คนตาบอดและวิชาความคุ้นเคยฯ #3


พยายามดัดแปลงไม้เท้าให้ยาวขึ้น มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบา แต่แข็งแรง

     ประวัติโดยสังเขปการศึกษาของคนตาบอดและวิชาความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (ORIENTATION & MOBILITY) เล่าโดยคุณแฉล้ม  แย้มเอี่ยม โทรศัพท์  0-2895-4383, 0-1812-4790 ซึ่งตอนนี้เป็นการพัฒนาจนมีประสิทธิภาพในการใช้เป็นเครื่องมือนำทางคนตาบอด

ตอนที่ 3
     อย่างไรก็ตาม  ปัญหายังคงมีอยู่ต่อไป  เพราะคนตาบอดยังได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป  ยังถูกแบ่งกลุ่ม  และถูกกีดกันจากสังคม  แต่บังเอิญโชคดีที่ความกดดันจากความต้องการที่จะฟื้นฟูสมรรถภาพทหารที่พิการจากสงครามโลกครั้งที่ 2  ซึ่งมีจำนวนมาก จึงทำให้คนตาบอดมีโอกาสมากขึ้น  ทั้งในด้านการศึกษา  การฝึกอาชีพ  การจ้างงาน  คลอดจนการอยู่ร่วมในสังคมปกติ

     วิชาที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับคนตาบอดที่จะต้องเรียนรู้ในสมัยนั้น  คือวิชาเกี่ยวกับระบบการเดินทาง  (a system of travel) คือ วิชา ORIENTATION (ความเข้าใจในสภาพแวดล้อม) AND MOBILITY (และการเคลื่อนไหว) ซึ่งเริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในปี  พ.ศ.2493  เพราะ  ดร.ริชาร์ด  ฮูเวอร์  (DR.RICHARD  HOOVER)  ผู้อำนวยการศูนย์กายภาพบำบัด  ของโรงพยาบาล     วัลเลย์  ฟอร์จ  (Valley  Forge) เมืองไฮน์  (Hines) รัฐอิลลินนอยส์  (Illinoiye) และคณะ  สังเกตเห็นทหารผ่านศึกตาบอดจากสงครามโลกครั้งที่  2  ใช้ไม้เท้าสั้น ๆ ขนาดใหญ่และหนัก  เดินแกว่งไปมาอย่างสะเปะสะปะไม่น่าดู  พวกเขารู้สึกหดหู่ใจกับสภาพเช่นนั้นมาก  จึงช่วยกันคิดเพื่อแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้น  โดยให้ฉายาพวกตนว่า  “Foot  Travel Trainess”  ซึ่งมีความหมายว่า  “คณะฝึกเดิน” 

     ดร.ริชาร์ด  ฮูเวอร์  และคณะพยายามดัดแปลงไม้เท้าให้ยาวขึ้น  มีขนาดเล็กลง  น้ำหนักเบา  แต่แข็งแรง  จึงเลือกใช้อลูมิเนียม  และได้คิดระบบการจับและแกว่งไม้เท้าใหม่  จากการจับและแกว่งทางด้านข้างลำตัว  มาเป็นด้านหน้ากึ่งกลางลำตัว  ระดับใต้เข็มขัด  เพื่อให้ปลายไม้เท้าได้สำรวจสิ่งกีดขวาง  ซึ่งอยู่ข้างหน้าก่อนที่เท้าจะก้าวถึง  วิธีการดังกล่าวของ  “คณะฝึกเดิน”  ได้เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสอนการใช้ไม้เท้าให้คนตาบอดในปัจจุบัน  อันเป็นผลให้  ดร.ริชาร์ด  ฮูเวอร์  ได้รับการยกย่องให้เป็น  “บิดาแห่งไม้เท้าขาวโลก”  (The father of the White Cane)  และถือว่า    วันที่  15  ตุลาคม  ของทุกปีเป็นวันไม้เท้าขาวโลก  ตามประกาศของประธานาธิบดีลินดอน บี จอนซัน (Lyndon B. Johnson)  แห่งสหรัฐอเมริกร  ดร.ริชาร์ด  ฮูเวอร์  ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  7  กรกฎาคม  2529

     ตอนที่ 4 จะเป็นการการเข้ามาในประเทศไทยของไม้เท้าขาว

[ตอนที่ 1]  [ตอนที่ 2]  [ตอนที่ 3]  [ตอนที่ 4]

หมายเลขบันทึก: 6350เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2005 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท