แลกเปลี่ยนเรื่อง “คุณธรรมนำความรู้” (ตอนที่ 4)


การจะสร้างเสริมเรื่องคุณธรรมให้ยั่งยืน โรงเรียนน่าจะบูรณาการทั้งหลักธรรม หลักปรัชญา หลักจิตวิทยา มาใช้ให้เหมาะกับจริตของเด็กแต่ละคน แต่ละกลุ่ม โดยพยายามกล่อมเกลาให้เกิดการซึมซับจนเป็นนิสัย
             การส่งเสริมเรื่องนี้ ในสภาพสังคมปัจจุบันซึ่งเราหาตัวแบบ(model)ที่ดีค่อนข้างยาก และเยาวชนก็ไม่ค่อยได้รับการกล่อมเกลากันอย่างจริงจัง จนมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนกันไปมาก   เมื่อเด็กต้องเข้ามามาอยู่ในโรงเรียน   โรงเรียนจึงต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่เหมาะสมในการปลูกฝังและสร้างเสริมให้เขาเป็นคนดีมีคุณธรรมตามที่จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษากำหนดไว้
           ผมคิดว่าการจะสร้างเสริมเรื่องคุณธรรมให้ยั่งยืน  โรงเรียนน่าจะบูรณาการทั้ง
หลักธรรม  หลักปรัชญา หลักจิตวิทยา มาใช้ให้เหมาะกับจริตของเด็กแต่ละคน แต่ละกลุ่ม โดยพยายามกล่อมเกลาให้เกิดการซึมซับ
จนเป็นนิสัย   ผมขอเสนอหลักธรรม หลักปรัชญา และหลักจิตวิทยาที่สำคัญ  ให้โรงเรียนพิจารณานำมาบูรณาการใช้พอสังเขป ดังนี้
             1. หลักธรรม  เช่น  อริยสัจ   ปฎิจจสมุปบาท( อิทัปปัจจยตา )   ไตรลักษณ์   ไตรสิกขา   อินทรีย์ 5  โยนิโสมนสิการ   กาลามสูตร   สัปปุริสธรรม   เป็นต้น  รวมทั้ง หลักคำสอนของศาสนาอื่นด้วย
        
                  2. หลักปรัชญาและหลักจิตวิทยา   
เช่น  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ปรัชญารังสรรค์นิยม(contructivism )    ปรัชญาพิพัฒนาการ( progressivism )      การกล่อมเกลาทางสังคม(social  learnning )   กระบวนการทางวิทยาศาสตร์( scientifie  method )    การกระจ่างในค่านิยม(Value Clasification : vc )   การให้เหตุผลเชิงจริยธรรม    ( Moral Reasoning : MR )    การปรับพฤติกรรม
(
Behavior Modification : BM )  เป็นต้น
           ตอนต่อไปผมจะเล่าถึงแนวทางในการส่งเสริมตามที่ผมดำเนินการแล้วและกำลังคิดจะดำเนินการในขณะนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ


หมายเลขบันทึก: 63395เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท