โครงงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชนปัจฉิมปี4


วันที่31 กค.2560 เราได้เข้าร่วมดูการจัดซุ้มโครงงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชนปัจฉิมปี4

หน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ ที่

ศูนย์การเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านสะพานดำ

เนื้อหาสาระ : ปัจจุบันความนิยมในการใช้ถ่านสำหรับเป็นเชื้อเพลิงจะน้อยลงเนื่องจากมีเชื้อเพลิงอย่างอื่นมาทดแทนในครัวเรือน ทั้งไฟฟ้า แก็ส และน้ำมัน หากแต่ในบางท้องที่ หรือบางครัวเรือนหรือบางกิจการก็ยังต้องอาศัยถ่านในการหุงต้มกันอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากว่า สมัยนี้ถ่านที่ได้จากฟืนไม้ไม่ได้หาได้ง่าย  ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นวัตถุดิบอื่น มาใช้ทำถ่านทดแทนไม้ ซึ่งวัตถุดิบชนิดนั้นต้องเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย มีราคาไม่แพง สามารถให้ถ่านที่มีคุณภาพได้ดีเทียบเท่าถ่านจากไม้ฟืน และวัตถุดิบชนิดนั้นก็คือ มะพร้าวนั่นเอง

โครงการนี้มีประโยชน์หรือไม่ มี เพราะ กะลามะพร้าวหรือผลไม้ต่าง ๆ ที่นำมาอัดเป็นถ่านอัดแท่งนั้นเพื่อเป็นการใช้เชื้อเพลิงทดแทนภายในครอบครัว และเป็นการทำถ่านทดแทนไม้

เรื่อง : การทำถ่านอัดแท่งบ้านสะพานดำ จังหวัดราชบุร

ซุ้มนิทรรศการที่จัดมีความสวยงามหรือไม่อย่างไร

มี เพราะ มีการจัดซุ้มที่ดึงดูดและน่าสนใจ ได้มีการนำบอร์ดต่าง ๆ เครื่องอัดถ่าน และถ่านที่อัดแล้วมาตั้งโชว์อีกด้วย

ยฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ ที่ 1

ศูนย์วิสาหกิจชุมชนบ้านบ่อมะกรูด ตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุร

เนื้อหาสาระ : น้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักเศษซากพืช ซากสัตว์ หรือสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นด้วยจุลินทรีย์จำเพาะ ซึ่งอาจหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง กระบวนการหมักของน้ำหมักชีวภาพจะเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้กากน้ำตาล และน้ำตาลจากสารอินทรีย์เป็นแหล่งพลังงาน แบ่งเป็น แบบ คือ 1. การหมักแบบต้องการออกซิเจน เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และอาหารให้แก่เซลล์ การหมักชนิดนี้จะเกิดน้อยในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ และมักเกิดในช่วงแรกของการหมัก แต่เมื่อออกซิเจนในน้ำ และอากาศหมด จุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจนจะลดน้อยลง และหมดไปจนเหลือเฉพาะการหมักจากจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน 2. การหมักแบบไม่ต้องการออกซิเจน เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และอาหารให้แก่เซลล์ การหมักชนิดนี้จะเกิดเป็นส่วนใหญ่ในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ส่วนพวกเมอเคปเทนและก๊าซซัลไฟด์ปล่อยออกมาเล็กน้อย

ครงการนี้มีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างไร : ใช้ฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดิน และน้ำ ใช้เติมในดิน ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ใช้ฉีดพ่นในแปลงเกษตร ช่วยต้านแมลงศัตรูพืช และลดจำนวนแมลงศัตรูพืช และใช้ฉีดพ่นในแปลงผัก ผลไม้ หรือผลผลิตต่างๆ เพื่อป้องกันการทำลายผลผลิตของแมลง

เรื่อง : อบรมการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพบ้านบ่อมะกรูด

ซุ้มนิทรรศการที่จัดมีความสวยงาม


หมายเลขบันทึก: 633277เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2017 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2017 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท