เวทีแลกเปลี่ยน กุลุ่มสาระ


วัดเมือง กลุ่มสาระ

ในวันที่  ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ โรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ ๒ เป็นของระดับช่วงชั้นที่ ๒ ในครั้งนี้ ได้เชิญให้เข้าร่วมกลุ่มเป็นรายวิชา  ให้เข้าร่วมกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลังเป็นกลุ่มใหญ่เพียงหนึ่งกลุ่มเพื่อให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างกลุ่ม สาระ ซึ่งสาระที่เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่กลุ่มสาระภาษาไทย  กลุ่มสาระคณิตศาสตร์  กลุ่มสาระสังคมศึกษา  กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ การดำเนินการให้เริ่มทีละกลุ่มสาระ

 

เรื่องเล่าเร้าพลังกลุ่มสาระภาษาไทย

- ครูพรทิพย์  ถวิลรัตนกุล      ใช้บทบาทสมมุติจากบทเรียน  เช่น นายพรานเลี้ยงหมู จะทำให้เด็กสรุปและจดจำเนื้อเรื่องได้  กลังจากที่เล่าเรื่องให้เด็กฟังแล้ว  หาอาสาสมัครเล่นเป็นตัวละครที่เล่าหน้าห้องเรียน  จากนั้น ประเมินด้วยการตอบคำถาม ทำให้นักเยนตอบได้ถูกทุกข้อและทุกคน

-  ครูกัลยา  มหาศาล   ฝึกอ่านคำ เพื่อให้อ่านได้ โดยการสอบอ่าน   จากนั้นสอนพยัญชนะทีละตัว  นำไปผสมกับสระง่ายๆ   ฝึกผันวรรณยุกต์   เพิ่มตัวสะกด (เรียกการแจกลูก) โดยใช้บัตรคำ  บัตรอักษร   ฝึกการอ่าน  จนนักเรียนสามารถผสมคำและอ่านได้เอง

- ครูจินตนา        จากปัญหาการอ่านและเขียนตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด  จึงใช้เกมตัวสะกดที่ละแม่  โดยใช้บัตรคำ  เกมบัตรคำ  นำแบบฝึกมาให้ฝึกทำ

- ครูสมจินตนา  จากปัญหาการออกเสียงควบกล้ำ  ใช้วีธีดังความรู้เดิม  ใช้ใบความรู้คำควบกล้ำ  เพลงคำควบกล้ำ  กิจกรรมแยกคำ ร,ล  จากเพลง

- ครูมนฑิรา   เรื่องการอ่านจับใจความ  เพื่ออ่านแล้วรู้เรื่อง  สรุปสาระสำคัญของใจความได้  ใช้นิทานที่นักเรียนรู้จัก มาเล่าให้ฟังก่อน  แล้วช่วยกันสรุปตัวละคร  ว่า ทำอะไร  ที่ไหน  เกิดผลอย่างไร  ช่วยนักเรียนจับประเด็น  จากนั้นลำดับเหตุการณ์จากการเล่าชีวิตประจำวันได้   จะเชื่อมโยงกับการสรุปสาระสำคัญของนิทานได้   จากวิธีการนี้ ทำให้นักเรียนสามารถสรุปใจความสำคัญเป็น

- ครูอนงค์  การอ่านทำนองเสนาะ สังเกตจากการที่นักเรียนทุกคนชอบร้องเพลงอยู่แล้ว  จึงนำเทปให้ฟังหลายๆแบบ  แยกความแตกต่างของฉันทลักษณ์ให้นักเรียนทราบ    นักเรียนจะเริ่มรู้ว่าไพเราะ  แล้วขึงเริ่มให้ฝึกจากแบบในบทเรียน  ต่อด้วยแบบฝึกนอกบทเรียนโดยครูเลือกจากนิตยสารต่างๆ   สอนเทคนิคหลักเกณฑ์ให้   เช่น กลอนจะออกเสียงสูง ๒ วรรค  กาพย์ยานะ วรรค ๓ ขึ้นเสียงสูง ท้ายวรรคสองเสียงจัตวา  เมื่อหมดชั่วโมงนักเรียนจะทวงถามว่า ตัวเค้าเองยังไม่ได้อ่าน  ขณะเดินนักเรียนก็จะอ่านออกเสียง

- ครูขวัญเมือง  ฝึกการคำคล้องจองจากเพลง โดยใช้เพลงสั้น เลือกบางช่วงให้นักเรียนหาคำเติมแทนที่คำเดิม

เล่นเป็นกลุ่มเพื่อให้ช่วยกัน  บางครั้งแข่งขันกัน เติมเร็ว  เติมให้แตกต่าง  เป็นรายบุคคลบาง  และใช้แบบฝึกการเรียนเพื่อสรุปความรู้

 

สกัดขุมความรู้สู่แก่น

๑.ภูมิปัญญา  คือ ความรู้เดิม  นิทาน  ใบความรู้    สาธิตให้ฟัง   คำประพันธ์ที่ไพเราะ  ข่าวและเหตุการณ์   เล่านเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน  เล่นนิทานจับประเ ด็น

๒.แหล่งเรียนรู้    อุทยานการศึกษา (ซุ้มจินดาภิรมย์)  มุมหนังสือ ห้องสมุด    ห้องสมุดเคลื่อนที่

๓.วิธีการสอน   อ่านจากง่ายไปหายาก  อ่านและเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด  อ่านในใจ  ให้เทคนิคการอ่าน  ฝึกซ้ำๆ    อ่านออกเสียง  การฝึกอ่าน   ฟังเทปทำนองเสนาะ  ใช้คำถาม  สนทนา  การแจกลูก  แก้ไขข้อบกพร่อง

๔.กิจกรรม   ฝึกอ่านกลอนในหนังสือ  ฝึกอ่านคำ  ฝึกอ่านกลอนที่ไพเราะ  กระบวนการกลุ่ม  บทบาทสมมติ  หาคำควบกล้ำจากเนื้อเพลง   แข่งขันต่อเพลง  ผันวรรณยุกต์  ฝึกร้องเพลง  ร้องเพลงเติมส่วนที่หาย  เล่นเกม

๕. สื่อ   เพลงคำควบกล้ำ  บัตรคำ   แบบฝึกที่ครูสร้างขึ้น  เกม  เทป  

เรื่องเล่าเร้าพลัง กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ 

- ครูวิไล  มานะวะ การอุ่นเครื่องเรื่องคณิต  ให้แบบฝึกคิดเลขเร็ว  จำนวน ๑๐ ข้อ   ต่อด้วยการเล่นเกม ๒๔ (ใช้แผ่นเกม ๒๔ )  จากนั้นตั้งโจทย์ ๔ หลัก ให้คิดและคิดเร็วให้ได้ ๒๔ เช่น พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้ บวก  หรือลบ  หรือคูณ  หรือ หาร  ให้ได้ ๒๔ หรือใกล้เคียงที่สุด  แล้วให้นักเรียนยกตัวอย่าง จากนั้นให้แบ่งกลุ่มเล่นเกมกันเอง ๒ ๓ เกม ซึ่งเด็กๆ จะชอบมาก เพราะสนุกและง่าย   ทำให้เด็กชอบเล่นทุกวัน  ทุกคนได้บันทึกคะแนนทุกวัน

- ครูจงกล   เกิดทรวงดี  จุดประกายคณิตด้วยคำถามและเกม โดยตั้งคำถามคณิตศาสตร์ง่ายๆ  จากเหตุการณ์ทั่วไป ให้ตอบเช่น  นำเงินมาเท่าไร  ใช้ไปเท่าไร  จะทำบุญเท่าไร เหลือเท่าไร  หรือวันหนึ่งเก็บเงิน ๓ บาทวันต่อๆไป เมื่อไรจะได้ ๑๐,๐๐๐ บาท  หรือมาเรียนคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์  หรือเศษส่วนเท่าไร  ต่อด้วยการเล่นเกม ๒๔  เริ่มจากง่าย ทำให้กระตุ้นให้เด็กคิดแล้วให้เป็นคะแนนสะสม  ตอนท้ายชั่วโมงเล่นเกม ยิงโก (เพื่อให้เกิดการวางแผน แก้โจทย์ปัญหา) และให้โจทย์จาก A Math กับนักเรียนที่เก่ง

- ครูบุษยา  เรื่องมุมด้วยแขนเรา  ให้ความรู้ชนิดของมุมต่างๆ  ลักษณะของมุม แล้วสาธิตการใช้สัญลักษณ์ แล้วให้มือ หรือ แขน ทำมุมฉาก  มุมแหลม มุมป้าน  มุมตรง   ให้นักเรียนทำตาม   นักเรียนจะสนุกกับการแสดงสัญลักษณ์ด้วยมือและแขน  ทำให้เกิดการจดจำได้ดี

- ครูนวลจันทร์  เรื่องแกนสมมาตร  ให้นำกระดาษมาตัดเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส  สี่เหลี่ยมผืนผ้า  แล้วหัดพับ ตามลักษณะของแกนสมมาตร  จากการพับ   เน้นย้ำการทำงานให้เรียบร้อย  ทำให้รู้เรื่อง สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้าได้อย่างดี

- ครูอัจฉรา  ไชยมโน  สรุปความรู้เป็นเกมประดิษฐ์จากสมการ เริ่มจากการทำสอนทำเกม  นำบัตรสมการที่รู้จักแปะใส่ในบัตรและระบายสี เช่น ๕+=๑๐   แล้วระบายสีตามที่แก้สมการได้  โดยระบายตามช่องที่กำหนดไว้ในตารางรูป

- ครูจงจิตต์  สูตรคูณบนเส้นรอบวง  แจกกระดาษที่มีรูปวงกลม และแบ่งส่วนของเส้นรอบวงไว้ ตั้งแต่เลข ๐ ๙ หรือ ๒ ๑๒ กำหนดจุดบากเส้น เช่น ๒ x = ๒ ให้ลากจาก ๐ ไป ๒  ลากจนครบทุกจุดจะได้รูปภาพที่

เกิดขึ้นในแบบลายเส้นเป็นภาพต่างๆ  ทำให้เด็กท่องสูตรครูได้แม่นยำขึ้น

 

สกัดขุมความรู้สู่แก่น

๑.เทคนิควิธีการสอน   เตรียมความพร้อม  ให้เด็กมีส่วนร่วม  แบ่งกลุ่มตามความสนใจ  สังเกต  การตั้งคำถาม  ทักษะการแก้ปัญหา  ประดิษฐ์อุปกรณ์สื่อใกล้ตัว  สาธิต  ทดลอง  กระบวนการกลุ่ม  กิจกรรมฐาน กระบวนการคิด  การแก้ปัญหา  ทักษะการใช้ประสาทสัมผัส

๒. สื่อและสื่ออีเลคโทนิค ใบความรู้  ใบงาน  แหล่งความรู้ในท้องถิ่นที่หลากหลาย  เช่น ห้องสมุด  อินเตอร์เน็ต  ภูมิปัญญาท้องถิ่น

๓. แบบทดสอบอิเลคโทรนิค  บันทึกข้อมูล  เขียนรายงาน  นำเสนอข้อมูล  เช่นรายงาน  ข้อมูลด้วยภาพ  นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

     

เรื่องเล่าเร้าพลังกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

- ครูเบญจมาศ แพน้อย กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์  (ฐานวิทยาศาสตร์) จุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนแสดงความสามารถของตนเอง  ไม่กำหนดความคิดให้ว่าต้องทำอย่างไร  ในชุมนุมวิทย์  ๙ กลุ่ม  ให้วางแผนและบอครูเพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัยและความเหมาะสม   เสนอแนะใบความรู้   โดยให้ดูตัวอย่าง  คิดระดมความรู้  วางแผนนำเสนออย่างไร  สรุปการทำ    และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม

- ครูทิวาทิพย์  พืชสร้างอาหารประเภทไหน  จุดประสงค์ให้นักเรียนเข้าใจระบบการทำงานของพืช  เมื่อเริ่มเรียน ให้ความรู้  ที่เกี่ยวกับโครงสร้างของพืช   นำใบพืชทดลอง   วิธีการตั้งปัญหา  แนะนำอุปกรณ์  ทดลองปฏิบัติ  ร่วมกลุ่มเขียนรายงาน ซึ่งต้องตั้งสมมุติฐาน  เขียนวิธีการทดลองโดยวาดรูป และสรุปผลการทดลอง  แล้วเริ่มทดลองจากข้อสรุปข้อกลุ่มตนเอง

- ครูแพรวพรรณ  การเลี้ยงผีเสื้อ  จุดประสงค์ฝึกการสังเกตจากการปฏิบัติจริง  ให้นักเรียนศึกษาผีเสื้อโดยการตั้งคำถามกระตุ้น  แล้วเลือกว่าจะเลี้ยงอะไร   แบ่งกลุ่มลงมติเลือกสัตว์  สรุปเป็นความรู้และเขียนโครงงานวัฎจักรชีวิตของสัตว์ที่เลี้ยง  ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ

 

เรื่องเล่าเร้าพลังกลุ่มสาระสังคมศึกษา

- ครูปวีณา   สงครามประวัติ  เล่า หรือแสดงท่าทาง  น้ำเสียงให้เหมือนในภาพยนตร์  หรืออยู่ในเหตุการณ์จริง แล้วให้ซักถาม  จากนั้นให้ดูวัตถุโบราณ หรือรูปภาพวัตถุนั้นๆ   จากใบงาน   เพลง อยุธยารำลึก เพลงฉะเชิงเทรา  เพลงศึกบางระจัน  แล้วแสดงความคิดเห็น   ให้สรุปเรื่องนั้นๆ  เด็กจะสนุกกับชื่อพม่าเช่น เหตุการณ์สงครามยุทธหัตถี

- ครูภิรมย์   พุทธศาสนา กับการฝึกสมาธิ   ใช้คำถามให้นักเรียนตอบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน  นำเข้าบทเรียนเช่น วันนี้เราไปเที่ยวภาคใต้  ให้นั่งนิ่งหลับตาและคิดวาดภาพตามที่ครูบอก ให้นักเรียนเข้าแถว สวมรองเท้า เดินลงบันได  ขึ้นเครื่องบิน ขณะนี้เครื่องบินขึ้นแล้ว รู้สึกอย่างไร  เก็บความรู้สึกนี้ไว้  เมื่อลงจากเครื่องบินแล้วจะทำอย่างไร  ใช้วิธีการพูดให้นักเรียนได้คิดภาพตามทึกอิริยาบถ  ลองถามว่าเห็นเรือเกยตื้นไหม  จะตอบเนื่องจากนักเยนอยู่ในภวังค์  เมื่อจบกิจกรรมให้ลืมตา ถามว่าได้ไปหรือไม่  ไปด้วยวิธีใด  ให้เด็กเล่าจากสิ่งที่ได้เห็นในครั้งนี้  และให้นักเรียนสรุปวิธีที่ทำเรียกว่าอะไร

-ครูพรรณี  ประวัติพระพุทธศาสนา ให้ดูจาก วีซีดี แจกใบงาน แล้วสรุปเรื่องเป็นความรู้

- ครูจินตนา  การเลือกซื้อสินค้า  แบ่งกลุ่มนักเรียน ออกสำรวจราคาสินค้าในตลาดจริง  กลับมาสรุปแล้วนำเสนอที่หน้าห้องเรียน

- ครู นลินี  ฝึกสมาธิ  เตรียมความพร้อมก่อนเรียน  จุดประสงค์ให้นักเรียนมีสมาธิ  ความตั้งใจ  มีจิตใจสงบ จำแม่น  โดยการบอกวิธีการนั่งสมาธิ   ผล ครูสังเกตุเห็นว่านักเรียนไม่วอกแวก

- ครู ดาวรัตน์   ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เด็กสัมภาษณ์ในบริเวณบ้านมีสินค้าอะไร  สร้างอย่างไร  จายอย่างไร แล้วรวมกลุ่มที่เหมือนกัน นำเสนอ  ทำโครงงานละครหน้าโบสถ์  ช่วยตั้งคำถามและสรุปคำถาม  จากนั้นนำไปสัมภาษณ์จริง โดยเด็กสัมภาษณ์ ทำแผนงานจริง  เริ่มจากที่เด็กสนใจในท้องถิ่น ไปสัมภาษณ์  กลับมาสรุป โดยเด็กเตรียมอุปกรณ์ของจริง  แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน

สกัดขุมความรู้สู่แกน

๑.ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย

๒.ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

๓.ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้

๔.ใช้กิจกรรมการสอนที่หลากหลาย

๕.มีการประเมินการจัดการเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 63464เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2006 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อาจารย์คะ ขออนุญาตตัดบางตอน ในส่วนที่เป็นเรื่องของกลุ่มสาระภาษาไทย ลงในเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการภาษาศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทานะคะ แล้วจะส่งมาให้ดูค่ะ

เป็นความปลาบปลื้ม ที่ได้รับโอกาสครั้งนี้ และเฝ้ารอ อยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท