เวทีแลกเปลี่ยน ของเขตพื้นที่การศึกษา เขต ๑


อนุบาล วัดเมือง

Km  เขต

เมื่อวันที่ ๒๓  พฤศจิกายน ๒๕๔๙  ได้เข้าร่วมการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ  ทีม KM ของ ฉะเชิงเทรา เขต ๑ ในประเด็น

๑.กำหนดแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

๒.แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

๓.การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

๔.การบริหารจัดการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

ผู้เข้าร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จำนวน  ๔ ทีม ได้แก่

๑.      ทีม KM  ร.ร.บางปะกง บวรวิทยายน

๒.    ทีม KM  ร.ร. วัดเกตุสโมสร

๓.     ทีม KM   ร.ร.ราษฎร์สโมสร

๔.     ทีม KM ร.ร. อนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์

โดยการนำของผู้บริหาร   ดำรงตำแหน่ง คุณเอื้อ ซึ่งทุกทีม ได้ดำเนินการในเรื่อง การจัดการความรู้ไปตามแนวทางของโรงเรียนตนเอง  สำหรับในวันนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ศึกษานิเทศก์ ในพิธีเด ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ให้เกียรติเป็นประธาน และกล่าวไว้ว่า KM หรือ การจัดการเรียนรู้ ตามที่ได้รับการอบรมและดำเนินการมาตลอด  ขณะนี้ได้จุดยืนหรือจุดมุ่งหมาย ร่วมกัน ๔ เรื่อง  ซึ่งตั้งเป็นประเด็นการจัดทำ KM ในครั้งนี้   จะนำไปสู่การพัฒนาและการวิจันในขั้นตอนสุดท้าย  และไปสุดปลายทางที่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา   ซึ่งเป็ฯส่วนหนึ่งจองการปฎิรูปการเรียนรู้  จนเกิดคำถามจากหายคนว่า ถ้าจะปฏิรูปใดๆ  เรื่องหนึ่ง  ซึ่งทางเขตพื้นที่การศึกษา  เขต ๑ เน้นหรือโฟกัสลงสู่เรื่องการส่งเสริมการรักการอ่าน  หากได้พิจารณาจะเห็นว่า ง่าย เพื่อเป็นกิจกรรมให้เด็กอ่านและทำกิจกรรมบางเล็กน้อย  แต่ ขอฝากให้เกิดทุกช่วงขั้น โดยเน้นจาก ป.๑ -  ป.๖ เป็นรายชั้นว่า ในชั้นเรียนใด เน้นการอ่านในระดับใด เช่น ป๑ ป๓ ให้อ่านคล่อง ส่วนในระดับ ป.๔   ให้เพื่อศักยภาพด้านการอ่านแล้วจับความสำคัญนำไปเผยแพร่ต่ออย่างมีหลักเกณฑ์จากนั้นนำไปบรูณาการไปสู่ เก่งดีมีสุข ในระดับ ม๑. ม.๓ เริ่มวิจัย   การทำโครงงาน  ซึ่งต้องอาศัยทักษะกานอ่านเป็นพื้นฐาน  ในระดับ มัธยมปลาย  ผู้ปกครองที่มุ่งเน้นให้เรียนต่อก็สามารถทำได้  โดนนำผลสัมฤทธิ์ ทุกด้าน เช่น A-net  O-net และอื่นๆ มาเชื่อมโยงกับการอ่านวาทำมาได้อย่างไรจากการอ่าน   ในสมัยที่เป็นเด็ก จะต้องเข้าประชุมแล้วท่องสูตรคูณ สวดมนต์ อาขยาน โดยไม่ต้องมีหนังสือ  จนปัจจุบันเรายังสามารถจนจำและปฏิบัติได้ โดยไม่ต้องมีเนื้อหาให้ดู   แต่ในปัจจุบัน จะไม่มีเด็กปฏิบัติได้   เราควรนำวิธีการนี้มาสู่การปฏิบัติ  ในกิจกรรมของโรงเรียนสุกหนึ่งกิจกรรม  ซึ่งอาจจะแบ่งออกตามช่วงชั้น รวบรวมเป็นเอกสารและใช้ชื่อเอกสารว่าแนวทาง  หากใช้คำว่า คู่มือ  ผู้ที่อ่านจะไม่คิดว่าจะต้องปรับปรุงอย่างไรให้เหมาะกับโรงเรียนของตนเอง   ซึ่งจะเกิดงานวิชาการซึ่งทุกโรงเรียนทำขึ้นเอง    ทางสำนักงานเขตพื้นที่จะทำให้เด่นชัดสักเรื่อง  โดยจากทุกคนในห้องนี้   สำหรับเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ให้ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลฯ พิชัย  ต.วัฒนผล เป็นผู้ดำเนินการ   ซึ่งเริ่มจากการสร้างความคุ้นเคยโดยการให้ทุกคนในห้องประชุมแนะนำตัวเองโดยเริ่มจากคุณอำนวยของแต่ละทีม

ทีม KM วัดเกตุสโมสร  บรรยากาศทีโรงเรียนใช้วิธีพูดแบบกันเอง ไม่เน้นเรื่องคุณอำนวย คุณกิจ คุณต่างๆ ให้มากนัก  กิจกรรมรักการอ่านได้จัดกิจกรรมตามตารางเดิมที่เคยทำเป็นประจำ แต่ยังจาดเรื่องการสรุปผล ว่าทำแล้วได้อะไร เป็นอย่างไร

                ทีม  Km วัดราษฎร์สโมสร  มีครู ๙ คน เมื่อดำเนินตามขั้นตอนที่ได้เข้ารับการอบรมมาและทำในแต่ละผลักกันเป็นในตำแหน่งคุณต่างๆ ตามที่อบรมทำให้คลี่คลายปัญหาได้พอสมควร  เรื่องกิจกรรมรักการอ่าน  ผู้บริหารลงมือประเมินติดตามด้วยตนเองของนักเรียนเป็นรายบุคคล

                ทีม KM ร.ร.บางปะกงบวรวิทยามีผู้ร่วมทีมคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าห้องโสต หัวหน้าสาระกลุ่มวิชาภาษาไทย และผู้รับผิดชอบด้าน Blog

            ทีม KM ร.ร.อนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์  ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน  คุณอำนวย ที่รับผิดชอบเรื่อง KM  คุณกิจของวิชาวิทยาศาสตร์ ภาษาไทย  คุณลิขิต และคุณ Wizard

            ผู้อำนวยการโรงเรียนซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการเสนอแนะให้ศึกษานิเทศก์เขตเป็นผู้สกัดขุมความรู้เพราะต้องอาศัยความสามารถและประสบการณ์ที่ชำนาญการพอสมควร  และเส้นทางเดินในวันนี้ ทีม KM ได้นำผู้รับผิดชอบการอ่านมาโดยตรง  ครูทุกสาระวิชา ใช้วิธีอย่างไรในการส่งเสริมการอ่าน ให้เกิดการรักการอ่าน และขอฝากกับทุกโรงเรียน   การส่งเสริมรักการอ่าน ต้องสอดคล้องกับทุกกลุ่มสาระ และจะไล่เลียงทีละหัวข้อเพื่อให้ ทีม KM ของเขต ได้เพิ่มประสบการณ์

ประเด็นที่ ๑  การกำหนดแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

๑.      โรงเรียนอนุบาล ในระดับอนุบาลเริ่มที่ให้เด็กหยิบหนังสือที่สนใจ  และให้ครูค้นหาหนังสือที่เหมาะกับเด็กเพิ่มเติม  ป๑-ป๓ แด็กที่อ่านไม่ได้ มีวิธีอย่างไร ให้เด็กมาอ่านหรือชักชวนอย่างไร

๒. โรงเรียนบางปะกง  การส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน  จัดกิจกรรมสอดแทรก  โดยใช้แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลน    อ่านตอนเช้าวันละ ๑๕ นาทีในกิจกรรม Home Room โดยไม่กำหนดรูปแบบของหนังสือ  บันทึกการอ่าน  และในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ บูรณาการรักการอ่าน เช่นเมื่ออ่านจบให้ทำ Short Note ในเรื่องที่อ่าน

๓. โรงเรียนวัดเกตุสโมสร  กำหนดแผนจากการเข้าอบรมมา  เริ่มประชุมปรับความเข้าใจให้คณะ แล้วดูตัวอย่าง วีซีดี ของโรงพยาบาลบ้านตากและฝึกทำ ซึ่งประเด็นที่ทำตรงกับของสำนักงานเขตการศึกษา   โดยให้ครูเล่าเรื่องที่ประสบความสำเร็จ และสกัดเป็นขุมความรู้ ดังนี้

    ๓.๑ การวิเคราะห์เป็นรายบุคคล

    ๓.๒ ใช้สื่อที่หลากหลาย

    ๓.๓ การเสริมสร้างแรงจูงใจ

    ๓.๔ ใช้กิจกรรมเสริม

    ๓.๕ การติดตามและสรุปผล

๔.โรงเรียนวัดราษฎร์สโมสร  กำหนดแผนจากการสำรวจความต้องการของผู้ปกครองในแต่ละชั้นเรียน   ให้ครูเล่าเรื่องที่ประสบความสำเร็จ จากนั้นนำความต้องการของผู้ปกครองมาผสมผสานกัน

 

เรื่องเร้าเล่าพลังประเด็นแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

๑ โรงเรียนวัดราษฎร์สโมสร   มีแนวทางดำเนินกิจกรรม แบ่งออกเป็น

    - รายวัน   กิจกรรมยอดนักอ่าน   กิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกเรื่อง

    - รายภาคเรียน   สรุปผลกิจกรรมยอดนักอ่าน

    - รายปี  กิจกรรมครอบครัวรักการอ่าน

๒.โรงเรียนวัดเกตุสโมสร  จากแนวคิด ถ้าไม่ถนัดจะไม่เกิดความรัก  จึงเริ่มปูพื้นฐานทั้งโรงเรียน  โดยคัดกรองเด็ก ให้กลุ่มเก่ง ประกวดการเขียน ทุกวัน  เมื่อสิ้นเดือน ครูตรวจส่งผู้อำนวยการโรงเรียน  และผู้อำนวยการโรงเรียนคัดเลือก ให้รางวัล  ขณะนี้กำลังทำเรื่องใหม่ คือ ประเมินเด็กผ่านเป็นระดับ  และหากมีความสามารถมากหรือเก่งจริงตามการประเมิน จะเรียนข้ามช่วงชั้นและจัดวุฒิบัตรให้   กลุ่มเด็กอ่อน  วิเคราะห์เป็นรายบุคคล นับจำนวนครูและจำนวนนักเรียนเด็กอ่อน นำมาหารกัน แล้วแบ่งนักเรียนไปสอนซ่อมเสริม  ช่วงพักกลางวัน   ช่วงชั่วโมงกิจกรรม (อันเนื่องมาจากสาเหตุครูหาผู้รับผิดชอบไม่ได้จึงนำมาซึ่งการแก้ปัญหาโดยการหารแบ่งเท่าๆกัน)   แล้วทำการประเมินทุกสิ้นเดือน  นำมาวิเคราะห์ผลสรุปหาสาเหตุแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไข การวิเคราะห์ต้องชัดชัดให้ได้ว่าเด็กอยู่ระดับใด และครูที่มีนวัตกรรมอย่างไรต้องนำมาให้เพื่อนครู และอธิบายขั้นตอนการใช้ให้ครูที่รับผิดชอบเด็กนำไปใช้กับนักเรียน

ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า เป็นกิจกรรมที่ทำให้เห็นผลของการส่งเสริมรักการอ่านที่ชัดเจน  และเป็นแนวทางการสอนซ่อมเสริม  เป็นขุมความรู้ในการแบ่งกลุ่มเด็ก

๒.    โรงเรียนบางปะกง  สอนแทรกกับการเรียนการสอน มีการคัดกรองเด็กตามหลักวิธีที่นิยมกันในปัจจุบัน จนได้กลุ่ม แบ่งกิจกรรมที่ปฏิบัติได้ดังนี้

-    รายวัน   ฟังทุกงานอ่านทุกคน  บันทึกการอ่าน  สมุดรักการอ่าน

-    รายสัปดาห์  ห้องสมุดจัดกิจกรรมแข่งขันในวันพุธ ทุกวัน เช่น เปิดพจนานุกรรม   อักษรซ้อนคำ   ยามสำนวน

-  รายเดือน   คัดเลือกยอดนักอ่าน  จากครูห้องสมุด  ครูประจำชั้นดูจากสถิติการยืมหนังสือ  สถิติการอ่าน

- รายภาคเรียน   คัดแยกเป็นช่วงชั้น หายอดนักอ่าน

ด้านภาษาไทย

-          จัดนักเยน ม.๑ เข้าค่าย ทำแบบทดสอบการอ่านการเขียน  นำกลุ่มเด็กมาฝึกและสอนโดยทบทวนจากความรู้เดิม แล้วเสริมของใหม่ จนถึงระดับ ม.๓

-          แต่งเรื่อง, ทำหนังสือเล่มเล็ก

-          มอบเกียรติบัตรให้แต่ละช่วงชั้นเรียน โดยแจกบนเวทีใหญ่  ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินเป็นตัวบ่งชี้ในการขึ้นรับเกียรติบัตร

    ๓.โรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ 

- ศึกษาสภาพการอ่าน  ประชุมหัวหน้าสายชั้น ชี้แจงมาตรฐานนิสัยรักการอ่าน

- ประเมินสภาพการอ่าน  แบ่งกลุ่มเป็น ๕ กลุ่ม คือ  เก่งเรื่อยไปจนถึง อ่านไม่ได้

- นำมาวางแนวทางในการแก้ไข  เสนอแนะ

 กิจกรรมในการดำเนินงาน

- รายวัน วางทุกงานอ่านทุกคน  ในช่วงพักกลางวัน   บันทึกการอ่าน  สรุปการอ่าน  ห้องสมุดเคลื่อนที่ แบบฝึกการอ่านแต่ละช่วงชั้นที่ละบท

- รายสัปดาห์ ตรวจบันทึกการอ่าน

- รายเดือน  ดูสุนทรพจน์   ตอบปัญหาสารานุกรม  เปลี่ยนหนังสือห้องสมุดเคลื่อนที่

- รายปี  สรุปให้รางวัลนักอ่าน  แข่งขันภาษาไทยตลอดปี

- บูรณาการให้เข้ากับทุกกลุ่มสาระ

 

เรื่องเล่าเร้าพลัง ประเด็น การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

๑ โรงเรียนอนุบาล  จากจำนวนนักเรียน สามพนคน  ครูทุกคนต้องช่วยกันโดย

-ในเวลาเรียน ครูรับผิดชอบในช่วงชั้นที่ ๑-๒ มีนวัตกรรมส่งเสริมการอ่านโดยอ่านกับครู หรืออ่านกับเพื่อน  แบบอ่านเอาจากหนังสือพิมพ์หรือเรื่องสั้น   แล้วให้สรุปเรื่องที่อ่าน  หรือจากการเล่าข่าว    กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ  ภาษาอังกฤษวันละคำ

- นอกเวลาเรียน  ในตอนเช้า เกร็ดความรู้   โดยให้ครั้งละน้อยๆ  ในตอนกลางวัน  เล่านิทาน เหตุการณ์ในวันสำคัญ กิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน  จัดซุ้มหนังสือ  มุมอ่านหนังสือตามระเบียงอาคาร  จัดป้ายนิเทศวันสำคัญในแต่ละเดือน  ประกวดและแข่งการคัดลายมือ  เรียงความ   อ่านทำนองเสนาะ  ตอบคำถามจากห้องสมุด

๒.โรงเรียนวัดราษฎร์  กิจกรรมที่ต่างออกไปจากโรงเรียนอื่น 

- เสียงตามสายในช่วงเช้า ให้นักเรียนทำใส่กระดาษเอ ๔  ให้มี คำ  ความหมายของคำ แต่งประโยคอยู่ในแผ่นเดียวกัน แล้วนำเสนอ  จากนั้นติดบอร์ด   นักเยนที่ไม่ได้นำเสนอต้องไปจดบันทกจากบอร์ด  ในวันต่อมา นำบางแผ่นออก แล้วนำแผ่นใหม่ติดแทน

- เวลากลางวัน  นำหนังสือใส่ตะกร้า วางตามโต๊ะ  เมื่อทานอาหารเสร็จ  เมื่อถึงเวลาที่กำหนด นักเรียนจะมานั่งรวมกันที่โต๊ะ อ่านแล้วจดบันทึกการอ่าน   ครูประจำชั้นตรวจทุกสัปดาห์  ว่าเขียนสรุป ถูกต้องหรือไม่  ใช้เวลาประมาณ ๑ ๑ ๑/๒ เดือน   ผู้บริหารจะเรียนตรวจที่ละคนว่า เขียนถูก เขียนสวย  สรุปเรื่องถูกหรือไม่  แล้วมีบันทึกการประเมินและข้อเสนอแนะ แนวทางให้ครูประจำชั้น

- เล่าเรื่องวันสุดสัปดาห์  จับฉลายนักเรียน ๑ คน เล่าเรื่องที่อ่านในสัปดาห์นั้นๆ ให้เพื่อนฟัง ๑ เรื่อง  หรือเล่าหนังสือดีในดวงใจ  บอกว่าชอบตรงไหน  ชอบอย่างไร  หรือ มีคติสอนใจในเรื่องใด   การติดตามผลงาน  ผู้บริหารจะเรียนเด็กมาสอบการอ่านทีละคน  วันละชั้นเรียน  และมีบันทึก  แนวทาง  ให้ครูประจำชั้น

 

เรื่องเล่าเร้าพลัง ประเด็น การบริหารจัดการส่งเสริมการอ่าน

๑.โรงเรียนบางปะกง   อ่านเสร้างสรรค์เพื่อสังคม   อ่านเพื่อส่งประดิษฐ์  ปรับโครงสร้างเวลาของหลักสูตร  ทุกโครงการสอดแทรกนิสัยรักการอ่าน  แล้วติดตามผลประจำปี

๒. โรงเรียนวัดเกตุสโมสร  ประชุมแบ่งงาน  กลุ่มทักษะต้องทำบ่อยๆทำเยอะๆ  จากวิธีคิดของโรงเรียนเอกชน ที่เสียเงินแต่ยังมีคนเข้าเรียนมาก  นำมาปรับใช้ โดยค่อยๆเพิ่มวันละนิด  ให้ครูทุกคนร่วมกันรับผิดชอบ โดยนำมาแบ่งหารกัน  ค้นหาวิธีให้การชมเชย

๓.โรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์     การบริหารจัดการ  การมีส่วนร่วมของทุกคน  ห้องสมุดเปรียบเหมือนร้ายขายผลไม้  จะหากินเมื่ออยาก  ดังนั้นต้องย้ายห้องสมุดให้ใกล้ๆ  ต้องสร้างสิ่งเร้าให้มาก  ปรับให้เห็นแล้วอยาก  ทำให้มีชีวิต   ปรับปรุงให้คล้าย เซเว่นอีเล็ฟเว่น     ในระดับปฐมวัย  เน้นเด็กหาหนังสือที่สนใจ  ให้ยืมกลับบ้านได้ แล้วขอความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง เพื่อนำเรื่องมาเล่าให้เพื่อนฟังในวันรุ่งขึ้น หรือวันต่อๆไป  แนะนำผู้ปกครองในการเลือกซื้อหนังสือ หรือของเล่น เช่น จะได้อะไรจากความสนุก  หรือจะได้อะไรจากหนังสือที่ซื้อ  ในวิชาวิทยาศาสตร์  ให้เกิดการรักการอ่านแบบวิทย์  ให้เด็กเปิดใจกว้าง  กำหนดให้สร้างหนัสือ ๑ เล่ม  การค้าแล้วคว้า นำมาสรุป  ตั้งคำถามที่ค้นคว้านำมาสรุป โดยให้มีตัวเลือก ๓ ตัวเลือก และตัวเลือกที่ ๔ เปิดกลว้าง  หรือ ทำแบบมีเฉลยและคำอธิบายเพื่อเพิ่มเติม  คำถามน่าร็ในห้องเรียนสีเขียว 
คำสำคัญ (Tags): #อนุบาล#วัดเมือง
หมายเลขบันทึก: 63466เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2006 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
คณะวิจัยโครงการ ยินดีต้อนรับค่ะ ขอบคุณนะคะที่นำมาเล่าให้ฟัง อ่านแล้วมีความสุขที่ได้เห็นความเคลื่อนไหวของเพื่อนร่วมโครงการค่ะ

ได้อ่านข้อความของคุณ tadsanee แล้ว รู้ว่า ยังให้ความสนใจ เราอยู่ตลอด ทำให้มีกำลังใจ

พยายามแนะนำให้ทุกท่านรู้จัก Blog

อาจารย์คะพรุ่งนี้ พบกันค่ะ ดร.สุวัฒน์จะเป็นหัวหน้าทีมมาเยี่ยมค่ะ  อยากจะพบกับอาจารย์เพื่อชักชวนอาจารย์ให้เป็นปชส.ให้โครงการวิจัยแล้วนำข้อเขียนไปไว้ในแพลนเน็ต erkm ค่ะ  ถือว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวค่ะ

คุคุ อนุบาลสู้สู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท