คิดเรื่องงาน (93) : เอา Blog (Gotoknow.org) เย็บเล่มเป็นของฝาก


แทนที่จะเอาไฟล์มาจัดใหม่ในรูปของหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คเหมือนที่ทำกันเป็นประจำ ซึ่งจะว่าไปแล้ว ถ้าทำเช่นนั้นย่อมดูดีและมีมูลค่ามากกว่าปริ้นออกมายังไงก็เอาไปเข้าเล่มแบบสดๆ อยู่วันยังค่ำ ใช่ครับ - ยืนยันว่า ผมมีเจตนาชัดเจนว่าจะคงไว้ซึ่งรูปลักษณ์ต้นฉบับแบบโดยไม่ต้องประดิดประดอยใหม่ ไม่ใช่ติดกรอบเรื่องเวลา หรืองบประมาณอันน้อยนิดหรอกนะครับ แต่ทั้งปวงนั้นคือผมปรารถนาให้ "ผู้รับ" ได้เห็นแหล่งความรู้ หรือคลังข้อมูลของ Gotoknow.org เผื่อบางทีพวกเขาจะได้เข้าไปสืบค้นเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือแม้แต่เข้าไปเขียน Blog ด้วยตนเอง

ในวันที่กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้มาศึกษาดูงาน  (วันที่ 16 สิงหาคม 2560)   สิ่งที่ผมย้ำเน้นกับนิสิตและทีมงานอย่างหนักแน่นก็คือ  "เขาดูเรา-เราดูเขา"  ซึ่งนั้นก็เป็นไปในครรลองเดียวกับ "รู้เขา-รู้เรา"  นั่นเอง

ความหมายที่ว่านั้น - หมายถึง  ผม ทีมงานและนิสิต  ไม่ค่อยได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานด้านกิจการนิสิตในกระบวนการนอกหลักสูตร หรือกิจกรรมนอกหลักสูตรเท่าใดนัก  เรียกว่า  ปีละครั้งก็ยังยาก  ด้วยเหตุนี้จึงบอกย้ำกับทุกคนว่า  "เมื่อเขามาดูงานเรา เราก็ดูงานเขาไปในตัว  เป็นการศึกษาดูงานในสถานที่ของเราเอง  ซึ่งเราต้องฉลาดพอที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มาเยือน  มิใช่สะท้อนข้อมูลอันเป็นตัวเองฝ่ายเดียว  หรือเป็นผู้ให้แต่เพียงฝ่ายเดียว  โดยไม่สนใจใคร่รู้เรื่องราวของเขา-ผู้มาเยือน" 

ใช่ครับ  ผมพูดและย้ำเช่นนั้นจริงๆ ..

เป็นการพูดและย้ำที่มีความนัยอันสำคัญถึงความเป็นศาสตร์และศิลป์ของการ "นำเสนอ"   เชื่อมโยงถึงศาสตร์และศิลป์ของการ "ตอบคำถาม" หรือแม้แต่ "ซักถาม"  เช่นเดียวกับทักษะอื่นๆ  ที่ว่าด้วยการฟัง  การวิเคราะห์สาร  การจดบันทึก  

รวมถึงการทบทวนตัวเองว่า "มีอะไร"  !   และนั่นก็หมายถึง "พูดในสิ่งที่ทำ  ย้ำในสิ่งที่มี"  

มิใช่  "ยกเมฆ"  หรือ "ชักลากแม่น้ำหลากสายมาอย่างเปล่าเปลือง"  เพียงเพื่อจะสร้างภาพโดยปราศจากมูลความจริง


อีกประเด็นที่ผมย้ำเน้นกับทีมงานอย่างหนักแน่นก็คือการจัดเตรียมเอกสารให้กับผู้มาศึกษาดูงาน

กรณีนี้ผมพูดกับทีมงานว่า  การให้เอกสารต่อผู้มาศึกษาดูงานเป็นเรื่องสำคัญมาก  เพราะการได้มาซึ่งความรู้ผ่านเวทีการศึกษาดูงาน  หลักๆ  ได้ความรู้ผ่านการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้"  หรือ "โสเหล่"  หรือไม่ก็การเก็บเกี่ยวความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ที่เจ้าภาพจัดเตรียมไว้  ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการ  คลิปวีดีทัศน์  ละคร ฯลฯ  

ขึ้นอยู่กับว่า เราจะ "จริงจัง จริงใจ"  จัดเตรียมไว้ได้ดีแค่ไหน  หรือแม้แต่ "เขา-ผู้มาเยือน"  จะ "เปิดใจ"  หรือมีทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากน้อยแค่ไหน

แต่ที่แน่ๆ ผมย้ำว่าหรือ "เอกสาร"  แจกจ่ายเป็นเรื่องสำคัญมากๆ  

คำว่า "สำคัญ" ในที่นี้  ผมยืนยันว่าสำคัญไม่แพ้การพบปพูดคุย  บรรยาย  บอกเล่า  หรือโสเหล่กัน -



ด้วยเหตุประการนี้  ผมจึงมอบหมายให้ทีมงานได้ไปขอความอนุเคราะห์เอกสารประเภทจดหมายข่าวจากกองประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามมาให้ได้มากที่สุด  ทั้งที่เป็นฉบับปัจจุบันและย้อนหลัง   เพราะสิ่งเหล่านั้นจะมีเรื่องราวให้เรียนรู้และติดตามสืบไปในภายภาคหน้า

เช่นเดียวกับการที่ผมต้องลงมือละเลงเองเกี่ยวกับเอกสารอันเป็น "ของฝาก" หรือ "ของที่ระลึก"  -

ผมลงมือคัดเลือก "หนังสือเรียนนอกฤดู" ภาคพิเศษเล่ม 3-6  มาส่งมอบเป็นของที่ระลึก  พร้อมๆ กับการปริ้นงานเขียนใน Blog  จาก Gotoknow.org  ประมาณเกือบๆ 10 เรื่องมาเข้าเล่มส่งมอบเป็นของที่ระลึก

ผมบอกกับทีมงานว่า "ผมไม่ได้บ้าหนังสือ"  

ใช่ครับ  ผมไม่ได้บ้าหนังสือ  แต่ผมให้ความสำคัญกับความรู้ หรือเรื่องราวที่ถูกบันทึกไว้ในรูปลักษณ์ของเอกสาร  แม้จะไม่ใช่ความรู้อันทรงคุณค่าและทรงพลังมากมายนัก  แต่มันก็เป็น "ตัวตนของเรา"  ในแบบ "ของเรา"  ที่จะช่วยให้คนอื่นได้เข้าใจจุดยืนและทิศทางของการทำงานของเรา  และยิ่งหากเวลาในเวทีมีจำกัด  เอกสารเหล่านี้นี่แหละที่จะทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ แทนเรา ---



ครับ - ผมจัดเตรียมเอกสารงานเขียนใน Blog ของ Gotoknow.org เป็นของฝากจริงๆ 

ผมไม่ได้พุดถึงศิลปะการเขียน  ผมไม่ได้พูดถึงความรู้สาระในข้อเขียน  ผมไม่ได้พูดถึงการอ่านและการเขียนเพื่อการพัฒนานิสิตนักศึกษา  ... ผมไม่พูดเพราะคิดว่าไม่จำเป็นต้องพูด  การให้ หรือมอบไปคือสิ่งเดียวที่ผมคิดและรู้สึกจากใจ  ส่วนเขาจะใช้ประโยชน์อะไรหรือไม่  ย่อมอยู่ที่ผู้ได้รับไป  แต่ผมก็เชื่อว่าข้อเขียนของผมจะทำหน้าที่ของมันเอง  เป็นการทำหน้าที่อย่างสัตย์ซื่อ  เพราะผมเขียนในสิ่งที่ทำ ย้ำในสิ่งที่มี  หรือ พูดในสิ่งที่ทำ ย้ำในสิ่งที่มี นั่นเอง




และอีกหนึ่งประเด็นที่ผม "คิดเอง-เออเอง"  แบบไม่ได้บอกใครก็คือ "ผมเจตนาปริ้นและเข้ารูปเล่มแบบง่ายๆ"  

ใช่ครับ- แทนที่จะเอาไฟล์มาจัดใหม่ในรูปของหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คเหมือนที่ทำกันเป็นประจำ  ซึ่งจะว่าไปแล้ว  ถ้าทำเช่นนั้นย่อมดูดีและมีมูลค่ามากกว่าปริ้นออกมายังไงก็เอาไปเข้าเล่มแบบสดๆ  อยู่วันยังค่ำ

ใช่ครับ - ยืนยันว่า  ผมมีเจตนาชัดเจนว่าจะคงไว้ซึ่งรูปลักษณ์ต้นฉบับแบบโดยไม่ต้องประดิดประดอยใหม่  

ไม่ใช่ติดกรอบเรื่องเวลา  หรืองบประมาณอันน้อยนิดหรอกนะครับ  แต่ทั้งปวงนั้นคือผมปรารถนาให้ "ผู้รับ"  ได้เห็นแหล่งความรู้  หรือคลังข้อมูลของ Gotoknow.org  เผื่อบางทีพวกเขาจะได้เข้าไปสืบค้นเรียนรู้ด้วยตนเอง  หรือแม้แต่เข้าไปเขียน Blog  ด้วยตนเอง  

นั่นคือเจตนาที่ผมชัดเจนและไม่ลังเลที่จะทำแบบนั้น 



ครับ - นี่คืออีกหนึ่งเรื่องเล่าที่อยากเล่าในวิถีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีการศึกษาดูงานครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560 

บางทีหลายเรื่องผมก็อธิบายแบบชัดๆ ขณะที่บางเรื่องผมก็เจตนาที่จะไม่อธิบายใดๆ  ปล่อยให้เวลาได้คลี่คลายในสิ่งที่ผมคิดและกระทำ  หรือให้พวกเขาได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง

เพราะนี่คือการ "สอนงาน สร้างทีม"  ในแบบฉบับของผม


หมายเหตุ

คิดเรื่องงาน : เขียน 18 สิงหาคม 2560



หมายเลขบันทึก: 634005เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2017 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2017 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ชื่นชมมาก

ชอบใจ "ผมบอกกับทีมงานว่า "ผมไม่ได้บ้าหนังสือ"  

ได้เอกสารสดๆผ่านการเผยแพร่มาแล้วด้วยเยี่ยมมากๆ

ทีมงานและผู้รับต้องชอบแน่ๆ 

กับ..คำว่า.."คันตรงไหน..เกาตรงนั้น"..หนังสือที่จะจัดพิมพ์..หากใคร..ต้องการ..ยื่นความจำนงโดยตรง..ได้จำนวน..ที่แน่นอน..คุ้มทุน (ที่มี) แล้ว. ..ถึงจะจัดรูปเล่มออกมา..(ดีไหม)..

สวัสดีครับ อ.วัส


Wasawat Deemarn

ดูเหมือนจะคิดง่ายๆ ทำง่ายๆ  ก็เถอะ  กระนั้นในความจริงก็จริงใจครับ - จริงจังและจริงใจที่จะทำแบบนี้ พร้อมๆ กับซ่อนนัยสำคัญไว้ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองผ่าน G2K นั่นเอง

สวัสดีครับ 


ดร.ขจิต ฝอยทอง


ปากบอกว่า ไม่ได้บ้าหนังสือ   แต่ความจริงก็คือบ้าหนังสือดีๆ นั่นเอง ครับ

แต่ก็อย่างว่า  การอ่านหนังสือ  ก็เป็นประหนึ่งการอ่านโลกและชีวิตในอีกช่องทางหนึ่ง

แต่หนังสือก็ยังเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ - 

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ 


ดร.ขจิต ฝอยทอง


ปากบอกว่า ไม่ได้บ้าหนังสือ   แต่ความจริงก็คือบ้าหนังสือดีๆ นั่นเอง ครับ

แต่ก็อย่างว่า  การอ่านหนังสือ  ก็เป็นประหนึ่งการอ่านโลกและชีวิตในอีกช่องทางหนึ่ง

แต่หนังสือก็ยังเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ - 

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ 


คุณยายธี

เคยคิดเหมือนกันว่าจะทำหนังสือขายเอง -ขายตรง  แต่นั่นก็คงต้องมียอดสั่งจองในระดับหนึ่งบ้าง  ไม่เช่นนั้นก็แบกภาระหนักหน่วงเกินทนครับ  


สวัสดีครับ 


คุณยายธี

เคยคิดเหมือนกันว่าจะทำหนังสือขายเอง -ขายตรง  แต่นั่นก็คงต้องมียอดสั่งจองในระดับหนึ่งบ้าง  ไม่เช่นนั้นก็แบกภาระหนักหน่วงเกินทนครับ  


สวัสดีครับ 


คุณยายธี

เคยคิดเหมือนกันว่าจะทำหนังสือขายเอง -ขายตรง  แต่นั่นก็คงต้องมียอดสั่งจองในระดับหนึ่งบ้าง  ไม่เช่นนั้นก็แบกภาระหนักหน่วงเกินทนครับ  


ชื่นชอบ ชื่นชมในความคิด

ของน้องแผ่นดินมาก ๆ จ้ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท