(คุยกับตนเอง ตอนที่ 29) เมื่อหลานชายใช้สิทธิบัตรทอง


(คุยกับตนเอง ตอนที่ 29) เมื่อหลานชายใช้สิทธิบัตรทอง

โฟกัสมาที่เรื่องบัตรทองและแนวคิดเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพมากกว่าการมุ่งไปจัดการที่ตัวบุคคล เพราะจะว่าไปแล้ว ไม่มีความสมบูรณ์แบบอยู่แล้วระหว่างกลุ่มสองกลุ่มที่มีความขัดแย้งกัน เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ้งต่างก็มีคุณค่ากันมากมาย และก็มี Gap น่าพัฒนามากมายด้วยเช่นกัน

ดีใจที่ตัดสินใจเข้ามาศึกษาเรื่อง UC 
เมื่อวานนี้(12 สิงหาคม)เพิ่งนึกได้ว่าหลานชายอายุน่าจะเลย 20 ปีแล้ว นึกถึงคำพูดของคุณประพจน์ที่ว่า Local Healthfund "ลูกของข้าราชการทุกคนที่อายุเกิน 20 ปี ทุกคนต้องใช้สิทธิบัตรทอง รวมถึงลูกของเราทุกคนที่ทำงานในระบบสุขภาพด้วย ไม่ว่าจะเป็น คุณหมอ คุณพยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข รวมถึงลูกของผู้บริหารระดับสูงทุกคนด้วย" ใน https://www.facebook.com/nipap... 

และก็ใช่จริงๆ การพูดคุยทำให้ได้ทราบในสิ่งที่ไม่เคยสนใจมาก่อน "อะตอมอายุ 21 ปีแล้ว ใช้สิทธิบัตรทอง" ทั้งๆ ทุกคนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นยาย Khunyay Kem แม่ Atcha Pom  พ่อ Tuy Sstk  และน้ากะปุ๋มทุกคนเป็นข้าราชการ แต่มาวันนี้หลานชาย Atommic Chattarin ใช้สิทธิบัตรทอง 

เมื่อวันที่ 30-31 กรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกช่วงหนึ่งของชีวิตโดยไปร่วมงาน "พลเมืองหลักประกันสุขภาพ" ให้แก่นักศึกษา 12 สถาบัน เป็นช่วงเวลาที่ดีและมีคุณค่ามากๆ ก่อนตัดสินใจรับปากทำงานนี้ ครุ่นคิดถึงการให้คุณค่าและความหมายของชีวิต (https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts/1406973649350596) และที่สุดแม่ก็ช่วยปลดล็อกให้ "วันที่ 30 แม่ก็จะไปนครนายก ไปกับอาสุนอาดอน ไปหาน้องจูน" ไม่ต้องห่วงไม่ต้องกังวล ครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีนี้ได้ไปทำกุศลที่มีคุณค่าอย่างยิ่งไปร่วมการเอื้ออำนวยให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพ

เพียงแค่นึกย้อนกลับไปก็ปิติอิ่มใจและขอบพระคุณคนชวน พี่แจ็ค Kongwong Chackkarin  น้องนัน Sunant Puthon และน้องวา Wanee Jatawong  และที่ยิ่งดีใจไปกว่านั้นได้มีโอกาสสร้างคุณค่าและความหมายของชีวิตจากได้รับโอกาสจากบุคคลที่น่านับถืออย่างยิ่งอย่างท่าน อ.หมอชลอ( Chalor Santiwarangkana ) https://www.facebook.com/nipap...

"เราทุกคน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบสุขภาพ จึงจำเป็นต้องมาช่วยกันดูแล ปกป้อง และช่วยกันพัฒนาตระกร้าใบนี้ ให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง และยั่งยืน เพราะหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของประเทศไทย คือ สมบัติอันล้ำค่า อย่างหนึ่งของประเทศไทย ที่ประเทศอื่นๆไม่สามาถทำได้แบบไทย" คุณประพจน์เอ่ยย้ำ ยิ่งทำให้เห็นภาพและถึงหน้าที่ของคนไทยคนหนึ่งที่พึงน้อมทำ

"ตั้งแต่อาจารย์เกาะติดเรื่อง UC มาคนเข้าไปตาม แล้วก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ที่ต้องทำงานคุณภาพโน่นนี่นั่นให้เยอะแยะไปหมดนี่ เราไม่ได้ทำให้กระทรวงหรอกนะ แต่เราทำเพื่อประชาชนกว่าห้าสิบล้านคนต่างหากเล่า เรียกได้ว่าเข้าใจงานที่ทำมากขึ้น" (ภัทรวรรณ จันทร์ศิริ) 

"ที่กินใจมากก็คือ สุขภาพของคนสี่สิบแปดล้านคนถูกวัดออกมาเป็นกำไรขาดทุนของสถานบริการ เหรอ เราคุยกันในวงเล็กๆที่ไปประเมินงาน NCD คุณภาพด้วยกันบนรถตู้ หัวหน้างานคนหนึ่งของ สสจ. พูดขึ้นว่า ถ้าเราเข้าใจอย่างที่อาจารย์กะปุ๋มวิเคราะห์มานี่อาจารย์น่ะทำให้รู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว เราทำไปเพื่อใคร ใจก็เป็นสุขค่ะ" คำบอกเล่าที่สะท้อนออกมาจากใจจากกัลยาณมิตรท่านหนึ่งที่ส่งข้อความมาถึง

ย้อนกลับมาตั้งคำถามกับตนเอง ในฐานะที่เป็นคนไทย ในฐานะที่เป็นน้าของหลาน ในฐานะที่เป็นคนที่มีความสนใจเรื่อง UC และในช่วงเวลาที่ผ่านมาที่คลุกอยู่กับการทำความเข้าใจและศึกษาเรื่อง UC สองมือน้อยๆ นี้จะมีส่วนช่วยให้เกิดความเข้มแข็งในเรื่องนี้ได้อย่างไร ตอนนี้พอมีความสามารถในเรื่อง KM  R2R และมีใจที่เต็มเปี่ยม น่าจะเป็นต้นทุนได้มากพอที่จะร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพได้บ้าง โดยโฟกัสไปที่กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ กลุ่มคนทำงานในระบบสุขภาพทั้งฝ่ายบริการ และฝ่าย สปสช. ให้ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาและขับเคลื่อนการทำงานเรื่องนี้ให้มีคุณภาพเพื่อให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด ได้รับการดูแลและเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่เป็นธรรม และได้รับบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน เชื่อว่าสิ่งนี้หลายชายก็คงจะได้รับอานิสงฆ์จากสิ่งที่น้าได้ลงมือทำด้วย

#KMUC
13-08-60


หมายเลขบันทึก: 633422เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2017 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2017 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท