ก่อนจะเป็นเสวนาจานส้มตำ ตอน วิจัยรักใน gotoknow


สิ่งที่แสดงออกมา เนื่องมาจากข้อจำกัดในการถ่ายทอดผ่านบันทึก ที่ต้องผ่านการกลั่นกรองจากสมอง ซึ่งจะต่างจากการ F2F ซึ่งสามารถสัมผัสหลายสิ่งได้มากกว่า

ความจริงแล้ว เสวนาจานส้มตำจะต้องมีอย่างน้อย 3 คนมานั่งคุยกันกับความเห็นที่แตกต่าง แต่วันนี้มีมาแค่ 2 แต่ก็มีประเด็นที่นำมาบันทึกไว้ก่อน ที่จะพบกับเสวนาจานส้มตำที่ครบทุกเม็ด

คู่สนทนา
อยากจะลองทำวิจัยบ้าง เพราะอ่านบันทึกใน gotoknow ได้รับความรู้เรื่องวิจัยมากมาย นายบอนเองก็เป็นผู้ช่วยนักวิจัย น่าจัพูดเรื่องวิจัยให้ฟังบ้าง

นายบอน
อยากให้เล่าเรื่องแนวไหนล่ะ คุณภาพน้ำ สิ่งแวดล้อม ชีววิทยา สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน เทคโนโลยี สาธารณสุขกับไอที หรือ สารสนเทศภูมิศาสตร์

 

คู่สนทนา พื้นฐานความรู้ไม่ถึง เอาเรื่องที่ทุกคนเข้าใจง่ายๆ  เช่น เรื่องการวิจัยรักใน gotoknow

นายบอน การทำวิจัยพูดอย่างคร่าวๆ ก็ต้องมีที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตวิจัย ขั้นตอนการวิจัย ผลวิจัย และสรุปผล แล้วจะออกแบบวิจัยรักใน gotoknow ยังไง

คู่สนทนา
ความสำคัญน่าจะเป็นเพราะ ความรักและมิตรภาพจรรโลงสังคมแห่งนี้ เกิดการเกี่ยวโยงกันด้วยความรู้ที่ไม่มีจำกัด วัตถุประสงค์ที่อยากรู้ คือ ความรักหลายแง่มุมใน gotoknow เพราะมีคนหลากหลาย ขั้นตอนวิจัย คงจะเป็นการสังเกตจากบันทึก จัดกลุ่ม วิเคราะห์ จนได้รูปแบบความรักออกมา

นายบอน
จัดกลุ่มความรักที่ซ่อนอยู่ในความรู้นี่หรือ แล้วจะจัดออกมาแบบไหน

คู่สนทนา

  1. ความรักแบบเสียสละ ทุ่มเท พัฒนาระบบ ก็ต้องเป็น ดร.จันทวรรณ ดร.ธวัชชัย ฯลฯ
  2.ความรักในการเติมเต็มความรู้ เช่น ท่าน อ.
Beeman อ.หมอวิจารณ์ พี่ขจิต คุณปภังกรและอีกหลายท่าน
  3.ความรักด้วยหัวใจ เช่น ดร.กะปุ๋ม พี่เล็ก-ต้มยำความคิด และครูอ้อย
  4. รักด้วยลีลาคารม เช่น คุณไร้นาม พี่จตุพร
  5. รักดุดัน เช่น นายบอน

นายบอน
เอาหลักการที่ไหนมาจัด  ใช้เกณฑ์จากไหน

คู่สนทนา
เพราะความโดดเด่น อ่านแล้วโดนใจแบบคนลูกทุ่งนี่แหละ ถ้ามองถึงคู่ชีวิต และคนในครอบครัวของแต่ละท่านแล้ว คงจะเกิดความรู้สึกที่ดีมากๆ

นายบอน-  ความรู้ ประสบการณ์ และการศึกษา ได้หล่อหลอมทำให้หลายท่านแสดงความรักได้ดียิ่งขึ้น

คู่สนทนา
ไม่จริงเสมอไป มีความรู้มาก ทำงานก็มาก มีเวลาน้อยลง เพราะงานล้นมือ ต้องมาแสดงความรักใน gotoknow

* *

คงจะต้องติดตามกันในโอกาสหน้าล่ะครับว่า ทำไมถึงได้จัดรูปแบบความรักออกมาเป็น 5  กลุ่มอย่างที่ว่ามา หรืออาจจะจัดได้มากกว่านี้ก็ได้ แล้วตรงไหนที่ชี้ชัดว่า คือความรักที่สัมผัสได้ ทำไมถึงได้จัดกลุ่มด้วยชื่อที่ตั้งไว้เช่นนั้น (รักด้วยลีลา รักดุดัน) มองถึงวิธีคิด การศึกษา สังคม วิถีชีวิตหรือเปล่า

หรือสิ่งที่แสดงออกมา เนื่องมาจากข้อจำกัดในการถ่ายทอดผ่านบันทึก ที่ต้องผ่านการกลั่นกรองจากสมอง ซึ่งจะต่างจากการ
F2F ซึ่งสามารถสัมผัสหลายสิ่งได้มากกว่า

ติดตามอ่านในโอกาส และจังหวะเวลาที่เหมาะสมต่อไป...


 

หมายเลขบันทึก: 63256เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 00:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

คุณบอน

 ครูอ้อยอยากอ่าน รักดุดันของนายบอนค่ะ อิอิ

  • ขอบคุณมากครับคุณบอน
  • สำหรับผมเองนั้นขออนุญาตย้ายไปอยู่กลุ่มที่ห้ากับคุณบอนได้ไหมครับ เพราะเป็นพวกโหดและดุดันครับ (55) บางครั้งก็มีโหดแถมอีกด้วยครับ ผมเป็นพวกสไตล์เติมเต็มความรู้แบบโหดหน่อยครับ
  • แต่ขออนุญาตพาดพิงอาจารย์จตุพรนิดนึงครับ เนื่องด้วยอาจารย์จตุพรท่านทำงานอยู่ในบรรยากาศที่สุดแสนโรแมนติคอันดับต้น ๆ ของเมืองไทยครับ ดังนั้นความรู้ที่ท่านมีก็จะติดผ่องถ่ายออกมาอย่างลึกซึ้งมาก ๆ ครับ

 

อ่านหัวข้อข้อแล้วอึ้ง และรู้สึกสนใจมาก ด้วยการนิยามถึงความรักและวัดออกมานั้นยากยิ่ง

  • แต่หัวข้อคราวนี้มอง G2K กับความรัก
  • รักกับอะไรครับ
  • รักกับสหายในบล็อก
  • รักกับตัวบันทึก
  • เท่าที่อ่านมาคาดว่าคงหมายถึงแบบหลังมากกว่า

จบท้ายด้วยคำทื่อๆ

รัก..ออกแบบไม่ด้ายย

 

สวัสดีครับครูอ้อย

  ปรื๋อ.. รักดุดัน ต้องรออ่านในตอนต่อไปนะครับ

สวัสดีครับนายรักษ์สุข

  นายบอนว่า นายรักษ์สุขน่าจะอยู่ในกลุ่ม 2 + 5 เป็นรักในแบบเข้มข้นทั้งความรู้ และวิธีคิด แต่จะเป็นอย่างไรต่อไป เอาไว้จะบันทึกผลารเสวนามานำเสนอกันต่อไปนะครับ

สวัสดีครับ คุณจันทร์เมามาย
   เท่าที่เห็น คงจะวัดจากความรู้สึก อารมณ์ เหตุผล ฯลฯ ที่สะท้อนออกมาจาก เนื้อหาและประเด็นที่จับได้จากบันทึกที่ได้อ่าน แต่รักก็ออกแบบไม่ได้จริงๆด้วยแหละครับ
แล้วอย่างสาวน้อยบ้านนานี่ควรจะจัดอยู่ในแบบไหนดีล่ะค่ะพี่บอน กลุ่ม รักจริงหวังแต่งไม่มีอ่ะ
อยู่ในกลุ่มขวัญใจนายบอนก็ได้ล่ะมั้งคับ
เอ๊ย ไม่มีนี่นา งั้นตกรอบ

กลุ่ม 3 ล่ะม้างคับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท