Federal Highways


Federal Highways

Federal Highways
การจัดการความรู้ : ทุกคนได้รับประโยชน์จากการแบ่งปันข้อมูล

Federal Highway Administration (FHWA) เป็นองค์กรที่เรียกได้ว่าคือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง

      คำจำกัดความของ "การจัดการความรู้" ที่ดูจะเหมาะกับ FHWA มากที่สุดคือ กระบวนการในการรวบรวมและแบ่งปันความรู้ความชำนาญร่วม (collective expertise) ของชุมชน (community) เพื่อเติมเต็มภารกิจให้สมบูรณ์เป็นความรู้ความชำานาญร่วมของพนักงานและหุ้นส่วน
     การจัดการความรู้มีบทบาทเสมือนห้องสมุด กล่าวคือเป็นคลังความรู้ที่บรรจุข้อมูลข้อเขียนเกี่ยวกับหัวข้อที่กำหนด อีกทั้งยังพยายามทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวบุคคล ความรู้นี้อาจเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด ทั้งนี้เพราะมีคำอธิบายรายละเอียด มีเนื้อหาครอบคลุมและทันสมัย ดังนั้นมันจึงเป็นประโยชน์มากกว่าเมื่อต้องทำการตัดสินใจ หรือจะกล่าวสั้นๆก็คือ การจัดการความรู้ช่วยทำให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ถูกต้องถูกใช้โดยคนที่ถูกในเวลาที่เหมาะสม เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง

     ที่ FHWA ปฏิบัติการจัดการความรู้ทำขึ้นเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างเจ้าหน้าที่ในองค์กรโดยเฉพาะ ซึ่งโครงสร้างใหม่นี้มีขนาดเล็กและมีลำดับชั้นน้อยกว่า ขณะเดียวกันก็มีการกระจายตัวมากกว่า นอกจากนี้โครงสร้างใหม่ยังต้องการการสร้างทีมงานจากผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน (cross-cutting product) ซึ่งมีโอกาสกลายเป็น ทีมงาน”เสมือนจริง (virtual)” แล ะด้วยความสามารถของการจัดการความรู้ในการแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ และแนวความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และการแสดงขอบเขตความรู้ความชำนาญในหัวข้อที่กำหนด จะทำให้ FHWA เปลี่ยนเป็นองค์กรที่พร้อมสำหรับความท้าทายด้านการคมนาคม

ชุมชนการคมนาคม (transportation community)ให้ความสำคัญอย่างยิ่งเสมอต่อการแบ่งปันความรู้ ความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่สหพันธรัํฐ รัฐ ท้องถิ่น นักวิชาการ และหน่วยงานเอกชนมีผลต่อความก้าวหน้าสำคัญหลายอย่า่งในเทคโนโลยีคมนาคม และชุมชนยังเน้นให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องของการรวบรวมและแบ่งปันข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการจากการติดต่อสื่อสารจากคนสู่คน ไม่ว่าจะเป็น การประชุมของเหล่าผู้เชีี่ยวชาญ โครงการความร่วมมือ และคณะกรรมการกับคณะทำงานเฉพาะกิจทุกสาขา รวมทั้ง คณะกรรมการวิจัยการคมนาคม (Transportation Research Board- TRB) และ American Association of State Highway and Transportation Officials (AASHTO)

วัฒนธรรมความร่วมมือ
     เครือข่ายโครงสร้างกิจกรรมการจัดการความรู้ของ FHWA คือ การจัดการความรู้เปิดโอกาสให้ชุมชนการคมนาคม สามารถสร้างความร่วมมือ ปรับปรุง รวมทั้งสร้างวัฒนธรรมแห่งการแบ่งปันความรู้ซึ่งมักจะรวมอยู่ในกิจกรรมการเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีนี้ competency-building จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ หลักการกลางของการจัดการความรู้ คือการที่องค์กรสามารถดูแลการรวบรวมและแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านชุมชนนักปฏิบัติ (communities of practice)ได้ดีที่สุด – ชุมชนนักปฏิบัติคือเครือข่ายผู้เชียวชาญที่ทำการแยกแยะหัวข้อต่างๆ แบ่งปันวิธีการและผลลัพท์กับคนอื่นๆ
     นอกเหนือจากการทำเอกสารงานวิจัย การสรุปแบบสั้นๆ การประเมินค่าผลิตภัณฑ์ และรายงานอื่นๆ สมาชิกของชุมชนยังสามารถช่วยเหลือ ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ แต่งตั้งคนตามความรู้ความเชี่ยวชาญ แยกแยะแนวทางปฏิบัติที่ดี และหาช่องว่างความรู้ในสาขาของพวกเขา ข้อมูลที่ได้ถูกบันทึกไว้ในคลังความรู้สำหรับชุมชนนักปฏิบัตินั้นๆ เนื่องจากคลังข้อมูลนี้เป็นระบบอิเลคทรอนิก สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา และหลายคนใช้ได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นการปรับปรุงการบริการลูกค้าจึงเป็นผลที่ตามมาเองโดยธรรมชาติ

      เว็บไซต์ของ FHWA ถูกสร้างและดูแลด้วยความร่วมมือจาก Jim Growney ผู้จัดการความรู้ของ FHWA สำนักงานนิวยอร์ค และ Ann Walls ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดสำนักงานใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ดึงเนื้อหาด้านเทคนิคมากมายมารวมกันไว้ โดยได้รับความช่วยเหลือจากพนักงานด้านความปลอดภัยที่มีความกระตือรือร้นหลายคน และบริษัทก่อสร้าง Avalon Integrated Services Corp. ซึ่ง เป็นผู้นำการใช้ประโยชน์และการใช้งานจริงมาเป็นเนื้อหา


     มีการแบ่งกลุ่มอภิปราย กลุ่มอภิปราย (discussion group) ออกเป็นหัวข้ออย่างชัดเจน รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับ Rumble Strips ที่พกพาได้ Rumble Strips ในสภาวะแช่แข็ง Rumble Strips กับจักรยาน และ Rumble Strips ยกสูง นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างความสำเร็จ เช่นการสาธิตให้คนอื่นดูเพื่อประโยชน์ในการประยุกต์ใช้หลักการแบ่งปันความรู้

ปฏิบัติการการจัดการความรู้

     โปรแกรมการจัดการความรู้ที่ประสบผลสำเร็จสามารถทำงานร่วมกับวัฒนธรรมและพฤติกรรมขององค์กรได้โดยไม่ขัดแย้งกัน ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ Mark Youman จากบริษัท American Management Systems ซึ่งเป็นบริษัทที่ช่วย FHWA ในการจัดการความรู้ในช่วงเริ่มต้น ชอบใช้คำว่า “การแบ่งปันความรู้ (knowledge-sharing)” มากกว่า
      การเชื่อว่าความก้าวหน้าและตำแหน่งของพวกเขาขึ้นอยู่กับการแสดงเอกลักษณ์หรือความรู้ที่ยอดเยี่ยม ผู้บริหารบางคนกลัวที่จะเสียอำนาจในการควบคุมหากความรู้ในแผนกของพวกเค้าถูกแบ่งให้กับคนอื่น พนักงานบางคนรู้สึก หรืออย่างน้อยก็เริ่มรู้สึก ว่าองค์กรต้องการให้พวกเขาทำงานเพิ่มในการแบ่งปันความรู้ โดยที่พวกเขาไม่ได้รับประโยชน์ใดๆจากขั้นตอนดังกล่าว และหัวหน้างานบางคนรู้สึกไม่พอใจกับแนวคิดที่ว่า พนักงานต้องใช้เวลาไปกับการแบ่งปันความรู้มากกว่าการทำหน้าที่ในแบบเดิมๆ เพื่อให้ได้ขอบเขตที่แน่นอน ปัญหาเหล่านี้ถูกนำมาอภิปรายในการสื่อสารแบบเปิดเกี่ยวกับหัวข้อการจัดการความรู้และประโยชน์ของมัน
     อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกความจำเป็นหนึ่งที่ต้องพิจารณานั่นคือวิธีการที่คนได้รับการยอมรับและการได้รางวัลตอบแทนจากองค์กรที่ปฏิบัติการจัดการความรู้ บ่อยครั้งที่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมนี้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลลัพท์โดยตรงจากปฏิบัติการการจัดการความรู้ “คนเริ่มตระหนักว่าด้วยการแบ่งปันความรู้ พวกเขาจะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ” สิ่งนี้สามารถทำให้เป็นทางการได้โดยการให้การยอมรับอย่างเป็นทางการแก่คนที่มีส่วนในการแบ่งปันความรู้สำคัญ

นอกจากนี้ การแบ่งปันความรู้ยังสามารถเติบโตข้ามขอบเขตองค์กรและสามารถรวมความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ ได้แก่ AASHTO, TRB และเจ้าหน้าที่รัฐและเจ้าหน้าที่ขนส่งท้องถิ่นได้ สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในการทำงานของเราก็คือการนำ FHWA มาอยู่ในตำแหน่งผู้ได้รับประโยชน์หลักจาก “knowledge boom” ด้วยการปรับปรุงวิธีการที่เราสร้าง แบ่งปัน และการเข้าถึงประสบการณ์เหล่านั้นพร้อมทั้งความรู้ใกล้เคียง การจัดการความรู้จะทำให้เราสามารถยกระดับความรู้ความเชี่ยวชาญในชุมชนเพื่อประโยชน์ร่วมกันของผู้มีส่วนร่วมทุกคน








คำสำคัญ (Tags): #federal#highways
หมายเลขบันทึก: 63279เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท