สบู่ฆ่าเชื้อผสม Triclosan: อันตรายแฝงที่รุนแรง


 

   สวัสดีค่ะ ถึงแม้ว่าฤดูหนาวกำลังมาเยือนพี่น้องภาคเหนือ แต่สำหรับพี่น้องภาคกลางก็ยังลำบากเรื่องน้ำท่วมอยู่หลายจังหวัด ขอส่งกำลังใจไปถึงทุกๆคนค่ะ

   วันนี้มีเรื่องราวของสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

   ปัจจุบันสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเป็นที่นิยมมาขึ้นเรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน แต่คุณๆทราบกันไหมคะว่า สารประกอบที่อันตรายอย่างหนึ่งที่มักนำมาใช้ในสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียคือ ไตรโครซาน (Triclosan)

จากข้อมูลของ BeyondPesticides.org (พิมพ์ค้นคำว่า triclosan) ไตรโครซาน ไม่ได้มีแต่ในสบู่ฆ่าเชื้อเท่านั้น แต่ยังพบได้ในยาสีฟัน และอุปกรณ์ทำความสะอาดหลายๆอย่างในบ้าน

แล้วอันตรายคืออะไร

     การศึกษาจากทวีฟอเมริกาเหนือพบว่า สารไตรโครซานมีความสัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนผิดปกติ โดยเฉพาะต่อมไทรอยด์ การเกิดภูมิแพ้เช่นหอบหืด การเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ และการเจริญผิดปกติของทารกในครรภ์

และยังมีผลกับสภาพแวดล้อมด้วยเพราะจะทำให้เกิดภาวะเชื้อแบคทีเรียดื้อยาด้วย และที่น่ากลัวยิ่งขึ้นคือ แสดแดดสามารถทำให้ไตรโครซานเปลี่ยนเป็นไดท๊อกซินที่มีพิษร้ายแรงได้

 

จึงขอแนะนำคุณผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ว่าควรงดใช้สบู่ฆ่าเชื้อและอุปกรณ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมไตรโครซานด้วยนะคะ

 

     ขณะนี้หลายๆประเทศในยุโรป เช่นเดนมาร์ก เยอรมัน ฟินแลนด์ แนะนำประชาชนของเขาให้เลิกใช้สบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในชีวิตประจำวัน แล้วค่ะ

 

     นอกจากสบู่ฆ่าเชื้อแล้ว ในยาสีฟัน ก็พบว่าหลายยี่ห้อมีส่วนผสมไตรโครซานอยู่ด้วย คุณๆ ลองพลิกดูสารประกอบของยาสีฟันที่ใช้ซิคะ ว่ามีไตรโครซานไหม

     สำหรับคุณๆ ที่ใช้สบู่ฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมไตรโครซานอยู่ควรหันมาใช้สบู่ทั่วๆไปและน้ำเปล่าในการล้างมือแทนนะคะ

นอกจากจะป้องกันตัวท่านและคนที่รักแล้ว ก็ยังช่วยกันป้องกันอันตรายให้กับสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ

ด้วยความปรารถนาดีค่ะ

     

หมายเลขบันทึก: 63223เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

มาตามทางไม่เห็นบล็อกเดิม...

ขอชื่นชมกับบล็อกใหม่ครับ

เรื่องสบู่นี้ผมก็ไม่ค่อยรู้...ดีครับจะได้รู้...

ขอบคุณครับ...

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยนเยือนค่ะ คุณ kareem และท่านอาจารย์ umi

สบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียพวกนี้เดิมใช้กันจำกัดในวงการโรงพยาบาลและสำหรับผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อค่ะ แต่ระยะหลังนี้จะเห็นว่ามีการโฆษณามากขึ้นและใช้ในครัวเรือนด้วย

ความรุนแรงของ triclosan ที่BeyondPesticides.org เขาบอกให้นึกภาพตามคือ ในแม่น้ำของประเทศในทวีปอเมริกาเหนือนั้น พบปริมาณมาก และทำให้กบมีรูปร่างผิดปกติ รวมทั้งมีเซลล์ที่เจริญเร็วผิดปกติค่ะ ซึ่งเป็นความผิดปกติในระดับของประสาทส่วนกลาง

กบกับคนนั้นถ้านึกถึงปริมาณการได้รับจนเกิดอันตราย ดูแตกต่างกันบ้างค่ะ แต่คนน่ะมักจะสัมผัสตรง และยังเป็นต้นเหตุของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

บันทึกหน้าจะเอารายชื่อสินค้าที่ส่วนประกอบของ triclosan มาฝากค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ตามมาอ่านค่ะ blog ดูแปลกตาไป รูปไปอยู่ด้านซ้าย สีสวยค่ะ ชมพู หวานแหวว ได้ประโยชน์ จะไม่ซื้อสบู่ฆ่าเชื้อมาใช้แล้วค่ะ
เจ้าไคโตรซาน นี่ใช่สารที่สกัดมาจากเปลือกกุ้ง เปลือกปู แล้วเขาก็เอามาผสมทำเป็นยาลดความอ้วนให้กินหรือเปล่าครับ เคยเห็นในโฆษณาแว๊บๆ ชื่อคุ้นๆ ครับ
ใช้อยู่หลายอย่างเลย ทั้งสบู่ ยาสีฟัน ต้องเลิกแล้ว ขอบคุณมาก
  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • ขอบคุณค่ะที่นำความรู้ดีๆมาฝาก  nutim ต้องรีบไปสำรวจดูล่ะค่ะ ว่าสบู่ยาสีฟันที่ใช้ในบ้านมีส่วนผสมของTriclosan อยู่หรือเปล่าจะได้ระมัดระวัง และไม่ซื้อใช้ต่อไป  ...ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
อ๋อ...ชื่อมันคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน ไตรโคซาน กับ ไคโตซาน
  • เป็นความรู้ใหม่ครับ
  • จะระวัง ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณทุกท่านค่ะ

เรื่องของสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งของใช้ทำความสะอาดต่างๆ นั้นดูห่างตัวกันบ้างนะคะ แต่ถ้ามองแบบผู้หญิงแล้ว เรื่องของกลิ่นตัว กลิ่นปาก กลิ่นในที่อับ กลิ่นติดตัวจากการทำครัว (โดยเฉพาะคาวปลา) ก็อาจจะเป็นเหตุให้มองหาสบู่หรือของใช้ที่จะช่วยชำระล้างและไม่ค้างกลิ่นอันพึงประสงค์ค่ะ แต่บางครั้งส่วนประกอบ ที่ผู้ผลิตอาจระบุไว้ตัวเล็กๆ ข้างกล่องหรือบนฉลากก็อาจถูกมองข้ามไป จนกว่าจะมีการศึกษาวิจัยและมีการเผยแพร่นะคะ

คุณผู้หฺญิงที่เป็นขุนคลังและผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อประจำบ้าน จะเป็นคนที่ช่วยปกป้องสุขภาพให้กับทุกคนในบ้านนะคะ

ส่วนคุณผู้ชายที่เป็นคนโสด (เช่นอาจารย์ขจิต) คงต้องจัดซื้อจัดหาเองนะคะ  เอาใจช่วยให้หาคนช่วยได้เร็วๆค่ะ

 

มาฝากรอยค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้มากค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณ ปารินุช

รูปดอกไม้กับนกน้อย น่ารักมากค่ะ

  • ขอบคุณสำหรับความรู้และขอชื่นชมกับบล็อกที่งดงามมาก ๆค่ะ ^_^
น่ากลัวจังค่ะ เดี๋ยวจะรีบไปดูว่ามีสบู่กับยาสีฟันที่มีส่วนผสมนี้หรือเปล่า กลัวอะไรก็ไม่เท่าคำว่า ไดท็อกซิน อันนั้นสยองมาก

ขอบคุณค่ะคุณ OHO ข้อมูลที่หลากหลายนำไปสู่การเลือกอย่างพินิจพิเคราะห์และนึกถึงผลกระทบของทางเลือกนะคะ

เอาเนื้อหา มาเพิ่มให้สำหรับผู้ที่สนใจ

http://www.beyondpesticides.org/dailynewsblog/?p=1233

ข้อมูลมีประโยชน์มากค่ะ

จะได้เลือกผลิตภัณฑ์ใช้อย่างระมัดระวังมากขึ้น

สวัสดีค่ะ

มาเจอบล็อกนี้เพราะว่า หาข้อมูลของ "ไตรโคซาน" อยู่เลย มีข้อมูลเพิ่มเติมมาฝากด้วยค่ะว่า

ในของใช้ส่วนใหญ่ ที่เกี่ยวกับความสะอาดก็มีไตรโคซานผสมอยู่ รวมไปถึงของใช้ในโรงพยาบาลด้วยค่ะ ไม่เว้นแม้แต่ผ้ากอซที่ในโรงพยาบาลใช้ด้วยเหมือนกัน การใช้งานที่ผู้ใช้ได้รับสารเข้าไปเกินขนาดความจำเป็นในระยะเวลานานๆ จะทำให้สารไตรโคซานก่อ ให้เกิดมะเร็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำลง เป็นภูมิแพ้ได้ง่าย หรืออันตรายในสตรีมีครรภ์ได้ ซึ่งในสตรีมีครรภ์ เป็นภาวะที่ควรเลือกของใ้ช้ให้เป็นธรรมชาติที่สุดจะดีกว่า เพราะของที่รับเข้าไปจะมีผลกับเด็กในครรภ์แทบทั้งสิ้น (หากช่วงตั้งครรภ์เลี่ยง"ไตรโคซาน"อย่างที่ดร.บอกได้จะดีกว่ามากๆค่ะ) แต่ในการใช้งานในชีวิตประจำวันทั่วไป ยังไม่เกิดผลอะไรที่น่าเป็นห่วง คือ คนเรายังสามารถใช้เจ้าสาร "ไตรโคซาน" นี้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ แต่ใช้อย่างพอดี เพราะของทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีทั้งคุณและโทษอยู่แล้ว อยู่ที่เราเลือกว่าจะใช้แบบไหน อย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่านั้นเอง

ข้อมูลนี้ดูมาจากหลายๆ เว็บไซต์ที่ศึกษามา

อย่าลืมว่า ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีขีดจำกัดของมัน ความพอดี จึงเป็นสิ่งที่ดีที่ไม่ควรมองข้ามนะค่ะ  ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับ

ต่อไปจะได้ตรวจดูให้ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท