มีโอกาสดี ๆ ได้เข้าร่วมประชุม


" นักสร้างสุขภาพยุคใหม่ ที่มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ "

              มีโอกาสดี ๆ ได้เข้าร่วมประชุม...เมื่อวันที่  22-24 พฤศจิกายน 2549 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการประชุมโครงการ " นักสร้างสุขภาพยุคใหม่ ที่มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ " เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนนวตกรรมสร้างสุขภาพ ของเครือข่ายสาธารณสุขเขต 15 16 และ 17 ที่บอกว่า เป็นโอกาสดี ๆ เพราะ (เกือบ) จะ ไม่ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพราะต้องเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัด ทั้งนี้เนื่องจากตัวผู้เขียนเอง ทำงานบนสำนักงานสาธารณสุข ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า แทบจะไม่มีเงินในส่วนที่จะใช้จ่ายในการดำเนินการเบิกจ่าย ค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง และ ค่าที่พัก จึงทำให้หลายต่อหลายครั้งที่มีการประชุม หรือ การอบรมที่น่าสนใจ(แต่ต้องเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัด) นั้น มักจะถูกมองข้าม และเป็นที่น่าเสียดาย ที่จะต้องเสียโอกาสในการรับรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อที่จะนำมาสนับสนุนทางวิชาการกับสถานบริการ ในสังกัดต่อไป...

                    สำหรับทางออกของปัญหาครั้งนี้ สรุปด้วยการไม่ขอเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ตัวผู้เขียนเองมองว่า ในหน้าที่การงาน ตำแหน่ง นักวิชาการนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ใหม่และทันสมัยพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง และยอมรับกับทฤษฏีและสิ่งใหม่ ... หลายต่อหลายครั้ง มักจะมี กลุ่มคนบางกลุ่ม ที่บอกว่าการประชุมแต่ละครั้งมีแต่เรื่องเดิม ๆ ฝัน.. ลม ๆ แล้ง ๆ แล้วก็ ถอดใจ กลับไป (กินก๋วยเตี๋ยว) เช้าชาม-เย็นสองชาม เหมือนเดิม หากแต่ผู้เขียนมองว่า ถึงแม้เป็นเรื่องเดิม แต่เมื่อนำเรื่องเดิมนั้นมาผ่านกระบวนการคิดแล้วนำมาพูดใหม่ สิ่งหนึ่งที่จะได้ก็คือแนวคิดจากตัววิทยากรที่นำมาเสนอ และกระบวนการคิด กระบวนการจัดการกับปัญหา (ที่เกิดขึ้นจริง) จากผู้เข้าร่วมประชุมที่มีเวทีของการแลกเปลี่ยนอยู่เบื้องล่าง โดยเริ่มกันที่การนำเสนอนวัตกรรมสร้างสุขภาพ จากตัวแทน 2 จังหวัด ประกอบด้วย         ตัวแทนจากจังหวัดภูเก็ตนำเสนอ.. เรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับครอบครัว ค่ายครอบครัวหรรษา ซึ่งนำเสนอโดย นายทัสสะยุ เดชะโชติ ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข 7 ว. สถานีอนามัยบ้านม่าหมิก จังหวัดภูเก็ต ผู้นำเสนอสามารถนำประเด็น และชี้ให้เห็นถึงที่มาและความจำเป็นในการจัดกิจกรรม ค่ายครอบครัวหรรษา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนวตกรรมที่น่าสนใจ โดยสามารถนำความรู้ทางวิชาการมาบูรณาการเข้ากับเกมส์และกิจกรรมได้อย่างลงตัว (จนทางผู้เขียนต้องเดินตรงไปที่นิทรรศการของจังหวัดภูเก็ตเพื่อซื้อคู่มือการจัด กิจกรรม ค่ายครอบครัวหรรษา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ต่อไป ท่านต่อไปเป็นตัวแทนจาก จังหวัดระนองนำเสนอ...เรื่อง แผนที่ระบบ GIS เพื่อการดูแลแบบองค์รวม

ซึ่งนำเสนอโดย นายสมานิศ วิจิตร ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 6 สถานีอนามัยทุ่งมะพร้าว อำเภอกระบุรีจังหวัดระนอง เป็นอีกหนึ่งนวตกรรมที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องระบบข้อมูลข่าวสารในระดับสถานีอนามัยได้อย่างตรงประเด็น <p style="text-indent: 36pt; tab-stops: 66.0pt">         หลังจากนั้นเป็นการบรรยาย เรื่อง แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสุขภาพชุมชนและเกณฑ์มาตรฐาน PCU   โดย พญ.สุพัฒตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน</p><p style="text-indent: 36pt; tab-stops: 66.0pt"><div style="text-align: center"></div></p><p style="text-indent: 36pt; tab-stops: 66.0pt" align="left">     เป็นหัวข้อที่ผู้เขียนเองให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากส่วนหนึ่งของบทบาทหน้าที่การทำงานในปัจจุบัน ผู้เขียนรับผิดชอบงาน เป็นคณะทำงานพัฒนามาตรฐานสถานบริการให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน PCU (ทีม QRTระดับอำเภอ) แต่ต้องยอมรับกับตัวเองว่า ยังขาดประสบการณ์ และความรู้เรื่องในเรื่องนี้ หลายต่อหลายครั้งยังนั่งมองการทำงานของตนเอง ลองให้น้ำหนักของคำว่า ... ให้การสนับสนุนทางวิชาการแก่สถานบริการในสังกัด เพราะดูเหมือนว่าตั้งแต่รับผิดชอบงานนี้มา เป็นระยะเวลา ประมาณ 15 เดือน จากกระยะการทำงานจริง 19 เดือน ตนเองมีโอกาสได้รับ การเรียนรู้ (Learning) จริง ๆ เอาแบบเป็นประเภทที่เรียกว่าเป็น ความรู้ที่มาจาก  ข้อมูล (DATA) -> สารสนเทศ (Information) -> ความรู้ (Knowledge) ไม่ใช่รู้แบบ งู ๆ - ปลา ๆ ที่ใช้แก้ตัว ตัดปัญหาไปวัน-วัน ในเรื่องและประเด็นนี้น้อยมาก โดยมากจะเป็นการเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) จากเว็บไซต์ เว็บบอร์ด แต่ที่ได้มาจากการฝึกอบรมและเอกสาร ยังน้อยมาก พูดง่าย ๆ เคยรู้สึกตกใจ เมื่อไปเห็นคู่มือการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนที่สถานีอนามัยมี แต่หาไม่ได้บนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอผู้ซึ่งจะต้องมีบทบาทในการ ให้การสนับสนุนทางวิชาการ จนอดนึกน้อยใจไม่ได้.. ในการประชุมระดับ คปสอ. ที่ผ่านมาหัวหน้าสถานีอนามัยท่านหนึ่ง เสนอให้เชิญ QRTระดับจังหวัด มาเป็นผู้ชี้แจงเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัด นี่คือเสียงสะท้อนจากการทำงานในการ ให้การสนับสนุนทางวิชาการ ของ QRT ระดับอำเภอใช่หรือไม่ ?????? </p>

หมายเลขบันทึก: 63613เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2006 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"น้องเปิ้ล"

  1. ขอบคุณมากครับที่ช่วยสรุปการประชุมในครั้งนี้ให้รับทราบทั่วกัน
  2. ผมเชื่อว่าสิ่งที่น้องเปิ้ลทำดีแล้วครับ
  3. ผมตั้งคำถามต่อว่า การประชุมที่ใครๆ เขาไปกัน หลายต่อหลายครั้งนั้นน่ะครับ ได้มีการมาสรุปและเผยแพร่ต่อหรือไม่?
  4. ผมก็มีโอกาสดีที่ได้ทำงานพัฒนาคุณภาพฯ เช่นเดียวกันครับ เป็นทั้ง QRTระดับอำเภอ และ ในขณะเดียวกันก็เป็น QRTระดับจังหวัดด้วย ถ้ามีอะไรที่เป็นประโยชน์ ยินดีเป็นที่ปรึกษา และยินดีรับคำแนะนำครับ
  5. อยากให้น้องเปิ้ลแจ้งในที่ประชุมฯ ให้เจ้าหน้าที่ใน คปสอ. ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยนะครับ
  6. ผมได้บันทึกเรื่องนี้ด้วยภาพ ไว้ด้วยครับ <ที่นี่>
  7. ขอบคุณครับที่นำรูปผมมาลงด้วย.. เป็นกำลังใจให้อีกครั้งครับ

ตามมาเยี่ยมครับ

 

เจ้าของสวยจัง ขยันทำต่อไปครับในฐานะบุคคลากรสาธารณสุขเหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท