พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตราที่ 1-11


ระวังการใช้เช็ค
:: พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2534 เป็นปีที่ 46 ในรัชกาลปัจจุบัน
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2534/149/1พ/27 สิงหาคม 2534]
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
(2) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2515
มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตาม กฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
(2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
(3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้ เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
(4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงิน ตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
(5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต เมื่อได้ มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงิน ตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา 5 ความผิดตาม มาตรา 4 เป็นความผิดอันยอมความได้
มาตรา 6 การควบคุมหรือขังผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง แต่ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาล สั่งปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันแต่ไม่มีหลักประกันหรือ มีประกันและหลักประกันไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค
มาตรา 7 ถ้าผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 4 ได้ใช้เงินตามเช็ค แก่ผู้ทรงเช็คหรือแก่ธนาคารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือ บอกกล่าวจากผู้ทรงเช็คว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น หรือหนี้ที่ผู้กระทำ ความผิดตาม มาตรา 4 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมี คำพิพากษาถึงที่สุด ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา
มาตรา 8 ถ้าจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับหรือหลายฉบับรวมกัน ไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งได้ การฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คนั้นจะรวมฟ้องต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง
มาตรา 9 สำหรับบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2515 ซึ่งอยู่ในระหว่างการสอบสวนของ พนักงานสอบสวนหรือการดำเนินคดีของพนักงานอัยการก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรือการดำเนินคดีของพนักงาน อัยการที่ได้ดำเนินการไปตามกฎหมายก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็น อันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณี ที่ได้มีการควบคุมหรือขังผู้ต้องหามาก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การควบคุม หรือขังผู้ต้องหาต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้รวมกับการควบคุมหรือขังผู้ต้องหา มาก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ควบคุมหรือขังได้ไม่เกินกำหนดเวลา ควบคุมหรือขังที่กำหนดไว้ตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้ บังคับ
มาตรา 10 สำหรับบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2515 ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ศาลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ศาลนั้นดำเนินการพิจารณาพิพากษา ต่อไปได้
มาตรา 11 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

:: ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี

*หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราช บัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ใช้บังคับมานานแล้ว บทบัญญัติที่มีอยู่ไม่เหมาะสมหลายประการ สมควรปรับปรุงให้มีบทบัญญัติชัดแจ้งว่า การออกเช็คที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อให้มีผลผูกพัน และบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมายเท่านั้น และกำหนดให้มีระวางโทษ ปรับเพียงไม่เกินหกหมื่นบาทเพื่อให้คดีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ทั้งให้การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยจะ กระทำโดยไม่มีหลักประกันก็ได้ แต่ถ้าจะให้มีหลักประกัน หลักประกันนั้นจะต้อง ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค นอกจากนี้สมควรกำหนดให้การฟ้อง คดีแพ่งตามเช็คที่มีจำนวนเงินไม่เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษา คนเดียวสามารถฟ้องรวมไปกับคดีส่วนอาญาได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราช บัญญัติน


ที่มา : http://www.kodmhai.com/m4/m4-17/h32/M1-10.html
ี้

หมายเลขบันทึก: 63732เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 09:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท