ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


ความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ชื่อเรื่อง     ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนหลังคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลพระปกเกล้า
ผู้วิจัย         วรรณวิมล  วิเชียรฉาย   พย.ม.(การพยาบาลครอบครัว)
ผู้ร่วมวิจัย  ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์    ค.ม.(การวิจัยการศึกษา)
จันทรมาศ  เสาวรส        ป.พ.ส.
วัน เดือน ปี ธันวาคม 2548 ถึง พฤษภาคม 2549
แหล่งสนับสนุน วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
หน่วยงาน วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
คำสำคัญ  ความตั้งใจ, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน  6 เดือน, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนหลังคลอดของหญิงตั้งครรภ์
กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลพระปกเกล้า จำนวน 300 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1. ข้อมูลส่วนบุคคล  ส่วนที่ 2. ความเชื่อของหญิงตั้งครรภ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนหลังคลอด ส่วนที่ 3. ความตั้งใจของหญิงตั้งครรภ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนหลังคลอด แบบสอบถามทั้ง 3 ส่วนผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) จากนั้นนำไปทดลองใช้ (Try out) กับหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 15 คน และนำข้อมูลที่ได้มาหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และนำไปเก็บข้อมูลด้วยการสอบถามอย่างมีโครงสร้างด้วยตนเอง ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 7 มีนาคม 2549 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ได้ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยสถิติพรรณนา คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ คือ ความสัมพันธ์ (correlation) และการถดถอยพหุคูณ (multiple regressions) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากมีความเชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 5 อันดับแรกว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างลูกและพ่อแม่ ร้อยละ 99.0 ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของสมองและสติปัญญาของลูก ร้อยละ 97.0 ทำให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วน และถ้ามีน้ำนมไม่เพียงพอสามารถส่งเสริมให้มีน้ำนมเพียงพอได้ ร้อยละ 96.0 และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนได้แม้ไม่มีใครเห็นด้วย ร้อยละ 79.0 เมื่อวิเคราะห์              ความเชื่อของหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รายด้านพบว่า หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากมีความเชื่อด้านการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก มีความเชื่อด้านการรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับปานกลาง มีความเชื่อด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง มีความเชื่อด้านการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก และมีความเชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง
2. หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากมีความตั้งใจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน เพราะว่าช่วยส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างท่านและลูก เป็นผลดีต่อสุขภาพของลูก และช่วยลดค่าใช้จ่าย เมื่อวิเคราะห์ความตั้งใจของหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รายด้านพบว่า หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากมีความตั้งใจด้านการรับรู้ความยากง่าย/ความสามารถของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้านทัศนคติทัศนคติที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง/การสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ ในระดับมาก และมีความตั้งใจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลร่วมกันทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนหลังคลอดของหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) คือ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้อุปสรรค การรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม และอาชีพ มีอิทธิพลในทางบวก ส่วนระดับการศึกษา มีอิทธิพลในทางลบ โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 31


Factors Influencing Intention to Exclusive Breastfeeding for 6 Months after Giving Birth of Pregnant women attending Antenatal Care of Phra – Pok – Klao Hospital
Wanwimol wichianchy: Master Nursing Science (Family Nursing)
Tippawan limprapaipong: Master Education (Education Research)
Chanthramas saowaros: Diploma in Nursing Science Equivalent to Bachelor of Science in Nursing
Date / month / year: December 2005 – May 2006
Sponsor: Phrapokklao Nursing College
Organization: Phrapokklao Nursing College 
Key word: Intention, Exclusive Breastfeeding for 6 Months, Pregnant women

Abstract
The study was aimed to Factors Influencing Intention to Exclusive Breastfeeding for 6 Months after Giving Birth of Pregnant women attending Antenatal Care of Phra – Pok – Klao Hospital.
The sample was composed of the pregnant women attending Antenatal Care of Phra – Pok – Klao Hospital. This study included 300 pregnant women by Cluster Sampling. The questionnaire used in this study consisted of the participants’: (1) personal information, (2) belief on exclusive breastfeeding for 6 months, (3) intention to exclusively breastfeed for 6 months.  All three parts of the questionnaire was examined for content validity from three experts and tried out with 15 pregnant women who came to prenatal clinic in Chonburi Province.  The Chronbach’s alpha coefficient reliability (α) of the questionnaire was found to be .91.  The data were collected during March1st to 7th, 2006 using structural interviews. Descriptive statistics including frequency, percentage, average, standard deviation, and inferential statistics of correlation and multiple regressions were used.  The findings are as follow:
(1) The first 5 strongest beliefs on breastfeeding were that breastfeeding: (a) builds strong attachment between infants and parents (99%); (b) promotes cognitive and intellectual development of the infants (97%); (c) gives infants enough nutrition (96%); (d) facilitates the production of breast milk (96%); and (e) enables mothers to breastfeeding for 6 months even if nobody agrees (79%).  In addition, it was found that most pregnant women had high level of perceptive beliefs regarding advantages of breastfeeding and social supports while their perceptive beliefs on barriers and self capacities were moderate. The overall belief on breastfeeding was moderate level.
(2) Most pregnant women intended to exclusive breastfeeding for 6 months because breastfeeding (a) builds strong attachment between infants and parents; (b) is good for the infant’s health; and (c) helps decrease the expenses.  In addition, it was also found that pregnant women had high level of intention regarding the perceived difficulty/self capability, the attitude toward breastfeeding and subjective norm /social supports. The overall intended to exclusive breastfeeding for 6 months was high level.  
(3) Factors that positively predicted the intention to exclusive breastfeeding for 6 months at the significant level of p < .01 were the perceived benefits and costs, perceived susceptibility, perceived severity, perceived motivation/social support and occupation. The level of study, on the other hand, had negative predictability. The R square (R2) was .31, indicating that these factors explained 31% of the variation of intention to exclusive breastfeeding for 6 months.

หมายเลขบันทึก: 63300เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ดีจังเลยค่ะเรื่องนี้ ภาพก็สวยนะคะเนี่ย
เป็นเรื่องที่ โดนใจม้ากค่ะ
ยุพยง แห่งเชาวนิช

อจ.วรรณวิมลคะ

ดีใจค่ะที่ทราบว่าที่จันทบุรีมีอจ.สนใจเรื่องนมแม่ จะขอเชิญอจ.ลปรรกันในเรื่องของหญิงตั้งครรภ์ในเรื่องการรับรู้ความสามารถของตนเองซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปานกลางว่าจะมีวิธีempowerอย่างไร

จาก

ยุพยง

รองประธานศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย 

อยากสานต่อความตั้งใจของแม่ทั้งหลายที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมคนค่ะ

รบกวนขอใช้เครื่องมือ

กำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ ขอคำชี้แนะเกี่ยวกับเรื่องIntention หน่อยคะ

คือ กำลังทำวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนหลังคลอด อยากได้ full text ฉบับนี้ค่ะ เพื่อที่จะนำไปเป็นแนวทางในการทำวิจัยต่อไป ไม่ทราบว่าจะหาได้จากที่ไหนบ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท