ความตายของมหาวิทยาลัยทั้งหลาย


นักวิชาการเริ่มมาเป็นคนใช้ของสถานภาพมากขึ้น (status quo) อาการเจ็บป่วยของการเริ่มเป็นคนใช้มีราคาสูงยิ่งกว่าค่าเล่าเรียนเสียอีก (tuition fee)

วิชาทางมนุษยศาสตร์ (humanites) กำลังจะหายไปจากมหาวิทยาลัยแล้วหรือ? คำถามนี้ยากที่จะตอบให้เป็นรูปธรรม (absurd) การถามแบบนี้ก็เหมือนกับการถามว่าเหล้า (alcohol)จะหายจากพับ (pub) หรือความยึดถือในตัวคน (egoism) จะหายไปจากฮอลลี่วู้ดอย่างนั้นแหละ หากพูดจริงๆแล้ว หากไม่มีพับก็จะไม่มีเหล้า ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องมีวิชาทางมนุษยศาสตร์ หากประวัติศาสตร์, ปรัชญา, และวิชาอื่นๆ หายไปจากชีวิตวิชาการ (academic life) สิ่งที่หายไปก็น่าจะเป็นพวกคณะที่ฝึกหัดเชิงเทคนิค (a technical training faculties) หรือสถาบันการวิจัยที่ต้องทำงานร่วมกันจากหลายสาขา (corporate research institute) แต่การทำแบบนี้ มหาวิทยาลัยจะไม่มีความหมายแบบเก่า (the classical sense of the term) และจะเป็นการหลอกลวงว่าเป็นมหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม จะไม่มีมหาวิทยาลัยที่แยกวิชาทางมนุษยศาสตร์แยกออกเป็นสาขาที่แตกต่างสาขาอื่นๆ วิธีการที่รวดเร็วที่สุดในการลดค่าวิชาทางมนุษยศาสตร์ (ดีกว่าการลบทั้งหมดพร้อมๆกัน) ก็คือการลดทอนให้วิชาต่างๆเหล่านี้เป็นเหมือนโบนัสที่แถมมาเป็นพิเศษ (agreeable bonus) คนจริงๆ (real men) ศึกษากฎหมายและวิศวกรรม ในขณะที่ความคิดและค่านิยมก็ต้องให้ชายกะเทย หรือคนขี้ขลาด (sissies) เรียนกัน วิชาทางมนุษยศาสตร์ควรต้องเป็นวิชาหลัก (core subject)ในมหาวิทยาลัยจึงจะถูกต้อง การศึกษาประวัติศาสตร์, ปรัชญา และเพิ่มวิชาศิลปะและวรรณกรรมควรจะให้นักเรียนนิติศาสตร์ และวิศวกรรมเรียนรู้ สิ่งนี้รวมทั้งนักเรียนในสาขาวิชาที่เกี่ยวกับศิลปะด้วย (arts faculties)   

หากวิชาทางมนุษยศาสตร์ไม่อยู่ภายใต้การคุกคามอันร้ายกาจของในสหรัฐแล้วหละก็ ส่วนหนึ่งวิชาพวกนี้เป็นส่วนบูรณาการของการศึกษาขั้นสูง (integral part of higher education)

เมื่อวิชามนุษยศาสตร์ปรากฏขึ้นเป็นครั้งในตอนปลายศตวรรษที่ 18 ตัววิชาเองมีบทบาททางสังคมในระดับสูง วิชามนุษยศาสตร์สมัยใหม่และทุนนิยมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นพร้อมๆกัน การอนุรักษ์กลุ่มของค่านิยม และความคิด เธอต้องต้องการสถาบันที่เรียกว่ามหาวิทยาลัย เพื่อช่วยแยกแยะระหว่างชีวิตวิชาการและชีวิตส่วนบุคคล (everyday social life) แต่การห่างกันระหว่างชีวิตวิชาการกับชีวิตส่วนบุคคลทำให้การศึกษามนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่ได้ผล

ตอนนี้สิ่งที่เราเป็นพยานก็คือการตายของมหาวิทยาลัยในแง่ของการหายของศูนย์กลางของการวิพากษ์ ตั้งแต่ Margaret Thatcher บทบาทของนักวิชาการก็คือการคำนึงถึงแต่สถานภาพ ไม่มีการท้าทายในเรื่องความยุติธรรม, ประเพณี, จินตนาการ, สวัสดิการของมนุษย์, ความคิดที่เป็นอิสระ หรือทางเลือกแบบต่างๆไปสู่อนาคต พวกเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ได้ โดยเพียงแค่อัดงบลงไปในวิชามนุษยศาสตร์ แต่พวกเราสามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะตายของมหาวิทยาลัยได้ โดยการยืนยันว่าเราจำเป็นต้องมีการคิดเชิงวิจารณญาณ (critical reflection) ต่อคุณค่าของมนุษย์ และหลักการแบบต่างๆซึ่งเป็นศูนย์กลางสรรพสิ่งที่ดำเนินไปในมหาวิทยาลลัย ไม่ใช่แต่ศึกษา Rembrandt หรือ Rimbaud

ในตอนจบ วิชามนุษยศาสตร์ควรประกาศถึงการเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ สิ่งนี้หมายความว่าตัวมันเองมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในธุรกิจทั้งหมดของการเรียนรู้รายวิชาต่างๆ ไม่ใช่เอามาใช้ไม่ได้แม้แต่ในบ้านเรือนของตน

แล้วสิ่งนี้จะปฏิบัติได้อย่างไรหละ? พูดง่ายๆก็คือรัฐบาลต้องใจที่จะทำให้วิชานี้หดตัวลง แทนที่จะขยายมัน  

แปลและเรียบเรียงจาก

Terry Eagleton. The death of universities.

http://www.theguardian.com/commentisfree/2010/dec/17/death-universities-malaise-tuition-fees ................................

หมายเลขบันทึก: 632678เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2017 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2017 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท