“หม่อมอุ๋ย” ชง ครม.เบรกร่างบำเหน็จ-บำนาญ ส.ส.-ส.ว.


เบรกร่างบำเหน็จ-บำนาญ ส.ส.-ส.ว.
สำหรับการคำนวณบำเหน็จ หรือบำนาญที่ได้นำไปใช้สิทธิรับบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 แล้ว มานับเป็นเวลาสำหรับคำนวณบำเหน็จหรือบำนาญตามร่างพระราช กฤษฎีกานี้อีก จึงไม่มีปัญหาการรับบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งหลายครั้ง และหลายประเภท   แต่การที่จะนำร่างพระราชกฤษฎีกาบำเหน็จบำนาญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และรัฐมนตรี พ.ศ.....   ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยไม่รอร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่) พ.ศ..... นั้นอาจมีปัญหาในการรับบำเหน็จบำนาญของรัฐมนตรีและข้าราชการการเมืองอื่นที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยในขณะเดียวกันซึ่งจะมีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญได้ทั้งร่างพระราชกฤษฎีกานี้ และตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการได้รับสิทธิในบำเหน็จบำนาญ ในสองกฎหมายที่กำหนดไว้แตกต่างกัน จึงเห็นควรรอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไว้ และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อประกาศใช้บังคับใช้เป็นกฎหมายพร้อมร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่...) พ.ศ.....        จะเป็นการเหมาะสมกว่า  อย่างไรก็ตาม หากมีความประสงค์จะนำร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายก่อนก็อาจกระทำได้โดยจะต้องแก้ไขร่างมาตรา 28มาตรา 28 เวลาสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญให้นับย้อนหลังได้ไม่เกินวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ข้าราชการการเมืองที่ขอรับบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494   สำหรับระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญข้าราชการ การเมืองตามพระราชกฤษฎีกานี้สำหรับระยะเวลานั้น ในกรณีที่ได้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งไปใช้สิทธิรับบำเหน็จบำนาญตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้แล้ว หากได้นำระยะเดียวกันไปใช้รับบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 อีก ให้หมดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้ส่งบำเหน็จบำนาญที่รับไปแล้วคืนภายใน 30 วัน  โดยร่างพระราชกฤษฎีกาบำเหน็จบำนาญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และรัฐมนตรี พ.ศ.....กำหนดให้สิทธิบำเหน็จหรือบำนาญของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือรัฐมนตรีเป็นสิทธิเฉพาะตัว โดยมีเกณฑ์จ่ายบำเหน็จบำนาญตามที่ได้กำหนดในพระราชกฤษฎีกานี้และสิทธิในการขอรับบำเหน็จบำนาญตามพระราชกฤษฎีกานี้ให้มีอายุความ 3 ปีขณะที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติฯ และร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นตรากฎหมายเพื่อให้เป็นตามพระราชบัญญัติมาตรา 229 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ฉบับเดิม (พุทธศักราช 2540) อีกทั้งร่างพระราชกฤษฎีกาบำเหน็จบำนาญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และรัฐมนตรี พ.ศ.... ยังได้อาศัยอำนาจตามความมาตรา 221 และมาตรา 229 วรรคสองของรัฐธรรมนูญฯ ในการตรากฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้สิ้นสุดลงตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 แล้ว    โดยทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติและร่างพระกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ครม.ชุดที่แล้วได้มีการอนุมัติหลักการไว้แล้ว แต่โดยที่ได้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 อันเป็นหลักการและเหตุผลและบทอาศัยอำนาจ      ในการตรากฎหมายทั้ง 2 ฉบับในเรื่องนี้ ประกอบกับได้มีมติ ครม.กำหนดให้เสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคำนึงถึงเฉพาะร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน จึงเห็นควรนำเสนอ ครม.พิจารณา  หาก ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการ       ร่างพระราชบัญญัติ และร่างพระราชกฤษฎีกา ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เห็นควรให้ส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และให้นำร่างพระราชบัญญัติเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ส่วนร่าง      พระราชกฤษฎีกาให้รอนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติ

ผู้จัดการออนไลน์ 28 พ.ย. 49

หมายเลขบันทึก: 63776เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท