ข้อเท็จจริงทางสังคม (Social fact)


“ไกลเกินที่เราจะใฝ่ฝันถึง และก็อะไรที่มันไกลเกินมันสร้างความทุกข์”

คำสั่งที่ 585/2549 ของศาลปกครองสูงสุด

กับบทวิเคราะห์ส่วนบุคคลในหัวข้อเรื่องข้อเท็จจริงทางสังคม(Social fact)

ระหว่างนายศาสตรา โตอ่อน ผู้ฟ้องคดีกับกระทรวงคมนาคม ผู้ถูกฟ้องคดีที่2 

ซึ่งผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทำ การยกเลิกสัญญาสัมปทานที่ทำ กับบริษัท ชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๔ ทั้งฉบับ 

จากแนวความคิดของ

คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ปี ค.ศ. 1818- ค.ศ. 1883

    แนวความคิดมาร์กซ์ในการศึกษาสังคมนั้นมาร์กซ์แบ่งโครงสร้างสังคมออกเป็นสองส่วน ดังนี้

1. โครงสร้างส่วนล่างหรือระบบเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย วิธีการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิต โดยที่โครงสร้างส่วนนี้จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมอันเกิดจากการแบ่งชนชั้นทางสังคมระหว่างชนชั้นผู้ปกครองกับชนชั้นผู้ใช้แรงงาน โดยชนชั้นปกครองจะเป็นผู้ผูกขาดปัจจัยการผลิตทั้งหมด * (ในประเทศไทยน้ำมันเสร็จไปแล้ว+ไฟฟ้า+ประปา+การสื่อสาร เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงค์ชีวิตในยุคนี้ก็ยังไม่แน่) ทำการเอารัดเอาเปรียบและกดขี่ข่มแหงชนชั้นผู้ใช้แรงงานอย่างต่อเนื่องด้วยการพัฒนาเทคนิคการผลิตให้ทันสมัยขึ้น(หรือการพัฒนาเทคนิคทางกฎหมายต่างๆ และนานาสารพัดข้ออ้าง ที่จะยังผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องไว้คงอยู่อย่างที่จะเห็นได้จากรัฐบาลชุดใครรักไทย ??? ทุกวันนี้ก็ยังงง?อยู่เลย ไม่ว่าจะทั้งพรรคคนเหนือหรือว่าพรรคคนใต้ โอ้จอร์จ What Choice ?? for Thailand) จนทำให้ผู้ใช้แรงงานเกิดความรู้สึกแปลกแยก(Alienation) เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเกิดความสำนึกทางชนชั้น และเกิดการปฏิบัติโค่นล้มอำนาจชนชั้นผู้ปกครอง

2. โครงสร้างส่วนบน ซึ่งประกอบไปด้วย สถาบันทางสังคมเช่น ระบบการเมืองการปกครอง ระบบความคิด ความเชื่อ และค่านิยมทางสังคมมาร์กซ์ไม่เชื่อว่าสังคมจะมีการบวนการจัดระเบียบให้เกิดความสมดุลย์ภายในสังคมด้วยตัวของมันเอง และมองว่าสังคมมีความขัดแย้งและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและจะเป็นผลทำให้เกิดการทำลายตัวมันเอง

  มาร์กซ์เชื่อว่าสังคมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของประวัติศาสตร์ที่กำหนดโดยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ของมนุษย์นั้นเกิดจากความขัดแย้งระหว่างชนชั้นทางเศรษฐกิจ สังคมศักดินา (Feudalism) เปลี่ยนไปเป็นสังคมทุนนิยม (Capitalism) และสังคมทุนนิยมจะเปลี่ยนไปเป็นสังคมแบบสังคมนิยม (Socialism)

อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) ปี ค.ศ. 1858 -ค.ศ. 1917

         เดอร์ไคม์ อธิบายว่า ความเป็นปรึกแผ่นของสังคมมี 2 แบบ คือ แบบแรกเรียกว่า ความเป็นปรึกแผ่นแบบกลไก (Mechanical solidarity) เกิดขึ้นในสังคมแบบดั้งเดิมที่มีโครงสร้างทางสังคมแบบง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน ภายในสังคมมีการแบ่งแยกแรงงานกันน้อย สมาชิกในสังคมมีความผูกพันต่อกันอย่างแน่นแฟ้นและด้วยความจริงใจต่อกัน สมาชิกในสังคมมีความรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ส่วนแบบที่สองเรียกว่า ความเป็นปรึกแผ่นแบบอินทรีย์ (Organic solidarity) เกิดขึ้นในสังคมสมัยใหม่ที่มีโครงสร้างทางสังคมแบบซับซ้อน ภายในสังคมมีการแบ่งแยกแรงงานตามความชำนาญเฉพาะด้านและเป็นไปอย่างสลับซับซ้อน สมาชิกในสังคมมีความผูกพันต่อกันอย่างผิวเผิน แต่ละคนมีความรู้สึกแบบปัจเจกบุคคล (Individualism) การรวมกันเป็นสังคมนั้นเกิดจากบุคคลที่มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน

        นอกจากนี้เดอร์ไคม์ยังได้อธิบายว่า การศึกษาทางสังคมวิทยาเป็นการศึกษาข้อเท็จจริงทางสังคม (Social fact) ซึ่งเป็นเรื่องชีวิตของสังคมที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยลักษณะทางชีววิทยาหรือจิตวิทยาของคนในสังคม แต่เป็นการศึกษาประสบการณ์ภายนอกของคนในสังคมที่อยู่ภายในสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยบังคับให้บุคคลต้องประพฤติปฏิบัติตาม เช่น บรรทัดฐานสังคม ค่านิยม ความคิด ประเพณี สถาบันทางสังคม และองค์กรทางสังคม **

กรณีศึกษา

        การขายหุ้น บริษัท ชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งป็นหุ้นในกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับเทมาเส็ก บริษัทข้ามชาติสัญชาติสิงคโปร์ นั้นหากไม่ใช่สัมปทานหรือสมบัติของชาติ ก็คงไม่มีว่า แต่เมื่อเรามองถึงที่มาที่ไปในเรื่องของวงโคจรของดาวเทียมไทยคมซึ่งถือว่าเป็นโควต้าของประเทศไทย และยังเป็นสมบัติที่สำคัญของชาติ ซึ่งโดยปกติการที่จะส่งดาวเทียมขึ้นไปบนอวกาศนั้นจะต้องมีที่พิกัดสำหรับใช้ในการจอดดาวเทียม และยังต้องมีการขออนุญาติกับ ITU ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศภายใต้องค์การสหประชาชาติ(UN) และสิ่งที่สำคัญนั้นคือ สิทธิที่ใช้ในการขอวงโคจรของดาวเทียมไทยคม ทุกดวงนั้นก็เป็นในนามของประเทศไทย ยังรวมไปถึง ไทยคม ซึ่งเป็นชื่อพระราชทานโดยองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานนามดาวเทียมของโครงการว่า ไทยคม ” (THAICOM) ซึ่งย่อมาจาก Thai Communications หรือ ไทยคมนาคม อันเป็นการแสดงสัญลักษณ์เชื่อมโยงประเทศไทยกับเทคโนโลยีสื่อสารใหม่        

        นอกจากนี้ในมาตรา 40 แห่งรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่าคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ทำให้เราได้มองว่าทำไมเขาถึงทำกันได้ขนาดนี้ทรัพยากรสื่อสารของชาติไทยเพื่อประโยชน์สาธารณะของคนไทยแต่กลับอยู่ในการกำกับดูแลของสิงคโปร์

         เรายังได้พบว่ายังมีหลายๆประเด็นที่ กระทรวงคมนาคม  ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2  ในชนชั้นปกครอง สมัยก่อนนั้นที่มีเรื่องอื่นๆอีกมากมายเช่น โครงการ/เรื่องเร่งด่วนของกระทรวงคมนาคม  ได้แก่ (คลิ๊กดูรายละเอียดได้จาก 3 หัวข้อดังกล่าว)

1.       การแปรรูปการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ???

2.       การแปรรูปบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ???

3.       การแปรรูปการท่าเรือแห่งประเทศไทย ???

สรุป จากความคิดส่วนตัวแล้วผมคิดว่า กระทรวงคมนาคม  ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 อาจมิได้ทำหน้าที่กำกับดูแลได้อย่างเต็มที่เพราะปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญานี้ได้ถูกถ่ายโอนไปให้กระทรวง ICT แล้วซึ่งกระทรวง ICT ก็น่าจะเป็นผู้รับผิดชอบเสียมากกว่า ทั้งเรื่องของคำตอบต่างๆ ที่จะตอบต่อสังคม ทั้งในแง่ อำนาจหน้าที่และจริยธรรมต่อบ้านเมือง ต่อปัญหาการขายหุ้นชินคอร์ปนี้ และในความคิดส่วนตัวแล้วกระทรวงคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นในนามรัฐบาลชุดไหนก็ตาม ก็อยากให้ทำการพิจารณากันใหม่ใน โครงการ/เรื่องเร่งด่วน เพราะปัจจุบันชาวบ้านเขารู้กันหมดแล้ว ว่านโยบาย-โครงการเหล่านั้นจะทำประเทศชาติเสียความเป็นไทยทางเศรษฐกิจ ได้โปรด STOP STOP STOP ! ! ! ! ! คิดสร้างสรรค์หาสิ่งดีๆให้กับคนไทยและประเทศชาติบ้างเถิดครับ และในส่วนข้อเท็จจริงทางสังคมในความคิดผมนั้นจะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยเรานั้นก็ไม่ค่อยออกมาเรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองเท่าไหร่ ผมคิดว่าคงต้องมีการเพิ่มความเข้มข้นของเนื้อหาในการศึกษาของระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานเช่นระดับ ม.1 จนถึงระดับ ม.3 (แบบว่าเอา case จากคำพิพากษาและโทษ เพื่อให้เกิดจิตสำนึก)สำหรับเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยให้มากกว่านี้  สังคมไทยเราอาจจะดีขึ้นกว่านี้ในอีก 10 ปีข้างหน้าครับ

ความหมายของนอมินี

http://www.bangkokbizweek.com/20060402/localbiz/index.php?news=column_20377893.html

หมายเลขบันทึก: 63429เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วค่ะ

นึกตามเลยแหละ

ตกลงศาลปกครองน่าจะยกคำฟ้องในส่วนกระทรวงคมนาคมไหมคะเนี่ย

น่าจะถาม อ.ศาสตรานะคะว่า ทำไมจึงฟ้องกระทรวงคมนาคมนะคะ

 

อ่านแล้วนะครับ

เป็นกรณีศึกษาที่ดีครับ สอดคล้องกับทฤษฏีมาก

แต่อยากทราบเหมือนกันว่าทำไมถึงยกฟ้อง

รบกวนช่วยเอามาโพสต่อด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท