แผนส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต


ถ้ากระบวนการจัดทำ แผนฯ เริ่มต้นที่การวิเคราะห์เหตุ-ปัจจัยของการขาดวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนไทย และแสวงหาข้อเท็จจริงภายใต้ลักษณะเฉพาะของภูมิสังคมและกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ การกำหนดพันธกิจจะมีมิติที่หลากหลายและเข้าถึงความจริงมากกว่านี้ ทำให้การนำไปปฏิบัติสามารถสอดแทรกจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ได้ดียิ่งขึ้น

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองชุมพร ได้ขอความร่วมมือเพื่อรวบรวมความคิดเห็นใช้ในการจัดเวทีประชาคมเกี่ยวกับแผนส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 2554) โดยส่งเอกสารแผนฯ ขนาด 106 หน้ามาให้อ่านประกอบ มีสาระที่เป็นประโยชน์มากมาย...ขอบคุณมากครับ

ผมได้แสดงความคิดเห็นไปตามประเด็นที่กำหนด ดังนี้

1.     ความเห็นในภาพรวมและประเด็นเพิ่มเติม

ข้อเสนอแนะ

1.1  ในส่วนของ กรอบความคิด (Conceptual Framework) ในการเขียนแผนฯ ผมมองว่า ยังยึดติด หรืออาจจะเรียกว่า ติดกับดัก การวางระบบการศึกษาโดยเน้นที่โครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ เป็นหลัก

1.2  เมื่อถึงขั้นตอนของการบริหารแผนฯ ผมเชื่อว่า มีแนวโน้มที่จะหนักไปในทางสั่งการให้กลไกโครงสร้างในระดับต่าง ๆ ของหน่วยงาน กศน. ขับเคลื่อนไปตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ โดยอาศัยอำนาจสั่งการและปัจจัยเรื่องงบประมาณ เป็นตัว Force กลไกระดับพื้นที่ เพื่อให้ภารกิจบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

1.3  พันธกิจตามแผนฯ จึงเขียนออกมาค่อนข้างกว้างและคลุมเครือ เพราะไม่ได้เป็นพันธกิจที่วางอยู่บนฐานความคิด ความต้องการของพื้นที่ ไม่สามารถชี้นำ และสร้างความเชื่อมั่นได้อย่างชัดเจนว่า ถ้าทำตามพันธกิจทั้ง 2 ประการนี้แล้ว จะก่อให้เกิด วัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ได้อย่างไร

1.4  แผนส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ควรวาง กรอบความคิด (Conceptual Framework) โดยให้ความสำคัญกับการแสวงหาความจริงของภูมิสังคม, กลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่วงอายุ ฯลฯ ว่าอะไรคือ เหตุ-ปัจจัยของการขาดวัฒนธรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์โดยใช้แนวทาง SWOT-Analysis หรือวิธีอื่นใดที่เหมาะสม สร้างเป็นยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ โดยจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้าง คุณค่า (Value) ในทุกระดับ ทุกขั้นตอน

2.  ความเห็นในแผนส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 2554)

2.1 วิสัยทัศน์

ประชาชนมีวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง

ข้อเสนอแนะ

ผมคิดว่า เนื้อความในวิสัยทัศน์สอดคล้องกับเนื้อหาในแผนฯ เป็นส่วนใหญ่ แต่คิดว่าน่าจะสลับ คำ"ใหม่ให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนี้

ประชาชนมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและทั่วถึง

2.2 พันธกิจ แผนฯ กำหนดไว้ 2 ข้อ คือ

       2.2.1   จัดและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบที่หลากหลายให้กับประชาชน

       2.2.2   ให้ทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งในและต่างประเทศ มีส่วนส่งเสริม สนับสนุน และรับผิดชอบในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชาชน

ข้อเสนอแนะ

1)    พันธกิจทั้ง 2 ประการสะท้อนกรอบความคิดในเชิงโครงสร้างและอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน ถ้าจะเติมคำลงไปดังในวงเล็บ ก็จะทำให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น คือ

- (กำหนดให้มีผู้) จัดและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตฯ

- (กำหนดหรือผลักดัน) ให้ทุกภาคส่วนของสังคมฯ

2)    ถ้ากระบวนการจัดทำแผนฯ เริ่มต้นที่การวิเคราะห์เหตุ-ปัจจัยของการขาดวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนไทย และแสวงหาข้อเท็จจริงภายใต้ลักษณะเฉพาะของภูมิสังคมและกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ การกำหนดพันธกิจจะมีมิติที่หลากหลายและเข้าถึงความจริงมากกว่านี้ ทำให้การนำไปปฏิบัติสามารถสอดแทรกจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ได้ดียิ่งขึ้น

3.วัตถุประสงค์

3.1  เพื่อพัฒนาคนไทยให้รอบรู้ คู่คุณธรรม คิดเป็น มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทัน และมีความสุขพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง ก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา

3.2  เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เกิดขึ้นกับบุคคลและชุมชนบนพื้นฐานการเคารพในความแตกต่างของวิถีชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

3.3  เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างทั่วถึง เพื่อนำไปสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

ข้อเสนอแนะ

1)    วัตถุประสงค์ทั้ง 3 ข้อ สะท้อน ตัวตน ของคนเขียนแผนฯ ที่ยืนอยู่คนละจุดกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบรรลุสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว

2)    ขอเสนอให้มีการเขียนวัตถุประสงค์ของแผนฯ ในลักษณะของการ เปิดกรอบ ให้เกิดกระบวนการภายในกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาตนเอง โดยใช้ถ้อยคำดังตัวอย่าง ที่ประยุกต์มาจากวัตถุประสงค์เดิม ดังนี้

- เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้ฝึกปฏิบัติกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดความใฝ่รู้ ยกระดับจิตสำนึกและคุณธรรม คิดเป็น มีภูมิคุ้มกัน .................

- เพื่อสร้างสำนึกในคุณค่าของวัฒนธรรมการเรียนรู้ .................

- เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ ............

4.เป้าหมาย

4.1  ประชากร อายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ย 9.5 ปี

4.2  ประชากรวัยแรงงาน (อายุ 1539 ปี) ร้อยละ 50 มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป

4.3  ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ใช้เวลาอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย 5 นาทีขึ้นไปต่อวันต่อคน

4.4  ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80ได้รับการส่งเสริมการรู้หนังสือ

4.5  ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชนทั่วประเทศมีพื้นที่การเรียนรู้ในรูปแบบของกลุ่มประชาสังคมเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มผู้สนใจการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ หรือพื้นที่การเรียนรู้ในรูปแบบหรือลักษณะอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 1 รูปแบบ หรือลักษณะ

4.6  ทุกตำบลมีระบบการจัดการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเองที่สอดคล้องกับแผนชุมชน

4.7  ทุกตำบลมีสื่อและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

4.8  คนในชุมชนร้อยละ 60 มีโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยผ่านสื่อที่หลากหลาย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออีเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล สื่อนิทรรศการ สื่อเรียนรู้จากหน่วยงานต่างๆ และสื่ออื่นๆ

4.9  มีภาคีเครือข่ายจัดและหรือส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับคนไทยในต่างประเทศ อย่างน้อย 20 ประเทศ

ข้อเสนอแนะ

เป้าหมายในเชิงปริมาณจะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่นำไปปฏิบัติ ซึ่งขึ้นอยู่กับกรอบความคิดที่ถูกต้อง

ขอเสนอ กรอบความคิด โดยประยุกต์หลักการเรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการมองในเชิง คุณค่า (Value) ของกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

 <p> </p>

หมายเลขบันทึก: 63825เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท