การสอนเพื่อพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลอย่างเอื้ออาทร


เรื่องจากพระปกเกล้า จันทบุรี

การสอนเพื่อพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลอย่างเอื้ออาทร

 เป็นความประทับใจเล็ก ๆ แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับผลที่เกิดขึ้นค่ะ   และคิดว่าเป็นการสอนโดยบังเอิญที่จะช่วยส่งเสริมความเอื้ออาทรให้กับนักศึกษาที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยได้               ที่ต้องบอกว่าเป็นการสอนโดยบังเอิญก็เพราะว่าเหตุที่ทำให้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นไม่ได้มาจากจุดเริ่มต้นของการที่คิดจะสอนนักศึกษาค่ะ  
 มีอยู่วันหนึ่งขณะกำลังนิเทศนักศึกษาพยาบาลอยู่ที่หอผู้ป่วยของโรงพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี   ซึ่งแบ่งเป็น 2 ทีม  ดิฉันเองรับผิดชอบทีมที่ 1 ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาเย็นเตรียมพร้อมสำหรับการส่งต่อเวร    ได้ยินเสียงร้องโอดครวญอย่างทุกข์ทรมานของผู้ป่วยอีกทีมหนึ่ง    มองไปก็เห็นว่ามีพยาบาลและนักศึกษาพยาบาลอยู่บริเวณรอบ ๆ เตียงและกำลังให้ความช่วยเหลืออยู่                 แต่คิดว่าผู้ป่วยคงยังไม่ทุเลาอาการเพราะยังได้ยินเสียงร้องอย่างทุกข์ทรมานนั้นอยู่    ดิฉันจึงเดินเข้าไปดูด้วยความสงสารเผื่อว่าจะมีอะไรที่พอช่วยเหลือได้บ้าง    พบว่าเป็นผู้ป่วยหญิง  อายุประมาณ 50 ปี    มีสายยางให้อาหารต่อจากจมูกลงขวดอยู่  1 เส้น  มี content  สีเขียวเกือบ 1,000  ซีซี  ในขวด  บริเวณท้องมีแผลปิดไว้   ผู้ป่วยดิ้นไปมาเล็กน้อยบนเตียง  สีหน้าเหยเกและร้องครวญคราง    พยาบาลที่ดูแลอยู่บอกว่าผู้ป่วยกินอาหารเร็วเกินไปหลังผ่าตัดทำให้แน่นท้องรายงานแพทย์แล้วให้ใส่ NG ต่อลงขวด   ดิฉันจึงคิดว่าผู้ป่วยน่าจะมีภาวะ Heart bern  เพราะตัวเองเคยมีอาการเช่นนี้เหมือนกันแต่คิดว่าน่าจะน้อยกว่าที่ผู้ป่วยยังเป็นอยู่   จึงเข้าไปพูดคุยสอบถามอาการ  ช่วยขยับตัวให้นอนสบายขึ้น   และให้คำแนะนำต่าง ๆ   ผู้ป่วยทำตามด้วยดี  จนกระทั่งผู้ป่วยสงบลง   นักศึกษาพยาบาลประมาณ 4 คน ก็ยังคงยืนมองอยู่รอบ ๆ เตียงตลอดเวลา   ดิฉันจึงคิดว่าที่ทำไปทั้งหมดนั้นน่าจะเป็นการสอนที่ครูทำให้ดูเป็นตัวอย่างได้     จึงพูดคุยกับนักศึกษาพยาบาลกลุ่มนั้นว่าครูคิดว่าผู้ป่วยมีภาวะ Heart bern   การช่วยโดยใส่ NG เป็นวิธีการที่ถูกต้องแล้ว   แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งอาการจึงจะทุเลา    ถ้าเราได้เข้าไปพูดคุยกับผู้ป่วยด้วยความใส่ใจและมีความรู้   เมื่อสอบถามอาการใดไปก็ตรงกับอาการที่ผู้ป่วยเป็นเราก็จะให้คำแนะนำกับผู้ป่วยได้ง่าย  ผู้ป่วยจะยอมปฏิบัติตาม   การจับมือผู้ป่วยไว้ขณะพูดคุยก็เป็นการสัมผัสที่ช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้ได้ว่าเรากำลังให้ความช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ   สิ่งที่เห็นเป็นตัวอย่างหนึ่งของการดูแลด้วยความเอื้ออาทรและช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกที่ดีขึ้น   นักศึกษาจะรู้สึกอิ่มเอมใจที่มีส่วนช่วยผู้ป่วยได้    แม้จะยังไม่ได้เรียนไม่มีความรู้มากพอขอให้มีใจก็ช่วยผู้ป่วยได้ระดับหนึ่งแล้วค่ะ   แต่ถ้ามีความรู้ดีด้วยและมีใจด้วยก็ยอดเยี่ยมค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #เอื้ออาทร
หมายเลขบันทึก: 63310เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยอดเยี่ยมมากเลยครับ ผมคิดว่าการที่ครูเป็นแบบอย่างที่ดีมีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษามากกว่าการสอนด้วยคำพูด เยอะมาก

คิดว่า อาจารย์รัชชนก คงมีเรื่องมาเล่าให้เราได้อ่านและมีความสุขจากการอ่านเรื่องเล่าอีกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท