที่มองเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้รับบริการฯ    ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ หลายอย่างภายใต้บริบทของแต่ละโรงพยาบาล  เช่น

            - การใช้ท่อพลาสติก พีวีซี แบบข้องอ (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 นิ้ว) มาติดบนแป้นไม้ เพื่อใช้เป็นโมเดลช่องทางคลอดและกลไกการคลอด ประกอบการสอนในงานฝากครรภ์

       การนำเสื้อตะกั่วป้องกันรังสี ที่เก่า / ชำรุดแล้ว    มาตัดแบ่งและหุ้มผ้าใหม่   เพื่อใช้คาดปิดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ในเด็กแรกเกิด / เด็กเล็กที่ต้องมา x-ray 

-     การใช้ถุงน่องและใยสังเคราะห์มาทำเป็นโมเดลเต้านม เพื่อใช้ในการสอนและฝึกตรวจเต้านมด้วยตนเอง 

 

      ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงจะส่งผลให้การดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเป็นรูปธรรมชัดเจน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดโอกาสเพื่อนช่วยเพื่อน และเกิดการสร้างทีมพี่เลี้ยงในการพัฒนาการดำเนินงานต่อไป  

                                                                                                                          รุ่งรัศมี   แก้วมั่น...ศูนย์อนามัยที่ 8 

หมายเลขบันทึก: 63881เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท