คนที่ประสบผลสำเร็จโดยความสามารถของตนเอง: มายาคติที่แฝงไว้ด้วยความไม่เทียม


Trump ตะโกนว่า “เราจะต้องสร้างสนามการเล่นแบบใหม่เพื่อบริษัทและคนงานของเรา” ก่อนหน้าที่จะประกาศถึงการควบคุมผู้อพยพที่เข้มข้นขึ้นโดยสร้างระบบการใช้ความสามารถของตนเองขึ้นมา

Trump ก็เหมือนคนที่มาก่อนเขา ที่พยายามจะปฏิรูปการเมืองโดยยึดหลักคนที่ประสบผลสำเร็จโดยใช้ความสามารถของตนเองขึ้นมา โดยการประกาศถึงระบบที่ยุติธรรม ที่ผู้คนมีอิสระที่จะขยันทำงานเพื่อกระตุ้นพรสวรรค์ (talent) และไต่บันไดสู่ความสำเร็จ

ตั้งแต่ Theresa May เริ่มเข้ามาเป็นนายกฯ เธอก็ได้ประกาศก้องว่า “อังกฤษต้องเป็นระบบการคัดคนที่ความสามารถอย่างมากในโลกนี้” (หรือในพาดหัวของ The Sun ว่า Mayritocracy) เธอยังได้กล่าวเรื่องนี้อีกครั้งในการเปิดตัว โรงเรียนไวยากรณ์ (the grammar school) ที่ถูกยกเลิกไปในปี 1960 ว่า “อังกฤษจะเป็นประเทศที่เห็นแก่ความสามารถมากกว่าสิทธิพิเศษ อังกฤษจะเป็นที่ที่เห็นแก่พรสวรรค์ และความขยัน จะไม่เห็นแก่ที่ที่คุณเกิด, พ่อแม่เป็นใคร หรือคุณมีสำเนียงเช่นไร”

ในการเกิดขึ้นของวิกฤตด้านการเงินปี 2008 ผู้คนส่วนใหญ่มองว่าระบบคัดคนที่ความสามารถไม่น่าที่จะใช้การได้จริงๆ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความคิดที่ว่าคุณจะเป็นอะไรก็ได้ หากเธอขยันมากพอ เริ่มเป็นที่กลืนไม่ลง แม้แต่พวกพวกชนชั้นกลางที่ได้รับการพะเน้าพะนอ แต่งานก็เริ่มไม่มี ซ้ำก็ถูกลดคุณค่าลง และถูกกดดันอย่างหนัก หนี้เริ่มเพิ่มมากขึ้น และอาคารที่พักเริ่มผ่อนไม่ไหว

บริบททางสังคม ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตลอด 40 ปีในแนวทางของเสรีนิยมใหม่ (neoliberalism) เริ่มถูกทบทวนทางโทรทัศน์ เช่น คนที่เก่งในวิชาเคมีก็ใช่ว่าจะมีการพัฒนาในแนวทางที่ตนจบมา หรือแม้แต่จะอยู่รอด หรือกรรมกรที่สร้างสรรค์ ที่นำเสนอโดยผู้หญิงก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความแน่วแน่ (stability)ของละคร Sex and the City

ในโฉมหน้าของความไม่มั่นคง (instability) ทั้ง May และ Trump พยายามที่จะฟื้นคืนชีพระบบการคัดคนด้วยความสามารถมาเป็นนโยบายขอตนเพื่อที่จะเพิ่มความไม่เท่าเทียมให้เกิดขึ้น (inequality) พวกเขาใช้รหัสทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน (cultural accents) โดยที่ Trump จะใช้สำนวนที่เหยียดผิว (racism) และ เกลียดผู้หญิง (misogyny) แต่ May นำเสนอตนเองเป็นแม่บ้านที่ใจกว้าง แต่ตรรกะทางวัฒนธรรมของทั้งสองมีความเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้ง เช่นหลังจากที่ May ได้รับเลือกเป็นนายกฯแล้ว ก็รีบแจ้นไปหา Trump ทันที ทั้งคู่ซาบซึ้งในเรื่องความไม่เท่ากันเป็นอย่างดี แต่ก็แสดงออกว่าจะสนับสนุนนโยบายระบบคัดเก่ง, ทุนนิยม, และชาตินิยม ในฐานะที่เป็นสิ่งแก้ไข ทั้งคู่ต้องการจะสร้างสวรรค์ทางเศรษฐกิจเพื่อคนรวย ในขณะที่ก็ต้องการที่แทรกการตลาดเข้าไปในระบบสวัสดิการ และขยายตรรกะของการแข่งขันในชีวิตประจำวันของทุกคน

เมื่อคำว่าระบบการคัดคนที่ความสามารถที่มีการบันทึกไว้ในปี 1956 มันกลายเป็นคำที่ดูถูกหรือใช้อย่างผิดๆ (misuse) โดยการบรรยายถึงสภาวะที่ไม่เท่าเทียมกันจนใครๆก็ไม่อยากไปอยู่ นักสังคมวิทยาที่ชื่อ Alan Fox กล่าวว่าเหตุใดผู้คนจึงให้รางวัลกับคนที่มีพรสวรรค์หละ? นอกจากนี้เขายังโต้เถียงอีกว่า เราควรมาคิดกันถึงเรื่องการข้ามชั้นกันมากกว่า (cross-grading) การข้ามชั้นกันหมายถึง เราจะให้คนที่ทำงานยากๆหรืองานที่ไม่น่าดึงดูดในเรื่องเวลาว่างอย่างไร และแบ่งปันความร่ำรวยอย่างยุติธรรมเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่มีสุขได้

นักปรัชญาที่ชื่อ Hannah Arendt โต้เถียงในบทความปี 1958 ยังเห็นด้วยกับความคิดดังกล่าวข้างต้น เธอมองว่า “ระบบคัดคนที่ความสามารถขัดกับหลักเรื่องความเท่าเทียม เผลอๆจะเป็นเรื่องคณาธิปไตยมากว่าด้วยซ้ำ (oligarchy)” หล่อนไม่พอใจโรงเรียนที่คัดเด็กๆด้วยไวยากรณ์ (the grammar school) และยังเห็นอีกว่าการคัดเลือกเด็กๆไปตามสถาบันการศึกษาด้วยวิธีที่แคบๆนั้นรับไม่ได้เลยทีเดียว คำๆนี้ยังทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาธิปไตยทางสังคม (social democratic) ที่ชื่อ Michael Young ซึ่งหนังสือที่ดีที่สุดในปี 1958 ที่ชื่อ The Rise of the Meritocracy (ใช้ M ตัวใหญ่เพื่อแสดงถึงความไม่เห็นด้วย) ในครึ่งแรกของหนังสือยังบรรยายถึงการเกิดขึ้นของประชาธิปไตย แต่อีกครึ่งหนึ่งบรรยายถึงสภาพความเป็นจริงอันโหดร้าย (dystopian) อนาคตของระบบการคัดคนด้วยความสามารถนี้จะมีแต่การค้าขายแบบตลาดที่ขายของผิดกฎหมาย (black market trade) ในโลกของเด็กทารกที่อัจฉริยะ (brainy babies)

แต่ในปี 1972 นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันที่เป็นเพื่อนของ Young ที่ชื่อว่า Daniel Bell กลับทำให้คำๆนี้เป็นไปในทางบวกมากขึ้น เขากล่าวว่าระบบคัดคนด้วยความสามารถอาจเป็นเครื่องมือสำหรับเศรษฐกิจความรู้อันใหม่ก็ได้ (new knowledge economy) ในยุค 1980 คำๆนี้ยังถูกใช้โดยนักคิดขวาใหม่ (new-right thinktanks) เพื่อบรรยายถึงโลกที่มีความแตกต่างทางด้านรายได้แบบสุดขั้ว และการเคลื่อนที่ทางสังคมในระดับสูง (high social mobility) คำว่าระบบคัดคนด้วยความสามารถได้เปลี่ยนความหมายไปจากเดิม

ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา ระบบคัดคนด้วยความสามารถแบบเสรีนิยมใหม่ถูกกำหนดด้วยลักษณะ 2 ประการ ประการแรกระดับความพยายามในการที่การแข่งขันระดับผู้ประกอบการระดับย่อย (entrepreneurial competition) ในทุกแง่มุมของชีวิต ประการที่ 2 อำนาจของความเท่าเทียมที่มาจากศตวรรษที่ 20 ระบบคัดคนตามความสามารถเป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้ระบบสิทธิที่มีมาแต่เดิม (พวกเจ้าขุนมูลนายหรือชนชั้นสูง) พังสลายลง

แม้กระทั่ง Margaret Thatcher แม้เธอจะเป็นนักอนุรักษนิยมทางสังคมก็ตาม ยังนำเสนอตนเองว่า เธอเป็นศัตรูของผลประโยชน์ทับซ้อน (vested interests) และผู้ผลักดันเรื่องการเคลื่อนที่ทางสังคม (social mobility) ภายใต้แนวคิดกรรมกรใหม่ (New Labor) ระบบคัดคนตามความสามารถเป็นระบบเดียวกับเสรีนิยมทางสังคม ปฏิเสธการรักร่วมเพศ, การทารุณกรรมทางเพศ, และการเหยียดผิว ในขณะนี้พวกเราถูกบอกเล่าว่าใครๆก็ “ทำมันได้”

ที่ว่าใครๆก็ทำไม่ได้ น่าจะได้แก่ หญิงที่ดำเนินธุรกิจเพื่อเลี้ยงดูลูกๆ, คนที่อัดวิดีโอส่วนตัวที่เป็นผิวสี, และเด็กชายที่ขายที่ดินที่กลายเป็นซีอีโอ ถูกจับจ้องเหมือนกับนิทานเรื่องความก้าวหน้า แต่การไต่บันไดเริ่มที่จะเป็นปัจเจกหรือตัวใครตัวมันมากขึ้น และคนยิ่งรวยยิ่งรวยขึ้น ส่วนคนที่กำลังไต่บันไดก็ต้องใช้เวลานานขึ้น คนที่ทำมันไม่ได้จะถูกละทิ้ง หรือจัดประเภทให้เป็นคนที่พลาดหวัง ภายใต้รัฐบาลอนุรักษนิยมและรัฐบาลผสม การสรรเสริญระบบคัดคนที่ความสามารถก็เป็นโทษได้อีกด้วย ในรัฐบาลของ David Cameron เธอเป็นผู้ขยันดิ้นรนต่อสู้ในชีวิต หรือไม่ก็เป็นคนที่ไม่สู้แค่นั้น การกระทำในการก้าวต่อไปข้างหน้าเป็นภาระทางศีลธรรม (moral obligation) ก็คือคนไหนที่ไม่มีเส้นสายหรือผู้อุปถัมภ์ก็ต้องทำงานหนักต่อไปจึงจะอยู่ในหมู่ได้

ข้อเท็จจริงที่ว่า ระบบคัดคนตามความสามารถนั้นเป็นมายาคติ (myth) ระบบสังคมที่ให้ค่าผ่านความร่ำรวย และเพิ่มความไม่เท่าเทียมนั้น จะไม่ช่วยในเรื่องการเคลื่อนที่ทางสังคม (social mobility) นอกจากนี้ประชาชนยังสืบทอดเส้นสายไปสู่ลูกๆของพวกเขาด้วย พวกอนุรักษนิยมทำให้สถานการณ์นี้แย่ลงไปอีก ด้วยการยกเลิกภาษีมรดก  และการรื้อฟื้นโรงเรียนไวยากรณ์ขึ้นมาใหม่ก็คือการใช้มาตรฐานทางการศึกษาที่คับแคบในกายแยกแยะเด็กๆนักเรียน นอกจากนี้ยังให้เส้นสายกับพวกที่มีเส้นสายอีกแล้วด้วย ดังที่นักภูมิศาสตร์ที่ชื่อ Danny Dorling กล่าวไว้ว่า นี่เป็น “ระบบของนโยบายการแบ่งแยกกันทางศึกษา (educational apartheid)”

คำว่า merit จริงๆแล้วเป็นคำที่ดิ้นได้ นักวิชาการชาวอเมริกันที่ชื่อ Lani Guinier ได้เสนอว่าคำๆนี้จะแปลว่า คุณลักษณะแบบกลมๆ หรือแบบสมจริง (well-round character) นอกจากนี้ยังมีดาราที่ชื่อ Matt Damon ที่ขัดกับผู้กำกับผิวสีที่ชื่อ Effie Brown ว่า ความแตกต่างไม่มีความสำคัญในการผลิตหนัง การตัดสินใจขึ้นอยู่กับบุญญาวาสนามากกว่า (merit) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จากตัวอย่างนี้ก็เห็นได้ชัดได้ประการหนึ่งว่า merit มีหลายความหมายจริงๆ (ตรงนี้แตกต่างจากเกณฑ์สำหรับบทบาทเฉพาะ ที่จะผสมผสานไปด้วยนโยบายที่ต่อต้านการแบ่งแยก (anti-discrimination))

อย่างไรก็ตาม ก็ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดว่าเหตุใดระบบคัดคนจากความสามารถจึงเป็นที่ดึงดูดผู้คนได้มากมายขนาดนี้ เพราะตัวมันเองมีแนวคิดว่าการเดินทาไปข้างหน้าเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิต เป็นทั้งความงอกงามและความยุติธรรม แต่เหตุการณ์ทั้งหลายที่ยกมาก็แสดงให้เห็นเช่นกันว่ามันเป็นม่านบังตา (smokescreen)ของความไม่เท่าเทียม ดังที่ Trump, May, และคนอื่นๆที่ต้องการจะฟื้นคืนมัน แต่จะเป็นการดีกว่าที่จะไม่พูดถึงมันอีกต่อไปสักช่วงหนึ่ง

แปลและเรียบเรียงมาจาก

Jo Littler. Meritocracy: the great delusion that ingrains inequality. https://www.theguardian.com/commentisfree/2017/mar/20/meritocracy-inequality-theresa-may-donald-trump

หมายเลขบันทึก: 632799เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2017 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2017 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีจ้าา

มาทักทายและให้กำลังใจกันก่อนนอนจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท