ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๔๔. ตั้งคำถามเชิงลึกต่อนักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเอง




บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง


ตอนที่ ๔๔ ตั้งคำถามเชิงลึกต่อนักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเอง  ตีความจาก Element 42 : Asking In-Depth Questions to Reluctant Learners


สิ่งที่ครูปฏิบัติบ่อยที่สุด ต่อนักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเองหรือเรียนอ่อนอย่างแตกต่าง คือครูหลีกเลี่ยงการถามคำถาม ที่ยาก    โดยคิดอย่างตั้งใจดี ว่าเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ทำให้นักเรียนไม่สบายใจหรืออายเพื่อนหากตอบไม่ได้ หรือตอบผิด    เมื่อครูถามนักเรียนเหล่านี้ก็จะตั้งคำถามที่ง่ายหน่อย    ความตั้งใจดีนี้ผิด    เพราะเท่ากับสื่อสารความคาดหวังที่ต่ำ ต่อนักเรียนกลุ่มนี้    นี่คือที่มาของยุทธศาสตร์ตอนที่ ๔๔ นี้    


คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการตั้งคำถามเชิงลึกต่อนักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเอง     คือ    “ครูจะมั่นใจว่าตนถามคำถามที่ยากต่อนักเรียนที่เรียนอ่อนได้อย่างไร”


ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูใช้ตั้งคำถามเชิงลึกต่อนักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเอง  มีดังต่อไปนี้





ครูอาจใช้วิธีให้นักเรียนทุกคนได้ตอบโดยให้ทุกคนเขียนคำตอบตัวโตๆ ลงบนกระดาษแล้ววางไว้บนโต๊ะ ให้ครูเห็นโดยง่าย    แล้วครูเดินไปดูคำตอบทั่วห้อง  ครูก็จะรู้ว่านักเรียนคนไหนต้องการความช่วยเหลือ แก้ไขความเข้าใจในเรื่องนั้น 


เมื่อนักเรียนตอบผิดหรือตอบไม่ได้ ครูให้ความช่วยเหลือ (scaffolding) ดังตัวอย่าง

  • ระหว่างที่นักเรียนยังอึกอักในการให้คำตอบ ครูกล่าวคำถามซ้ำ
  • ให้ทำงานร่วมกับเพื่อน เพื่อตอบคำถามให้ได้
  • ให้คำใบ้ หรือบอกกุญแจไขคำตอบ
  • ให้เวลานอกชั่วครู่


นอกจากนั้น ยังมีเทคนิคให้กำลังใจแก่นักเรียนที่ไม่มั่นใจตนเอง เช่น

  • ครูบอกว่าคำตอบบางส่วนถูกต้องแล้ว     และกล่าวย้ำคำตอบที่ถูกต้องนั้น
  • อธิบายวิธีแก้ไขคำตอบที่ยังไม่ถูกต้อง ให้ถูกต้อง
  • กลับไปดูคำถาม เพื่อหาคำถามสำหรับคำตอบที่ไม่ถูกต้องนั้น


นี่คือมาตรการที่เป็นรูปธรรมในเรื่องการตั้งความคาดหวังสูงต่อนักเรียน    และเน้นที่การให้ความคาดหวังสูง ต่อนักเรียนทุกคน    ซึ่งน่าจะถือได้ว่าเป็นประชาธิปไตยในห้องเรียน    และเป็นมาตรการสู่การยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ ของนักเรียนทั้งห้อง    ไม่ใช่ครูเอาใจใส่เฉพาะนักเรียนที่เรียนเก่งเพียงไม่กี่คน  อย่างที่มักถือปฏิบัติกันอยู่ในวงการศึกษาไทย


ผมขอเสนอความเห็นต่อ “ครูเพื่อศิษย์” ทั้งหลายว่า    น่าจะเอาใจใส่ฝึกปฏิบัติยุทธศาสตร์ในตารางข้างบน เป็นพิเศษ    น่าจะนำมาเป็นสาระเพื่อเรียนรู้ร่วมกันใน PLC ของโรงเรียนและข้ามโรงเรียน    รวมทั้งนำมาเป็นหัวข้อ R2R ด้านการศึกษาได้ด้วย    โดยมีโจทย์วิจัยได้หลากหลายมาก


เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล    จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนบอกว่าครูคาดหวังให้ทุกคนมีส่วนร่วม
  • นักเรียนบอกว่าครูถามคำถามที่ยากต่อนักเรียนทุกคน

 


วิจารณ์ พานิช

๑๔ เม.ย. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 632989เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2017 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2017 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท