ไทยกับการก้าวสู่ความเป็น HUB ด้านขนส่งแห่งอินโดจีน


พระราชบัญญัติขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 มีขึ้นเพื่อเป็นการบุกเบิกและวางรากฐานให้กับระบบการขนส่งของไทย เพื่อความก้าวหน้าและพัฒนาต่อเนื่องไปสู่ความเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง (HUB) แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไปในอนาคต

mto

                               

                                           

พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548

เป็นกฎหมายที่สำคัญอันหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเปิดหน้าใหม่ให้กับวงการขนส่งเมืองไทย และแสดงถึงศักยภาพในการพัฒนากฎหมายการค้าระหว่างประเทศของมือกฎหมายในบ้านเมืองเราอีกทางหนึ่งด้วย

                                              การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งในประเทศไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มักจะปรากฏว่า การขนส่งทางถนนได้รับการพัฒนามากกว่าการขนส่งในสาขาอื่นๆ ในขณะที่การขนส่งที่เป็นการขนส่งครั้งละมาก ๆ หรือ mass transportation เช่น การขนส่งทางรถไฟและการขนส่งทางน้ำ มีแนวโน้มการพัฒนาไม่มากนัก   ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขนส่งทางถนนสามารถให้บริการในลักษณะ door-to-door ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงแหล่งผลิต ท่าเรือ และประตูของผู้รับ/ผู้ส่งได้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งหลายครั้ง แต่การขนส่งทางถนนมิได้มีลักษณะเป็น mass transportation จึงอาจส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าสูงกว่าการขนส่งทางน้ำและรถไฟ และต้นทุนการส่งออกสินค้าโดยรวมของประเทศไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งในตลาดโลก ยิ่งไปกว่านั้นรัฐยังต้องรับภาระจัดสรรงบประมาณจำนวนมากในแต่ละปี เพื่อซ่อมบำรุงถนนให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ รวมทั้งยังต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ประชาชนต้องประสพปัญหาการจราจรติดขัด มลพิษจากควันฝุ่นและเสียงจากยานพาหนะและจำนวนอุบัติเหตุทางถนนที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น

mto2

                                กระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งส่วนใหญ่ของประเทศ ได้เล็งเห็นปัญหาของความไม่สมดุลในการพัฒนาและการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว จึงมีนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำและทางรถไฟมากขึ้น   ปรับลดสัดส่วนการลงทุนในส่วนของการก่อสร้างถนนลง พร้อมไปกับการพัฒนาและปรับปรุงการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน (Intermodal Linkage) และบริการการขนส่งสาขาต่างๆ ที่มีอยู่ให้สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบทั้งในประเทศและกับประเทศเพื่อนบ้าน

mto4

                                   การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport)  เป็นรูปแบบการขนส่งสินค้าด้วยวิธีการผสมผสานการขนส่งหลายรูปแบบจากสถานที่หนึ่งหรือจากผู้ส่งสินค้าต้นทางไปสู่สถานหนึ่งหรือต่อเนื่องไปจนถึงสถานที่หรือผู้รับสินค้าปลายทาง โดยการส่งมอบนั้น อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการขนส่งรายเดียว หรือภายใต้สัญญาขนส่งเพียงฉบับเดียว

 

                                 เป็นลักษณะการขนส่ง ซึ่งเหมาะสำหรับการขนส่งเชื่อมโยงในระดับภูมิภาคหรือการขนส่งระหว่างประเทศ โดยการผสมผสานการขนส่งสินค้า จากที่หนึ่งที่ใด (One Point) หรือจากประเทศหนึ่งประเทศใด ไปสู่อีกที่หนึ่งหรืออีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่เป็นจุดพบสุดท้าย (Interface Final Point) โดยใช้รูปแบบการขนส่งตั้งแต่ 2 รูปแบบขึ้นไป ภายใต้การบริหารจัดการของผู้ขนส่งรายเดียว และมีสัญญาขนส่งฉบับเดียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาของการขนส่ง (Just In Time) , ลดต้นทุน (Reduce Transport Cost) , เพิ่มประสิทธิภาพให้มี ศักยภาพการแข่งขัน (Core Competitiveness) และให้สินค้ามีและความปลอดภัยที่ดีกว่า (More Cargoes Security) หรือเป็นวิธีการขนส่งสินค้าแบบเบ็ดเสร็จที่ครอบคลุมการขนส่งทุกประเภท โดยผู้ประกอบการเพียงรายเดียว ในการสนองความต้องการของกระบวนการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Logistics และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ Supply Chain ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนของคลังสินค้า , ต้นทุนที่เกี่ยวกับการผลิต และการกระจายสินค้า

 

                                เป็นการนำเสนอบริการที่ครบวงจรแบบเบ็ดเสร็จ ทำให้ผู้ส่งสินค้าสามารถติดต่อผู้รับขนส่งสินค้าหรือผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่เรียกว่า Multimodal Transport Operators (MTOs) เพียงรายเดียว   ซึ่งจะรับผิดชอบการจัดการขนส่งสินค้าตั้งแต่ผู้ส่งต้นทางในประเทศจนถึงผู้รับปลายทางในอีกประเทศหนึ่ง (door-to-door service) รวมทั้งรับผิดชอบความเสียหายหรือสูญหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสินค้าระหว่างการขนส่งด้วย

mto3

องค์ประกอบที่สำคัญของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

  1. เป็นรูปแบบการขนส่งสินค้า หรือเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีลักษณะการขนส่งหลายรูปแบบมาผสมผสานกัน ภายใต้ผู้ให้บริการขนส่งรายเดียว ซึ่งจะต้องรับผิดชอบตั้งแต่สินค้าต้นทางไปถึงผู้รับปลายทาง
  2. การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ มุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพด้านต้นทุน เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทางถนน โดยการขนส่งประเภทนี้จะให้ความสำคัญต่อประเภทการขนส่งหลัก ได้แก่ การขนส่งทางรถไฟ หรือการขนส่งทางน้ำ โดยจำกัดระยะทางในการขนส่งทางถนนให้น้อยที่สุด รวมถึงการใช้ในระยะทางสั้นๆในช่วงต้นทางหรือในช่วงการส่งมอบสินค้าปลายทาง
  3. จะเป็นลักษณะของการขนส่ง ที่เรียกว่า Door to Door Delivery คือ การขนส่งจากประตูจนถึงประตู หรือ การขนส่งจากต้นทางไปถึงผู้รับปลายทาง 
mto5

 

                                    การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขนส่งสินค้าทั้งในและระหว่างประเทศมากขึ้น เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งให้มีมาตรฐานและมีโครงข่ายเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบการขนส่งอย่างเป็นระบบ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริมทั้งด้านนโยบายและงบประมาณจากภาครัฐ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงพิธีการศุลกากร ระบบธนาคาร ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ EDI ฯลฯ ให้เอื้อต่อธุรกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งต้องการความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เชื่อถือได้   และต้นทุนที่ต่ำเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก และสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการและประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น  

                                 อย่างไรก็ตาม หากเมื่อพิจารณาประเทศไทยในเชิงกายภาพ ในแง่ภูมิศาสตร์ ประเทศไทยตั้งอยู่ตรงกลางของกลุ่มประเทศอินโดจีน มีทางออกทะเลได้หลายทาง และมีถนนสายเอเชียที่สามารถติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้หลายประเทศ กับทั้งมีสนามบินซึ่งได้ชื่อว่าทันสมัย และกว้างขวางมาก คือ สนามบินสุวรรณภูมิ  จึงน่าจะเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมในการพัฒนาเส้นทางการขนส่งตลอดจนดุและระบบให้มีความทันสมัย รวดเร็ว แล้วมีกฎหมายรองรับการปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การก้าวสู่ความเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งแห่งลุ่มน้ำอินโดจีนคงเป็นจริงได้ในไม่ช้า   

ข้อมูลอ้างอิง จาก

http://www.v-servegroup.com/new/documment.php?Bookno=354 http://www.news.mot.go.th/iba_website/MOTInternational.asp http://www.marinerthai.com/sara/view.php?No=1006 http://www.mot.go.th/iba/ASEAN_FA_MT.htm http://www.tdri.or.th/h101_abs.htm

 ที่มารูปภาพ :

http://images.google.co.th/images?q=MTO&svnum=10&hl=th&lr=

 

หมายเลขบันทึก: 63483เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2006 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นำเสนอได้น่าสนใจมากเลยค่ะมีภาพด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท