๕๙๖. การฝึกทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์..ให้นักเรียน ครูต้องเป็น"นักคิด"และ"นักสร้าง"


นับวัน..ข้อสอบอ่านคิดวิเคราะห์ จะยากและมีมาตรฐานมากขึ้น..ครูตระหนักและเรียนรู้แล้วหรือยัง..ไม่จำเป็นต้องเป็นครูจบเอกภาษาไทยเท่านั้น..แต่ครูทุกคนต้องเข้าถึงเรื่องนี้..เพื่อเตรียมความพร้อม ..เพื่อสร้างเด็กให้มีทักษะชีวิตด้านประสบการณ์ทางภาษา..ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน..

ปัญหาการศึกษาไทย..ไม่มีอะไรที่จะเลวร้ายไปกว่า..จำนวนนักเรียนที่อ่านไม่ออก..มากขึ้นทุกปี..แม้ว่าจะมีนโยบายเร่งรัดติดตามเป็น “วาระแห่งชาติ” ด้วยการทดสอบการอ่านคล่องเขียนคล่อง ชั้น ป.๑ – ๔ ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง และรัฐยังได้ทุ่มเงินกับโครงการ ”คูปองอบรมครู” ๑๐,๐๐๐ บาท/คน..

ในช่วงทศวรรษนี้..มีงานวิจัยใดบ้าง..ที่บอกว่า..การอบรมครู..จะช่วยให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้มากขึ้น..ไม่มีใครกล้ายืนยัน..เพราะการอบรมดังกล่าว..เป็นไปเพื่อการเพิ่มศักยภาพครูด้านวิทยฐานะ.มากกว่าจะมองกันที่ “คุณภาพ”ผู้เรียน

ผมคิดว่า..การนำครูออกนอกห้องเรียนในทุกมิติ ทุกๆแผนงาน โครงการและนโยบายฯ เป็นเรื่องบั่นทอนการเรียนการสอนทั้งสิ้น โดยเฉพาะการสอน “อ่าน” ที่ต้องใช้ความมุ่งมั่นตั้งใจของครูอย่างจริงจังและต่อเนื่อง..

การอ่าน...เป็นทักษะ ที่ต้องใช้เวลา มีกระบวนการและเครื่องมือ เริ่มจากพื้นฐาน อนุบาล และเข้มข้นที่ชั้น ป.๑ ..ใช้เวลายาวนานสั่งสมและซ่อมเสริม ไปจนถึงชั้น ป.๖ ..พ้นจากนี้แล้ว..จะพัฒนาหรือแก้ปัญหาอะไรไม่ได้แล้ว..

ไม่มีสุขใดไหนเท่า..เมื่อเราเป็นครู.แล้วเห็นพัฒนาการของเด็ก ทำให้เด็กอ่านออก และก็ไม่มีทุกข์ใดไหนเท่า..เมื่อครูรับเด็กที่เลื่อนชั้นขึ้นมาแล้วพบว่า..มีเด็กอ่านไม่คล่องอยู่มากมาย..ปัญหานี้..กำลังไปกองอยู่ที่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น..

ทำไมผมจึงเชื่ออย่างนั้น..เพราะผมคิดว่าการสอนภาษาไทยไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่สำคัญกว่านั้น..ต้องรู้จริง และที่สำคัญที่สุดก็คือ..ครูต้องอดทน และคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น หรือ..เข้าใจ เข้าถึง และพร้อมที่จะพัฒนา..นั่นเอง..

ประการสุดท้าย..ที่ขาดไม่ได้เลย คือ การนิเทศ กำกับ ติดตามของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด..รู้ข้อมูลทางวิชาการทุกชั้นเรียน..รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล สนใจที่แก้ปัญหาการอ่าน อย่างจริงใจ..ไม่ทำแบบไฟไหม้ฟาง หรือทำตาม “คำสั่ง”อยู่ร่ำไป..

จากการสำรวจและกำกับติดตาม..การอ่าน..ของนักเรียนทุกชั้น ผมเริ่มจะแน่ใจแล้วว่า..ผลพวงของปัญหาที่ตามมาจากการอ่าน..คืออะไร..อาจเป็นปัญหาในภาพรวมของประเทศแล้วก็ได้..นั่นคือ..เด็ก..อ่านแล้ว..คิด วิเคราะห์ไม่เป็น.. อ่านแล้ว..ตีความหรือเชื่อมโยงอะไรไม่ได้เลย..นอกจากอ่านเป็นนกแก้วนกขุนทองไปเรื่อยๆ..

ผมบอกครูเสมอว่า..นับวัน..ข้อสอบอ่านคิดวิเคราะห์ จะยากและมีมาตรฐานมากขึ้น..ครูตระหนักและเรียนรู้แล้วหรือยัง..ไม่จำเป็นต้องเป็นครูจบเอกภาษาไทยเท่านั้น..แต่ครูทุกคนต้องเข้าถึงเรื่องนี้..เพื่อเตรียมความพร้อม ..เพื่อสร้างเด็กให้มีทักษะชีวิตด้านประสบการณ์ทางภาษา..ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน..

ครูต้องเป็น”นักคิด” คิดว่าจะใช้สื่อใด มาให้เด็กอ่าน..เรื่องราวจากหนังสือพิมพ์ สารคดี หนังสือเด็ก บทร้อยกรองและบทเพลง ตลอดจนครูต้องเป็น”นักสร้าง” ด้วยการสร้างเครื่องมือทดสอบเด็ก ให้เด็กค้นคว้าและใช้ความคิด ในการตอบ ..

การใช้ข้อสอบเก่าก็เป็นสิ่งดี แต่ความหลากหลายในกระบวนการฝึกทักษะ ที่จะฝังลึกติดตัวเด็กไปตลอด จนกลายเป็นความเข้าใจอย่างแท้จริง อยู่ที่ครูจะต้องคิดเครื่องมือฝึกเด็กด้วยตัวครูเอง อย่างสม่ำเสมอ..เริ่มจากง่ายไปหายาก..

ผมทำแล้ว..เริ่ม PLC พร้อมกันทั้งครูและนักเรียน..หลังจากพบว่า..นักเรียนอ่านคล่องมาก แต่อ่านแล้วตอบคำถามไม่ได้เลย ผมจึงต้องเร่งแก้ไข ด้วยการช่วยครูคิดเครื่องมือ ครูช่วยผมออกแบบคำถาม..ผมใช้บทเพลงเป็นสื่อ...

เพลง..”คุณธรรมหนองผือ” ในจังหวะสามช่าที่เร้าใจนักเรียนมาตลอด เป็นเรื่องง่ายใกล้ตัวที่น่าเรียนรู้อย่างยิ่ง..เนื้อหามีอยู่ว่า..”พวกเราโรงเรียนบ้านหนองผือ เรายึดถือปฏิบัติคุณธรรม แปดประการพื้นฐานมาน้อมนำ เกิดสุขล้ำกำลังใจใฝ่ทำดี ซื่อสัตย์ กตัญญุูต้องรู้ก่อน อย่าแง่งอน ต้องสุภาพและสามัคคี ต้องมีน้ำใจ วินัยเน้นเป็นศักดิ์ศรี เพิ่มคุณค่าให้ชีวีมิเสื่อมคลาย...”

“พวกเราโรงเรียนบ้านหนองผือ ความสะอาด ต้องเลื่องลือไม่สูญหาย ประหยัดช่วยด้วยพอเพียงหล่อเลี้ยงกาย คือเป้าหมาย..ปฏิบัติธรรม..แปดประการ..”

ผมให้นักเรียนตอบคำถามแบบอัตนัย ๑๐ ข้อ เพื่อฝึกให้เด็กเขียนตอบ และจะได้สังเกตลายมือไปด้วย..คำตอบมีทั้งตรงประเด็น และให้แสดงความคิดเห็นได้ไม่มีถูกผิด..ยกตัวอย่างเช่น...

คุณธรรมของโรงเรียน..มีกี่ข้อ..อะไรบ้าง....

คุณธรรมข้อใดที่นักเรียนปฏิบัติอยู่แล้วเป็นประจำ......

นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองผือปฏิบัติได้อย่างโดดเด่น คือคุณธรรม.......

จงยกตัวอย่าง..ความสามัคคี...และ..ปฏิบัติตนอย่างไรที่เรียกว่า..”มีน้ำใจ”......

นักเรียนตอบคำถามได้ทุกข้อ..ใช้ความคิดและอธิบายได้อย่างชัดเจน จนผมรู้สึกว่าการใช้บทเพลง..ก็เป็นสื่อการอ่าน..ที่สามารถเข้าถึงตัวเด็กได้ง่าย และมีคุณค่า ไม่น้อยกว่าสื่อประเภทอื่น..

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๑๔  กันยายน  ๒๕๖๐






หมายเลขบันทึก: 636768เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2017 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2017 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เอามาฝากด้วยความคิดถึงชาวหนองผือจ้ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท