งบฯส่งเสริมสุขภาพ&ป้องกันโรค


วิทยากร ที่ถ่ายทอด ไม่ใช่ไม่มีความสามารถ แต่แปลงสารวิชาการให้เป็นภาษาชาวบ้านเข้าใจไม่ได้

     จาก เว็บบอร์ด สสจ.พัทลุง ประเด็น วิเคราะห์งบส่งเสริมสุขภาพ pp ของทั้งจังหวัด ดังนี้

          1. เงินงบ pp มากมาย พอๆกับค่ายาที่ใช้รักษาคนใข้ ทั้งจังหวัดเลย 30 ล้าน
          2. เงินส่วนใหญ่ 70-80 % ใช้ในโครงการอบรมศึกษาดูงาน เพียง 20 %ที่ตกถึงมือประชาชน
          3. บางโครงการไม่ได้ทำ ทำไม่ทันเยอะมากไม่มีการติดตาม ตรวจสอบ ไม่มีตัวชี้วัด ผลไม่ดี ขี้ช้างจับตักแตน ตำำน้ำพริกละลายแม่น้ำ จึงมีให้เห็นเสมอ
          4. งบส่งเสริม มากมาย แต่ประชาชนก็ยังไม่แข็งแรงป่วยมากมาย เพราะแก้ปัญหาไม่ถูกจุด หรือไม่ได้แก้ท่านอื่นคิดเห็นอย่างไร
     จากคุณ bird เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 48

     หมายเหตุ เป็นการวิเคราะห์จากฐานคิดส่วนตัว ไม่ได้ยกข้อมูลอ้างอิงใด ๆ มาประกอบ และนำเสนอเหมือนต้นฉบับครับ

     ความคิดเห็นจากบางคนนะครับที่แสดงไว้ เช่น

     จากคุณ นวก.สาสุข อยู่ สอ. แสดงความคิดเห็นไว้ว่า
          เห็นด้วย นะ แต่ การที่จะลงถึงประชาชนนั้น ไม่ใช่ว่าเขียนโครงการ top down แล้วส่งเรื่องการทำจริง ๆ ที่ทำกับประชนชน มายัง สอ. ซึ่งก็รู้ว่า สอ.มีกี่คน ทำงานกี่งาน กว่าจะได้คนมาตรวจpap หรือออกกำลังกายสักคนสักคนท่านรู้หรือไม่ว่า ต้องใช้ทุกวิธี ที่พอจะมีความสามารถ ทั้งวิชามาร จูงใจ หลอกล่อ ซึ่ง พวก สอ.ทำมากับมือกว่าจะได้มาแต่ละ 1 ตัวเลข มันไม่ง่ายนัก ระดับบน แค่ บอกให้ทำงั้นทำงี้ซิ ลองมาทำดู จนท. 1 คน ดูแล ปชช.ทั้งหมู่บ้าน มีทุกกลุ่มอายุ วิธีเข้าหาพวกเขาก็แตกต่างกัน แต่ละกล่มก็ต้องดูแลต่างกัน ถ้าให้มอง จน. สอ.เป็นอัจฉริยะ บุคคลนะ ถ้าทำได้สมบูรณ์ อย่างที่นักวิชาการเขียนกลวิธีเอาไว้ ถ้าข้าเจ้าไปนั้งอยู่ข้างบน ก็คงจะคิดวิธีแก้ปัญหาสุขภาพ ที่มันสุดยอด เริศหรู คิดได้ทั้งนั้น แต่อย่าลืมต้องมองถึงความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติด้วย ปชช.มีปัจจัยหลายด้าน ที่ทำให้มีปัญหาสุขภาพ อย่าว่า แต่ปชช.เลย จนท. ก็ยังไม่สามารถออกกำลังกายได้ ครบตามเกณฑ์ เมืองไทยแข็งแรงเลย เพราะด้วยปัจจัยและเหตุผลมากมาย ต้องค่อยๆ เปลี่ยน และเพิ่มทั้งคนและพัฒนาศักยภาพของคนที่มีอยู่ ในระดับ ล่าง และการให้การสนับสนุนจากข้างบน ต้องร่วมกันคิด และลงมาช่วยยกหัวส้วมด้วย อาจจะไม่ทั้งหมดแต่ขอให้เริ่มทำบ้าง ดีกว่าไม่มีเลย

     จากคุณ 222 แสดงความคิดเห็นไว้ว่า
          เห็นด้วยกับคุณ นวก.สาสุข อยู่ สอ. หากเห็น คปสอ.ทำงานกันเป็นทีมทุกฝ่ายร่วมมือกัน โดยไม่ผลักภาระให้ สอ.เป็นผู้ดำเนินการเพียงผู้เดียว เพราะข้อจำกัดเรื่องกำลังคนแลภาระกิจที่ต้องรับผิดชอบมีมากมายเหลือเกิน อยากให้โครงการ งบPP มีกิจกรรมทำร่วมกัน และเป็นกิจกรรมที่ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย ตอนนี้การพัฒนาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องพัฒนาร่วมไปกับการพัฒนาประชาชน อยากให้ประชาชนมีส่วนในการเสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบ PP จาก Cup ได้ โดยเฉพาะอยากให้มีการพัฒนาชมรม อสม.ระดับตำบล/อำเภอให้มีความเข้มแข็ง เพราะคิดว่ากิจกรรมที่เกิดจากการคิดริเริมของประชาชนเองน่าจะมีความยั่งยืนกว่ากิจกรรมที่ จนท.ของรัฐคิดโดยอ้างว่าเป็นความต้องการของประชาชน

     จากคุณ นวก.สาสุข อยู่ สอ. แสดงความคิดเห็นไว้อีกครั้งว่า
          ขออีกที เห็นด้วย กับการให้ความสำคัญกับ อสม. ตอนข้าเจ้ายังเด็ก ได้ฟังจาก อสม.และ จนท.ที่ออกจากราชการไปแล้ว เรื่องการอบรม และการดำเนินงาน สาสุขมุลฐาน เมื่อก่อนฟังดูแล้วเข้มแข็งมากอบรม อสม.ใหม่รวมกัน ทั้ง อำเภอ มีวิทยากรที่มีความสามารถ เข้าถึงใจของประชาชน แปลงสารจากความรู้วิชาการ สู่การเป็นภาษาชาวบ้าน ให้เขาเข้าใจ แต่การอบรมเดี่ยวนี้ วิทยากร ที่ถ่ายทอด ไม่ใช่ไม่มีความสามารถ แต่แปลงสารวิชาการให้เป็นภาษาชาวบ้านเข้าใจไม่ได้ ขออนุญาตอ้างชื่อ คุณจำนง ท่านเดินไปใหนทั่วจังหวัดชาวบ้านรุ้จัก แต่ข้าเจ้า แม้แต่ในอำเภอ อสม.หรือชาวบ้านยังไม่ใคร่รุ้จักเลย เพราะการทำงานที่ต่างคนต่างก็ทำในพื้นที่ตนเอง ขาดการช่วเหลือกัน มุ่งทำแต่ตัวเลข แต่หามีความยั่งยืนไม่ ย้อนกลับไปดู ทำไมเดี่ยวนี้ คนไปฉีดวัคซีนโดยไม่ต้องกระต้น ใส่รองเท้าโดยไม่ต้องบอก ต่อไปถ้ามีกลวิธีดีๆ คนก็จะออกกำลังกายกันเอง เลือกซื้ออาหารในร้านที่ ถูกสุขลักษณะ ไม่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า โดยไม่ต้องขุ่เข็น
ส่วน จนท.ที่อยู่ สอ.

     ในส่วนของข้อเท็จจริงนั้น ประเด็นการประเมินผล ได้มีการเตรียมการไว้แล้ว และจะขอความเห็นชอบจาก คณะอนุกรรมการบริหารงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดพัทลุง ในวันพรุ่งนี้ (4 พ.ย.2548) ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ที่เป็นข้อสรุปผลการวิเคราะห์งบ P&P (ส่งเสริมและป้องกันโรค) จะได้นำมาต่อท้ายบันทึกนี้ ในวันพรุ่งนี้เช่นกัน (หลังการประชุมแล้ว) สำหรับในส่วนของข้อสังเกตทั้งหมด น่าสนใจครับ และคิดว่าเป็นทิศทางที่ดี ที่หลาย ๆ ภาคส่วนได้เติมเต็มเข้ามา

หมายเลขบันทึก: 6339เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2005 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท